การจัดหาเงินทุนระยะสั้น


ประเภทของเงินทุนระยะสั้นสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

ประเภทที่ 1 เงินทุนระยะสั้นที่ได้จากการค้า
สามารถจำแนกแกเป็น 2 ประเภท
1. เจ้าหนี้การค้าหรือสินเชื่อทางการค้า เป็นสินเชื่อทางการค้าจะเกิดก็ต่อเมื่อมีการซื้อและขายสินค้าระหว่างกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายผู้ขายจะเป็นผู้ให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ โดยผู้ขายมีข้อตกลงกับผู้ซื้อในเรื่อง เงื่อนไข และกำหนดเวลาชำระเงิน ซึ่งสินเชื่อทางการค้าจะปรากฎในงบแสดงฐานะทางการเงินด้านหนี้สินและทุน ประเภทของสินเชื่อทางการค้าจะแบ่งย่อยออกได้อีก 2 ประเภท
2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ที่เกิดขึ้นจากการได้รับสินค้าและบริการก่อนแต่ยังไม่ได้ชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เช่น ภาษีเงินได้ค้างจ่าย เป็นต้น
1.1 การเปิดบัญชีเงินเชื่อ โดยผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อพร้อมกับใบแจ้งหนี้ พร้อมทั้ง ระบุชนิด ราคาขาย และเงื่อนไขต่างๆ เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าก็เซ็นต์รับสินค้า และส่งคืนสำเนาให้ผู้ขาย 1 ฉบับ เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บหนี้
1.2 ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยผู้ซื้อจะออกตั๋วเพื่อเป็นหลักฐานที่ระบุว่าผู้ซื้อจะต้องชำระค่าสินค้า จำนวน และรายชื่อผู้รับ
ประเภทที่ 2 เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
เงินกู้ชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในวงการค้า มีอายุการชำระคืนไม่เกิน 1 ปี โดยปกติธุรกิจจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. วงเงินเครดิต เป็นจำนวนเงินที่ธนาคารปล่อยให้ลูกค้ากู้ยืม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง กู้ยืมเท่าไหร่ก็ได้แต่ไม่เกินสูงสุดที่ธนาคารกำหนดไว้ แต่ถ้าหากธนาคารเห็นว่าฐานะทางการเงินของลูกค้าไม่มั่นคง ธนาคารจะสามารถเปลี่ยนแปลงวงเงินเครดิตได้
2. เครดิตชนิดหมุนเวียน เป็นข้อตกลงที่ธนาคารให้ลูกค้ายืมตามจำนวนที่กำหนดไว้ เช่น ธนาคารให้เครดิตแก่ธุรกิจแห่งหนึ่ง 1,000,000 บาท แต่ธุรกิจใช้วงเงินไปเพียง 700,000 บาท วงเงินส่วนที่เ้หลือ 300,000 บาท ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าธรรเนียมให้แก่ธนาคาร เครดดิตชนิดนี้จะปล่อยสำหรับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่
3. ตราสารพาณิชย์ ซึ่งออกโดยบริษัทหรือธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงทางการค้าและฐานะทางการเงินที่ดี จำหน่ายให้แก่บริษัททั่วไป ซึ่งตราสารพาณิชย์ที่ออกขายมีสัญญษใช้เงินที่มีอายุสั้นไม่เกิน 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และไม่เกิน 1 ปี และออกโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
ประเภทที่ 3 เงินทุนระยะสั้นที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท
1. เงินกู้เบิกเกินบัญชี เพื่อให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของกิจการ โดยผู้กู้จะต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และจะคิดดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนเป็นรายวันตามจำนวนที่เบิกเงินกู้ไปใช้ หลักประกันในการกู้ยืมอาจจะเป็น เงินฝากธนาคาร ที่ดิน อาคาร โรงงาน เป็นต้น
2. การกู้เงินโดยการขายบัญชีลูกหนี้ การกู้เงินผู้กู้จะต้องนำบัญชีลูกหนี้ของตนไปขายให้แก่ธนาคาร ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในบัญชีจะตกเป็นของผู้ให้กู้จะต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดจากการเรียกเก็บหนี้ไม่ได้ และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บหนี้




หมายเลขบันทึก: 599924เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2016 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2016 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท