KM 2.0


การเปลี่ยนแปลงการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่ การเรียนรู้ขององค์กรและการจัดการนวัตกรรม จึงจะเป็น การจัดการความรู้ 2.0 (KM 2.0) ของจริง

KM 2.0

การจัดการความรู้ 2.0

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

17 ธันวาคม 2558

บทความเรื่องการจัดการความรู้ 2.0 นี้ แบ่งเป็นสามตอนด้วยกันคือ Part I: Knowledge Management (KM), Part II: Enterprise 2.0 & KM และ Part III: Knowledge Management 2.0 (KM 2.0) ซึ่งนำมาจากที่มาสามแหล่งด้วยกันคือ Wikipedia, Enterprise 2.0 Knowledge Management: A Revolution of Knowledge in Three Parts. และ Joe Firestone’s Blog on Knowledge and Knowledge Management

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPiont (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/km-20

ตอนที่ 1 Knowledge Management (KM)

การจัดการความรู้ (KM)

  • การจัดการความรู้ (KM) เป็นกระบวนการของการดักจับ การพัฒนา การแบ่งปัน และการใช้ความรู้ขององค์กรอย่างมีประสิทธิผล (the process of capturing, developing, sharing, and effectively using organizational knowledge)
  • และหมายถึง แนวทางสหสาขาวิชาชีพ (multi-disciplinary approach) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ให้มากที่สุด

การจัดการความรู้ในองค์กร (Internal KM Efforts)

  • บริษัทขนาดใหญ่ต่าง ๆ สถาบันภาครัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทุ่มเททรัพยากรให้กับการจัดการความรู้ภายในองค์กร โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของพวกเขา
  • มีบริษัทที่ปรึกษาหลายแห่ง แนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์และการจัดการความรู้ ให้กับองค์กรเหล่านั้น

การเรียนรู้ขององค์กร (Organizational Learning)

  • การจัดการความรู้ (KM) มักมุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น การพัฒนาผลการดำเนินงาน ความได้เปรียบในการแข่งขัน การสร้างนวัตกรรม การแบ่งปันบทเรียน การบูรณาการ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องขององค์กร
  • การจัดการความรู้ อาจทับซ้อนกับ การเรียนรู้ขององค์กร (organizational learning) แต่แตกต่างกันที่ การจัดการความรู้ เป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ และเน้นการแบ่งปันความรู้
  • การจัดการความรู้ เป็นตัวผลักดันให้เกิด การเรียนรู้ขององค์กร

แนวคิดเรื่องการจัดการความรู้ (KM Ideas)

  • การจัดการความรู้ ได้ถูกนำมาอภิปราย โดยนักวิชาการเช่น Ikujiro Nonaka (Hitotsubashi University) Hirotaka Takeuchi (Hitotsubashi University), Thomas H. Davenport (Babson College) และ Baruch Lev (New York University)
  • ในปี ค.ศ. 2001 Thomas A. Stewart อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Fortune และต่อมาเป็นบรรณาธิการของ Harvard Business Review ได้พิมพ์บทความ ที่เน้นความสำคัญของ ทุนทางปัญญาขององค์กร (intellectual capital)

3 มุมมองการจัดการความรู้ (KM Perspectives)

  • เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง (Techno-centric) ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ที่ช่วยเพิ่มการแบ่งปัน และการสร้างความรู้
  • องค์กร (Organizational) ให้ความสำคัญกับวิธีการออกแบบองค์กร เพื่ออำนวยความสะดวกกระบวนการทางความรู้
  • ระบบนิเวศ (Ecological) ให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันของผู้คน ความเป็นตัวตน ความรู้ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (เป็นระบบการปรับตัวที่ซับซ้อน คล้ายกับระบบนิเวศธรรมชาติ)

แบบต่าง ๆ ของการจัดการความรู้ (KM Lenses)

  • Community of Practice
  • Social Network Analysis
  • Intellectual Capital (Bontis & Choo 2002)
  • Information Theory (McInerney 2002)
  • Complexity Science
  • Constructivism (Nanjappa & Grant 2003)

มิติของการจัดการความรู้ (KM Dimensions)

  • มีกรอบหนึ่ง เสนอให้จัดหมวดหมู่ของความรู้เป็น ความรู้ในตน (tacit knowledge) และ ความรู้ที่ชัดเจน (explicit knowledge)
  • ความรู้ในตน (tacit knowledge) แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่บุคคลมี แต่อาจจะไม่ตระหนักถึง เช่น วิธีการเฉพาะที่ทำให้เขาหรือเธอทำงานสำเร็จ
  • ความรู้ที่ชัดเจน (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความรู้ที่แต่ละคนมี ในรูปแบบที่สามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ ได้

รูปแบบของ SECI (SECI Model)

  • Ikujiro Nonaka เสนอรูปแบบ SECI คือ Socialization, Externalization, Combination, Internalization ที่พิจารณาจากปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการ ความรู้ในตน (tacit knowledge) และ ความรู้ที่ชัดเจน (explicit knowledge)
  • ในรูปแบบนี้ ความรู้ในตน (tacit knowledge) จะถูก สกัด (extracted) กลายเป็น ความรู้ที่ชัดเจน (explicit knowledge) และจะ ถูกฝัง (re-internalized) ให้กลายเป็น ความรู้ในตน (tacit knowledge) ของผู้อื่นต่อไปอีกเรื่อย ๆ ตามวงจรรูปก้นหอย

กลยุทธ์การจัดการความรู้

  • กลยุทธ์หนึ่งของการจัดการความรู้คือ กลยุทธ์แบบการผลักดัน (push strategy) เรียกว่า แนวทางการประมวลผลความรู้ (Codification Approach to KM)
  • ในกรณีดังกล่าว บุคคลจะสร้างความรู้ของพวกเขา แล้วเก็บความรู้ไว้ในที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่นในฐานข้อมูล
  • ทำนองเดียวกันก็จะมีความรู้ที่พวกเขาต้องการ จัดเก็บไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูล ที่บุคคลอื่น ๆ ได้สร้างไว้
  • กลยุทธ์ในการจัดการความรู้อีกแบบหนึ่ง คือ กลยุทธ์แบบดึง (pull strategy) เรียกว่า แนวทางการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (Personalization Approach to KM)
  • ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้อง ร้องขอความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • ในกรณีดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกของพวกเขา กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือผู้ที่ต้องการในเรื่องนั้น ๆ

กลยุทธ์การจัดการความรู้แบบอื่น ๆ (Other Knowledge Management Strategies)

  • แบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) วัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดว่า ความรู้นั้น ควรมีการให้กลับคืน แบ่งปันกัน และช่วยกันปรับปรุง)
  • การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นการถ่ายทอดความรู้ในตน
  • การเรียนรู้ข้ามโครงการ (Cross-project Learning)
  • การเรียนรู้หลังจากการดำเนินการ (After Action Reviews: AAR)
  • การทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เป็นแผนที่การเก็บความรู้ภายในบริษัท ที่บุคลากรทั้งหมดสามารถเข้าถึงได้
  • ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice: CoP)
  • รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ (Expert Directories) เพื่อช่วยผู้ที่ต้องการความรู้ เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ
  • ระบบที่เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ผู้ที่ต้องการความรู้ ต้องสนองต่อคำถามที่เฉพาะเจาะจงก่อน จึงจะเข้าถึงความรู้ในพื้นที่เก็บข้อมูล
  • การถ่ายโอนการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice Transfer)
  • งานแสดงความรู้ (Knowledge Fairs)
  • การจัดการความสามารถ (Competence Management) การประเมินผลอย่างเป็นระบบ และการวางแผนความสามารถของสมาชิกในองค์กรแต่ละบุคคล
  • ความใกล้ชิดกันและสถาปัตยกรรม (Proximity & Architecture) สถานการณ์ทางกายภาพของบุคลากร เป็นได้ทั้งเอื้อหรือปิดกั้น การแบ่งปันความรู้
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับผู้ฝึกงาน (Master-apprentice Relationship)
  • เทคโนโลยีด้านความร่วมมือ (Collaborative Technologies) เช่น groupware และอื่น ๆ
  • แหล่งเก็บความรู้ (Knowledge Repositories) เช่น ฐานข้อมูล bookmarking engines ฯลฯ
  • การวัดและการรายงานทุนทางปัญญา (Measuring and Reporting Intellectual Capital) เป็นวิธีการสร้างความรู้ที่ชัดเจน
  • ตัวแทนเรื่องความรู้ (Knowledge Brokers) สมาชิกบางคนรับผิดชอบเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และทำหน้าที่เป็นแหล่งอ้างอิงลำดับแรก ที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่เฉพาะเจาะจงนั้น
  • ซอฟแวร์ทางสังคม (Social Software) wikis, social bookmarking, blogs ฯลฯ
  • การถ่ายทอดความรู้ระหว่างโครงการ (Inter-project Knowledge Transfer)

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

  • การแบ่งปันความรู้ ยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับการจัดการความรู้
  • อุปสรรคอาจรวมถึงปัญหาเรื่องเวลา สำหรับการทำงานความรู้ ระดับของความไว้วางใจ ขาดการสนับสนุนของเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล และวัฒนธรรม

แนวโน้มของการจัดการความรู้ (KM Trends)

  • หนึ่งในแนวโน้มที่สำคัญที่สุด ในเทคโนโลยีการจัดการความรู้ คือการนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้
  • การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต ผลักดันให้ผู้ขายส่วนใหญ่ละทิ้งรูปแบบที่เป็นกรรมสิทธิ์ และใช้ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตเช่น HTML, HTTP, และ XML แทนที่
  • นอกจากนี้ ระบบเปิดและเครื่องมือฟรีสำหรับการสร้างบล็อกและวิกิในขณะนี้ ช่วยให้การใช้ในเชิงพาณิชย์มีค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่มีเลย

*******************************************

ตอนที่ 2 Enterprise 2.0 & KM

การจัดการความรู้แบบเก่า ไม่สนใจอะไร ขอเพียง

1. เขียนความรู้ของคุณลงในฐานข้อมูล

2. มีรายละเอียดที่เพียงพอ

3. อาจจะมีใครบางคนใช้ความรู้ของคุณสักวัน หรืออาจจะไม่มี ...

4. ไม่ควรใช้เวลามากเกินไป เกี่ยวกับเรื่องนี้!

การแบ่งปันความรู้

เราทุกคนชอบที่จะแบ่งปันความรู้ ... แต่

  • ฉันไม่ทราบว่ามีใครสักกี่คน ที่ต้องการความรู้ของฉัน
  • ฉันไม่ทราบว่ามีใครสักกี่คน ที่จะใช้ความรู้ของฉัน
  • ฉันอยากจะแบ่งปัน สิ่งที่สำคัญจริงๆ

ผู้สร้างเนื้อหา

  • กว่า 80% ของผู้ใช้เว็บเพื่อสร้างเนื้อหา กล่าวว่า ที่พวกเขาทำเพราะว่าพวกเขาชอบที่จะสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนอื่น ๆ
  • ข้อเสนอแนะในเชิงบวกจากผู้อื่น เป็นสิ่งสำคัญ
  • และช่วยส่งเสริมสถานะของเขา ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ไม่ต้องแปลกใจ

  • ถ้าไม่มี ผู้ชม (audience) เราก็จะไม่เกิดแรงบันดาลใจ ... และเราไม่ทราบว่า จะมีผู้ใช้ความรู้ของเราหรือไม่
  • เรารู้ในสิ่งที่เรารู้ เมื่อเราต้องการที่จะเรียนรู้
  • เรามักจะรู้ มากกว่าสิ่งที่เราสามารถบอก และเรามักจะบอก ได้มากกว่าสิ่งที่เราเขียน

การจัดการความรู้แบบเก่า ไม่ได้ผลเพราะ

  • ... กำหนดความรู้เหมือนเป็นสินค้า ที่ถ่ายโอนมาจากศูนย์กลาง
  • ... เรียกร้องการแบ่งปันความรู้ โดยไม่มีผู้ชม
  • ... ต้องการเพียงที่จะจัดการความรู้

ซอฟท์แวร์สังคม (Social Software) ... จะทำให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ!

  • ผิด!
  • ซอฟท์แวร์สังคม (ขออภัย) เป็นเพียงเครื่องมือ ...
  • แน่นอนว่า เป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานง่ายมากขึ้นและดูดีกว่า -แต่ไม่ได้รับประกันผู้ชมแต่อย่างใด

กฎ 90-9-1

  • 1% ของผู้ใช้เว็บ เป็นผู้สร้างเนื้อหา
  • 9% ของผู้ใช้เว็บ แสดงความคิดเห็นและเติมข้อมูลให้
  • 90% ของผู้ใช้เว็บ เป็นเพียงผู้ใช้ข้อมูล
  • จำนวนเท่าใดในบุคลากรในองค์กรของคุณ เป็น 1%?
  • ผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญและวุ่นวายที่สุดในองค์กรของคุณ มีจำนวนเท่าใด ที่เป็นส่วนหนึ่งของหนึ่งเปอร์เซ็นต์?

การจัดการความรู้ และ Enterprise 2.0

  • "การจัดการความรู้ และสื่อสังคม มีลักษณะคล้ายกันมากหากมองแค่พื้นผิว แต่ที่เป็นจริงแล้ว แตกต่างกันอย่างมากในหลายระดับ ทั้งทางวัฒนธรรม ทางเทคนิค รวมถึงสงครามทางวัฒนธรรมที่ไม่ได้ประกาศ ที่เป็นจิตวิญญาณของ Enterprise2.0"
  • 1. แบ่งปันความรู้ร่วมกันอยู่เสมอ โดยสมัครใจ ไม่มีใครบังคับ
  • 2. เราแบ่งปันความรู้ เมื่อเรามีผู้ชมที่ถูกต้อง (ที่ช่วยกระตุ้นเรา และมีการสร้างบริบทที่เหมาะสม)
  • 3. ซอฟท์แวร์เพื่อสังคมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาเก่า ๆ ของการจัดการความรู้

แนวคิดใหม่

นี่เป็นการจัดการความรู้ใหม่ใช่หรือไม่

  • ไม่ใช่ ไม่ได้เป็นการจัดการความรู้ใหม่
  • เพราะไม่ได้เกี่ยวกับการจัดเก็บความรู้ ... แต่เกี่ยวกับ ความรู้ที่ทันเวลา (Just In Time)
  • เกิดขึ้นในเครือข่ายอย่างเป็นทางการ ... และเกิดมากยิ่งขึ้นกับเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ

ซอฟท์แวร์สังคม (Social Software)

  • บุคลากรเก็บรวบรวมและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการลงในวิกิพีเดีย ... รายงานสถานะและรายละเอียดในบล็อก ... สื่อสารภายในทีมผ่านทาง Microblog ... สร้างและหารือเกี่ยวกับเนื้อหาในวิกิพีเดีย... และทำให้เป็นปัจจุบันผ่านทาง RSS
  • อย่าลืมว่า คำพูดเดินทางได้อย่างรวดเร็ว
  • ซอฟท์แวร์สังคมมีการขยายตัว ... พบโดเมนใหม่ ... และเรียกร้องให้มีวัฒนธรรมใหม่ที่มีการเปิดกว้าง

เหตุใดจึงได้ผล

  • เพราะธุรกิจประจำวันสร้างบริบทและผู้ชมโดยอัตโนมัติ ... ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงมีแรงจูงใจที่จะแบ่งปันความรู้
  • การแบ่งปันความรู้ เป็นผลข้างเคียงจากการทำงานของเรา!
  • ในขณะที่เราทำงาน เราทำเครื่องหมายในระบบซอฟท์แวร์ ... และซอฟท์แวร์สังคม ทำให้เครื่องหมายนั้นโปร่งใส
  • ซอฟท์แวร์สังคม เชื่อมโยงเนื้อหา
  • ซอฟท์แวร์สังคม เชื่อมโยงเนื้อหากับผู้คน
  • ซอฟท์แวร์สังคม เชื่อมโยงผู้คน

การปฏิบัติงานประจำวัน

  • เมื่อใช้ซอฟท์แวร์สังคม เป็นที่เข้าใจกันว่า คือแพลตฟอร์มแบบครบวงจรในธุรกิจประจำวัน ... มีมุมมองตามลำดับชั้น... มีความโปร่งใส ... จากผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ และ ... จากเครือข่าย (ที่ไม่เป็นทางการ)
  • ดังนั้น คนที่เหมาะสมได้มาพบปะกัน... ความคิดใหม่ ๆ จึงได้รับการพัฒนาร่วมกัน

Enterprise 2.0

  • 1. ไม่เกี่ยวกับการอ่านเอกสารที่ดีที่สุด แต่เกิดจากการติดต่อผู้ที่ถูกต้อง
  • 2. ด้วยซอฟท์แวร์สังคม เราสร้างและบำรุงรักษาเครือข่าย และทำให้โปร่งใสมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้วัฒนธรรม เทคโนโลยี และ เงื่อนไขขององค์กรที่ถูกต้อง
  • 3. นี่คือที่ปลายทางของ Web 2.0 และเป็นจุดเริ่มของEnterprise 2.0 นับว่าเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสม ที่ต้องสร้างขึ้นมาอย่างแข็งขัน

การเริ่มต้น

  • กุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จ ของซอฟท์แวร์สังคมในการดำเนินธุรกิจคือ ... การบูรณาการ (integration)
  • ซอฟท์แวร์สังคมเพียงอย่างเดียว ก็เหมือน ... ผู้เล่นเพียงแค่หนึ่งคน
  • การที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีการประสานงานทั้งองค์กร ... ที่เหมาะสมกับภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยี ... และจิตวิญญาณใหม่ของทีม
  • เพียงเท่านี้ ทุกอย่างก็จะเข้ากันด้วยดี

Enterprise 2.0 ประกอบด้วย

  • องค์กร (Organization): บูรณาการในโครงสร้างและกระบวนการ
  • เทคโนโลยี (Technology): บูรณาการของเครื่องมือและสถาปัตยกรรม
  • วัฒนธรรม (Culture): องค์ประกอบด้านมนุษย์

Enterprise 2.0: ด้านองค์กร

  • บริษัทของคุณ ทำอะไร?
  • ทีมงานที่มีขนาดใหญ่ในต่างประเทศ อยู่ที่ใดบ้าง?
  • ความคิดลูกค้าของคุณ จบลงที่ใด?
  • การสื่อสารที่มีความน่าเชื่อถือ และการเจรจาที่มีความสำคัญเกิดขึ้นเมื่อใด?
  • ใครเป็นผู้ทำอยู่?
  • เราสามารถโยงเข้ากับการสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร?

Enterprise 2.0: ด้านเทคโนโลยี

  • อะไรคือความรู้ที่เราต้องมีเพื่อความสำเร็จ? ซอฟท์แวร์สังคมมีบทบาทอย่างไร?
  • แต่ละเทคโนโลยี มีความได้เปรียบด้านในประยุกต์ใช้ ... การรวมกันของสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นทางเลือกมากขึ้น ทำให้มีศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบ ในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การบูรณาการด้านเทคนิคที่ดี ... จะเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งที่มาต่างๆ เข้าด้วยกัน และทำให้เข้าถึงได้
  • นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องระบบจากการโหลดข้อมูลมากเกินไป โดยการกรองตามความต้องการ และตามลักษณะปัจเจกบุคคล

Enterprise 2.0: ด้านวัฒนธรรม

  • เจ้านายที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นออนไลน์ตลอด ... แต่เขาต้องเป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร
  • การมีวัฒนธรรมที่ถูกต้องคือ เป้าประสงค์ (goal) ไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าจะต้องมีมาก่อน
  • เริ่มจากเล็ก คิดให้ใหญ่
  • เปิดกว้างเท่าที่เป็นไปได้
  • มีกฎข้อบังคับในกรณีที่จำเป็น

การจัดการความรู้และ E 2.0

  • ให้กำหนดขอบเขต Enterprise 2.0 ... และนำมาใช้
  • เพราะมีอีกหลายสิ่ง ที่จะต้องทำ!
  • ซอฟท์แวร์สังคมที่มีการแบบบูรณาการที่ดี ไปได้ดีกับบุคลากร ... และเป็นโครงสร้างพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นของบริษัท

อะไรคือความแตกต่างของ E2.0 และ KM

  • KM กล่าวว่า อัตราส่วนความรู้ที่ชัดเจน/ความรู้ในตน (explicit/tacit ratio) คือ 20/80 แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับความรู้ที่ชัดเจน เช่น Knowledge bases, Share drives, Video/Audio Capture, Ontologies, email, etc.
  • E2.0 โดยธรรมชาติคือความรู้ในตน (tacit) ประมาณ 80% เช่น Blogging, IM, Micro-blogging, Chat, Activity streams ซึ่งสิ่งเหล่านี้เห็นได้ชัดเจน และสามารถสืบค้นได้ โดยการติดแท็ก (tagging)
  • KM ใช้เวลามากในการดักจับความรู้อย่างเป็นทางการ เช่น Knowledge bases, Taxonomies, Content Management
  • E2.0 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเชื่อมต่อและการสนทนา การดักจับเป็นผลพลอยได้ตามธรรมชาติ เช่น Wiki, Emergence, Adaptation, Folksonomies, Knowledge flow

KM และ E2.0 มีอะไรที่เหมือนกัน

  • เกี่ยวกับการสื่อสาร (They’re about communication)
  • ได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน (They benefit from collaboration)
  • สามารถสืบค้นได้ (They depend upon findability)
  • พยายามนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ (They seek to make knowledge actionable)
  • ล้มเหลวถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรม! (They fail without a dramatic Cultural Change!)

อะไรที่ทำให้ E2.0 แตกต่างจาก KM

  • E2.0 เป็นการมุ่งเน้นที่ลูกค้า
  • KM มุ่งเน้นที่เนื้อหา
  • E2.0 อำนวยความสะดวก ในการดักจับและการแบ่งปันความรู้ ในขณะที่เกิดขึ้นจริง
  • KM เป็นการศึกษาย้อนหลัง
  • E2.0 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมต่อเนื่อง และรวบรวมข่าวสาร
  • KM เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดเก็บ "ความรู้"

มีอะไรที่เปลี่ยนไป (หรือไม่เปลี่ยน)

  • ตัววัดที่แท้จริงของความสามารถในการ "จัดการ" ความรู้ ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของคนกับคน มากกว่าในการเชื่อมต่อคนกับเอกสาร
  • The true measure of our ability to “manage” knowledge is more in our connection to people, than in our connection to documents.

***************************************

ตอนที่ 3 KM 2.0

หลักการพื้นฐานของการจัดการความรู้ (Fundamental of KM)

  • เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่กระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันของความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ผ่านการพัฒนากระบวนการ ที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความรู้ที่เป็นทางการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น (. . . are actually about supporting social environments that stimulate informal sharing of knowledge through developing processes that encourage more formal knowledge creation and exchange.)

เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ (IT & KM)

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นเรื่องของการสนับสนุน การจัดการความรู้ (KM) ตัวมันเองไม่ใช่ KM เพราะกิจกรรมการจัดการประมวลผลความรู้ หรือปรากฏการณ์ขององค์กรใด ๆ ไม่ได้เป็นอัตโนมัติทั้งหมด
  • เราควรพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของ IT ในการช่วยเหลือ KM หรือกล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น กระบวนการประมวลผลความรู้ (knowledge processing)
  • ดังนั้น KM จึงไม่ใช่ IT

เริ่มต้นของการจัดการความรู้ 2.0 (Early KM 2.0)

  • จากการเปิดตัว "Web 2.0" เพื่ออธิบายการรวบรวมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า ซอฟต์แวร์สังคม (social software)
  • โปรแกรมเหล่านี้รวมถึง blogs, wikis, social network analysis, social networking applications, collaborative content tagging, folksonomies, community support/collaboration software, และ project collaboration software

องค์กร 2.0 (Enterprise 2.0)

  • หลังจากการแนะนำของ Web 2.0 มีบางคนจึงมีการพูดคุยเกี่ยวกับ "องค์กร 2.0" (Enterprise 2.0) ที่ดำเนินการบน "แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สังคม" (social software platforms)
  • โดยทั่วไป เว็บ 2.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อทางสังคม ความร่วมมือ และสนับสนุนการตัดสินใจ
  • เมื่อมี "องค์กร 2.0" เริ่มมีผู้คนถามว่า ทำไมไม่มี KM 2.0 บ้าง
  • KM 2.0 จึงเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2005 และค่อยๆแพร่กระจายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

E2.0 ไม่ใช่ KM

  • E2.0 ("ซอฟต์แวร์สังคม") แตกต่างจาก KM เนื่องจาก:
  • ซอฟต์แวร์สังคมไม่ใช่ภูมิปัญญา (social software does not equal wisdom) ดังนั้น E2.0 จึงไม่ใช่การจัดการความรู้
  • มันเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และมันดูเหมือนจะมีอำนาจ ในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขององค์กร
  • ในขณะที่ KM มักพยายามปรับปรุงสิ่งที่องค์กรมีอยู่

เครื่องมือสื่อสังคม (Social Media Tools)

  • มีคนกล่าวว่า KM 2.0 เป็นการนำเครื่องมือสื่อสังคมเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อ สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ ที่มีผลในการสื่อสารและในการถ่ายทอดความรู้ที่ดีขึ้น
  • นี้เป็นทฤษฎีที่เรียบง่าย
  • แต่มันก็เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ ที่เครื่องมือทางสังคมจะช่วยให้การแบ่งปันความรู้ ให้ประสบความสำเร็จมากกว่าก่อนหน้านี้

การอภิปรายเกี่ยวกับ KM 2.0

  • KM 2.0 ใช้ เว็บ/องค์กร 2.0 (Web/Enterprise 2.0) เป็นเครื่องมือช่วยให้มีการเชื่อมต่อมากขึ้น
  • ก่อนที่จะนำ เว็บ/องค์กร 2.0 เป็นเครื่องมือ KM เป็นวิธีการที่มุ่งเน้น การออกคำสั่งและการควบคุม (command-and-control)
  • แต่ KM 2.0 มีการวางแนวทางใหม่ทั้งหมด มุ่งเน้นไปที่ การจัดการด้วยตนเองและชุมชน (self-organization and community)
  • KM 2.0 นำเครื่องมือสื่อสังคม มาใช้ในการสร้างระบบนิเวศที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อ ในการสร้างความสัมพันธ์ และความไว้วางใจ ที่มีผลในการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ที่ดีขึ้น
  • KM 2.0 คือการใช้เครื่องมือสื่อสังคมในองค์กรใช่หรือไม่? KM 2.0 เทียบเท่ากับ องค์กร 2.0 หรือไม่? หรือ KM 2.0 คือกิจกรรมทางสังคมในวงกว้างมากขึ้น โดยการใช้เครื่องมือใหม่?

Jennifer Okimoto’s 11 dichotomies

  • ในเดือนกันยายนของปี ค.ศ. 2007 Jennifer Okimoto ของ IBM นำเสนอเรื่อง "แนวโน้มอุตสาหกรรม: วิวัฒนาการของการจัดการความรู้ (KM 1.0 เทียบกับ KM 2.0) Industry Trends: the evolution of knowledge management (KM 1.0 vs. KM 2.0) "
  • เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสมดุล ในหมู่คน กระบวนการ และเทคโนโลยี
  • เป็นวิธีการที่จะทำให้ KM 1.0 แบบดั้งเดิม และ KM 2.0 อยู่ร่วมกันได้ เพราะ "แหล่งที่มาและวิธีการใหม่ ๆ ที่มีการแบ่งปันความรู้ โดยของเก่าไม่ได้หายไปไหน "

KM ได้พัฒนาเป็น KM 2.0?

  • ไม่ใช่
  • KM ยังคงเกี่ยวกับบุคคลและการแบ่งปันความรู้
  • เป็นการสร้างความมั่นใจ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ให้ทำให้ออกมาได้ดีที่สุด
  • ไม่เคยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ดี เพราะ KM สามารถอยู่ได้ โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยี!

การทำงานร่วมกันและ KM 2.0

  • การทำงานร่วมกัน (Collaboration) หมายถึง คนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าประสงค์เดียวกัน
  • การเสริมสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน มุ่งเน้นไปที่การวางตำแหน่งและคน ที่อาจต้องมีการทำงานร่วมกัน
  • นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการให้ "พื้นที่" (spaces) ที่ช่วยการทำงานร่วมกันในการให้บริการ หรือวิธีการในการสร้างกระบวนการทำงานร่วมกัน หรือการติดตามกระบวนการทำงานร่วมกัน

การจัดการความรู้ไม่ใช่เครื่องมือด้านซอฟท์แวร์

  • เป็นความเข้าใจได้สำหรับเครื่องมือซอฟท์แวร์ ที่จะย้ายจากรุ่น 1.0 เป็น 2.0, 3.0 และต่อ ๆ ไป
  • แต่ KM ไม่ได้เป็นเครื่องมือซอฟท์แวร์ มันเป็นวินัยการจัดการ
  • ไม่มีใครอ้างว่ามี จิตวิทยา 2.0 เมื่อมีการทดสอบหรือเครื่องมือวิเคราะห์ใหม่ ไม่มีใครอ้างว่ามี รัฐศาสตร์ 2.0 เมื่อเทคโนโลยีทำนายเลือกตั้งใหม่ถูกคิดค้นและนำไปใช้
  • เหตุผลใดจึงอ้าง KM 2.0 เมื่อมีซอฟท์แวร์ใหม่ใช้งาน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้ในการประมวลผลความรู้?

เครื่องมือ 2.0 (2.0 Tools)

  • ความสัมพันธ์ที่เรียบง่ายของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การทำงานร่วมกัน และการผลิตเนื้อหา ที่ผลิตโดยเครื่องมือ 2.0 ไม่ได้รับประกัน การประมวลผลความรู้ที่ได้
  • ดังนั้น แม้ว่าเครื่องมือ 2.0 สามารถรับประกันความสำเร็จในการเสริมสร้างการทำงานร่วมกัน ในการผลิตเนื้อหา แบ่งปันข้อมูล และเครือข่ายสังคม
  • แต่ไม่ได้มีปรับปรุงการประมวลผลความรู้ และคุณภาพของความรู้ ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ 2.0

สรุปโดยผู้ประพันธ์

  • การเปลี่ยนแปลงเป็น KM 2.0 ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้ ที่เป็นผลมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เป็นตัวช่วย แต่จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดพื้นฐาน ในขอบเขตการจัดการความรู้ ที่มีมากกว่าการแบ่งปันความรู้ การดักจับความรู้ และนำความรู้กลับมาใช้ และจะต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้ในระบบที่ซับซ้อนด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่ การเรียนรู้ขององค์กรและการจัดการนวัตกรรม จึงจะเป็น การจัดการความรู้ 2.0 (KM 2.0) ของจริง

*********************************

ของแถม

Sneak Peek on KM 3.0 (แอบดู การจัดการความรู้ 3.0)

การจัดการความรู้

  • การจัดการความรู้ (KM) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนความรู้ในตน (tacit knowledge) เป็นความรู้อย่างชัดเจน (explicit knowledge)
  • Knowledge Management (KM) is essentially about transforming tacit knowledge to explicit knowledge.

เหตุใดจึงต้องจัดการความรู้ (Why Knowledge Management)

  1. เพื่อให้ความรู้ที่มีอยู่ แพร่หลายภายในองค์กร (องค์กรจะได้ไม่ต้องมีการค้นพบสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก)
  2. นวัตกรรม สร้างความรู้ใหม่ที่มีคุณค่า
  3. การปรับตัว มีความคล่องตัว ผลทางการตลาดที่ดีขึ้นจากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ปัญหาและอุปสรรคของ KM

  • วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการผลิต ทำงานแบบวันต่อวัน มากกว่าการสร้างความรู้และนวัตกรรม
  • ข้อมูลที่นำเสนอน่าเบื่อ (พนักงานไม่เข้าใจประโยชน์ที่ได้รับ)
  • ขาดความไว้วางใจ กลัวการขโมยความคิด ไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันความรู้
  • ความเป็นมนุษย์ จึงอายและกลัวที่จะทำผิดพลาด
  • ระบบราชการมาก และใช้เวลานานเกินไป ที่จะแบ่งปันความรู้

อะไรคือ KM3.0 (What is Knowledge Management 3.0?)

  • การรวบรวมและการแบ่งปันความรู้กับคนอื่น ๆ ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่คุณแบ่งปันกับทีมงานของคุณ ไม่จำเป็นเช่นเดียวกับที่แบ่งปันในแผนก หรือในองค์กรของคุณ และ
    • ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมความรู้ ถ้าไม่ได้ใช้ร่วมกัน
    • ไม่จำเป็นต้องแบ่งปันความรู้ ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์
  • การจัดเก็บความรู้ทุก ๆ อย่าง นำไปสู่ข้อมูลส่วนเกิน และทำให้ยากที่จะต่อการค้นหาและพบสิ่งที่ต้องการ และเป็นการลดคุณค่าโดยรวมของความรู้ที่ดักจับได้
  • หาก 30% ของฐานข้อมูลความรู้ของคุณ มีเพียง 2% ของบุคลากรที่ประโยชน์เป็น ส่วนคนอื่น ๆ อีก 98% จะต้องใช้วิธีการกรองผ่านข้อมูลจำนวนมาก ที่ไม่เกี่ยวข้องและที่ไม่จำเป็นจึงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ ใช่หรือไม่?
  • ดังนั้น บทบาทหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศของใน KM 3.0 คือ อนุกรมวิธาน (TAXONOMY) : เครื่องมือในการกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

***************************************************

สวัสดีปีใหม่ ใน พ.ศ. 2559 ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน ประสบแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดสมความปรารถนา ร่มเย็นเป็นสุข มั่งมีศรีสุข พ้นทุกข์พ้นภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวงเทอญฯ

หมายเลขบันทึก: 598564เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2015 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท