คำถาม "ทำไม" สำหรับกิจกรรมบำบัดศึกษา


ขอบพระคุณโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบผู้ฝึกสอนหรือโค้ชของผมกับอ.แอนและอ.เดียร์ สองอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดผู้มุ่งมั่นพัฒนาตนเองด้านกิจกรรมบำบัดศึกษาด้วยการลงมือสังเกตและสังเคราะห์ความรู้ทางคลินิกกิจกรรมบำบัดขณะอยู่กับกรณีศึกษาที่กำลังฝึกกับดร.ป๊อป...ทำให้ผมเห็นว่าอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดทุกท่านควรลงคลินิกแบบ Internship ก่อนที่จะสอนนศ.กิจกรรมบำบัด

วันนี้นศ.กิจกรรมบำบัดสะท้อนให้เห็นจุดที่ควรพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนกิจกรรมบำบัดศึกษา...ทำให้น้องๆอาจารย์ทุกท่านเกิดความตั้งใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีพลังแห่งนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ [คลิกศึกษาที่นี่ ขอบพระคุณแหล่งอ้างอิงจากวิกีพีเดีย] โดยตั้งคำถามได้น่าสนใจห้าข้อดังนี้:-

1. ทำไมนักกิจกรรมบำบัดไม่มองปัญหาผู้รับบริการเป็นหลัก

ตอบ: เพราะบุคลากรทางการแพทย์มองปัญหาของผู้รับบริการเป็นหลักเพื่อทำการวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ตามแบบจำลองทางการแพทย์หรือ Medical Model แต่ด้วยความซับซ้อนของปัญหาทางการแพทย์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดการพัฒนามุมมองใหม่ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Holistic Bio-Psycho-Social Model แต่นักกิจกรรมบำบัดทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วได้อ้างอิงปรัชญาการให้บริการตามความต้องการของผู้รับบริการเป็นหลักและทำการประเมินพร้อมออกแบบโปรแกรมการให้บริการแบบองค์รวมโดยใช้กรอบอ้างอิง Person-Environment-Occupation-Performance (PEOP) Model (Charles Christiansen & M. Carolyn Baum, 1991) เป็นหลักโดยมีองค์ประกอบให้นักกิจกรรมบำบัดได้ทำความเข้าใจในแต่ละองค์ประกอบตามภาพข้างล่าง

ซึ่งระบุในมาตราฐานคณะกรรมการวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในไทยด้วย [คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ Acknowledgement of citation in https://en.wikipedia.org/] ผมแนะนำให้อ่านคำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ ที่เน้นการฝึกวิชาชีพเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centered practice) ในการตั้งเป้าหมายตามความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการเพื่อออกแบบสื่อการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด ได้แก่

  • การปรับสิ่งแวดล้อม (ถึง 5 อย่างถ้าดูจากรูป PEOP Model)
  • การปรับงานหรือกิจกรรมที่มีเป้าหมายและต้องการ/ได้รับมอบหมายเพื่อทำให้สำเร็จ (Task) ขณะที่กิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเคลื่อนไหวทำแบบไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายชัดเจน (Activity) [ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ Acknowledgement of citation in http://www.differencebetween.net/]
  • การสอนทักษะชีวิตหรือกิจกรรมทีมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
  • การให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือผู้ดูแลในการเพิ่มการมีส่วนร่วมในและมีความสามารถทำกิจวัตรประจำวันที่มีความหมายต่อผู้รับบริการ

จะสังเกตว่า การใช้กรอบอ้างอิง PEOP สามารถต่อยอดให้เกิดกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยการเชื่อมเหตุผลทางคลินิกทั้งการประเมินและการออกแบบโปรแกรมต่างๆ ตามแบบจำลองและกรอบอ้างอิงอื่นๆ มากมายที่เน้นองค์รวมของกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น Model of Human Occupation (MoHo) [คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่] และเป็นผลงานวิจัยที่ดีที่อาจารย์กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล สามารถใช้การแปลความรู้ตามบริบทไทยจนเกิดแบบจำลองเพิ่มเติม เช่น Mahidol Clinic System ซึ่งได้รับการจดทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญาเลขที่ 254227


2. ทำไมอาจารย์ป๊อปไม่สอนนักศึกษาให้มีแบบแผนที่ชัดเจนว่า จะให้บริการผู้ป่วยด้วยแบบจำลองหรือกรอบอ้างอิงอันใดอันหนึ่งไปเลย จะได้ใช้ง่ายสะดวกกว่านี้

ตอบ: เพราะนักกิจกรรมบำบัดคือบุคลากรที่มีปรัชญาสากลและเกิดจากการบูรณาการมาจากศาสตร์และศิลป์ของวิชาชีพแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ครูฝึกอาชีพ สถาปนิก และผู้พิการจากโรคโปลิโอ ทำให้นับเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีบทบาทมองความสามารถของมนุษย์มากกว่าปัญหาหรือภาวะทางการแพทย์ และเน้นองค์รวมของสื่อกิจกรรมบำบัดรอบๆตัวที่ส่งเสริมและเสริมสร้างสุขภาวะได้เป็นรูปธรรม จึงนับเป็นวิชาชีพที่ต้องฝึกฝนทักษะทางคลินิกมากกว่าการศึกษาความรู้อย่างเดียว และควรฝึกปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัดด้วยการให้เหตุผลทางคลินิกด้วยกรอบอ้างอิงที่สัมพันธ์กับแบบจำลองต่างๆ อย่างน้อย 1,000 ชม.ตามมาตรฐานการรับรองหลักสูตรระดับโลก คลิกที่นี่ ดังนั้นหลายๆสถาบันการศึกษาพยายามคิดค้นแนวทางการเรียนรู้ที่หลากหลายที่มิใช่การบรรยายอย่างเดียว จึงเกิด Occupational Adaptation (OA) Model ที่ช่วยอธิบาย PEOP เพื่อประเมินและออกแบบสื่อกิจกรรมบำบัดได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะมุ่งหมายให้นักกิจกรรมบำบัดทุกคนที่ได้ใบประกอบโรคศิลปะหรือใบประกอบวิชาชีพสามารถเป็นโค้ชฝึกสอนทักษะชีวิตตลอดทุกช่วงวัยทั้งสุขภาพกายและจิตสังคม มิใช่เลือกแยกฝึกพัฒนาการเฉพาะวัยเด็ก (Child Development) หากแต่ต้องฝึกการพัฒนาเด็ก (Child Enhancement) จนเติบโตเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ และจากโลกนี้ไปด้วยสุขภาวะทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

3. ทำไมนักกิจกรรมบำบัดไม่ใช่ Domain & Process ของอเมริกาในการให้บริการกับผู้ป่วย

ตอบ: ถ้าอ่านจากข้อ 1 ใน https://en.wikipedia.org/ และอ่านอย่างตั้งใจในหน้าวัตถุประสงค์ของ Domain & Process ล่าสุด (พัฒนามาจาก Occupational Performance Profile หรือ OPP ที่นักกิจกรรมบำบัดไทยชอบใช้เป็นกรอบอ้างอิง)

จะเห็นว่า กรอบการทำงานหรือ Framework: Domain & Process เพื่ออธิบายแนวคิดหลักการฝึกกิจกรรมบำบัดและสร้างความเข้าใจทั่วไปของขอบเขตพื้นฐานและวิสัยทัศน์ทางวิชาชีพ (ใช้ยกระดับวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัดอเมริกา - อ่่านเพิ่มเติมในเอกสารเต็มฉบับ)

กรอบการทำงานนี้ ไม่ใช่กฎเกณฑ์การจัดจำแนกหมวดหมู่/การกำหนดชื่อสากล/การตรวจสอบชื่อต่างๆ (Taxonomy) ไม่ใช่ทฤษฎี (Theory) หรือแบบจำลองทางกิจกรรมบำบัด (Model of Occupational Therapy)

ควรใช้กรอบการทำงานในส่วนขอบเขตกิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อชี้นำการฝึกกิจกรรมบำบัดร่วมกับความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัด (ถ้าเรากลับไปอ่านในข้อ 1 กรอบอ้างอิงกิจกรรมบำบัด PEOP ไม่ได้ถูกนำมาใช้เชื่อมโยงกับ Domain & Process ในระดับสากลมากนัก และยืนยันกับผู้เชี่ยวชาญในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น Dr. Mandy Stanley กล่าวว่า "แม้ว่าออสเตรเลียจะดัดแปลง PEOP ตามบริบท แต่ในทางการฝึกกิจกรรมบำบัดจริงๆ ก็มิได้ใช้แบบจำลองนี้มากนัก แบบจำลองที่ดัดแปลงทำขึ้นเพื่อยกระดับวิชาชีพคล้าย Domain & Process ของอเมริกา)

4. ทำไมนักกิจกรรมบำบัดไทยจึงใช้ PEOP ไม่ได้ประสิทธิผล

ตอบ: จากข้อ 3 นักกิจกรรมบำบัดถูกสอนให้ใช้ OPP และ Domain & Process แล้วไม่ได้เรียนรู้ทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดอย่างชัดเจน ที่สำคัญอาจารย์กิจกรรมบำบัดจบการศึกษาหลังปริญญาที่ไม่ได้ลงลึกทางกิจกรรมบำบัดศึกษา ทำให้ต้องอดทน เสียสละ และเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ฝึกสอนทางคลินิกโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรุ่นพี่ที่เชี่ยวชาญแบบ Internship อย่างน้อย 6 เดือน ดังเช่นตัวอย่างการเรียนรู้ที่ดีของอ.แอน ที่ใช้เวลาเรียนรู้ด้วยระบบพี่เลี้ยงรวม 3 ปี อีกทั้งอาจารย์และนักศึกษาอาจไม่มีเวลาอ่านเชิงวิเคราะห์และจัดการความรู้ตามบริบทไทยเชิงวิจัยและพัฒนาอิงกรอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมทุกขอบเขตในผู้รับบริการในสถานการณ์ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อยู่/ทำงานจริงๆ ซึ่งเราสามารถอ่านศึกษาได้อย่างละเอียดได้ที่หนังสือมากมายในบ้านเรา ตัวอย่างที่ดีมากๆที่ผมแนะนำในห้องศึกษาด้วยตนเองของคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล คือ

หมายเลขบันทึก: 598568เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2015 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ พี่ดร.เปิ้น และอ.ต้น

ละเอียดมากเลยครับ

ได้เรียนรู้ไปด้วย

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตพี่ชายที่แสนดีของผมเสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท