คนเลี้ยงผึ้ง..ผึ้งเลี้ยง 6 (การเลี้ยงผึ้งโพรงตอนผึ้งงาน)


ผึ้งตัวผู้เจริญมาจากไข่ของนางพญาที่ไม่ได้รับการผสมพันธ์กับอสุจิ หรืออาจเกิดมาจากการวางไข่ของผึ้งงาน มีหน้าที่ในการกินและผสมพันธ์ ไม่ต้องทำอะไรอื่นทั้งหมด ส่วนอาหารจะได้รับจากผึ้งงานที่นำมาป้อนให้.....

ตอนที่แล้วได้เล่าเรื่อง ผึ้งนางพญาไปแล้ว ขอเล่าต่อในประชากรและสังคมผึ้ง .....

.ผึ้งตัวผู้ .....ผึ้งตัวผู้มีลักษณะลำตัวป้อม อ้วนมู่ทู่ ก้นมน ตัวโตกว่าผึ้งงานเล็กน้อย มีสีดำเกือบสนิท ตาโตและมีประสิทธิภาพมากกว่าผึ้งงานและผึ็งนางพญา ปีกทั้งสองข้างปิดตลอดทั้งลำตัว สังเกตุได้ง่าย ไม่มีเหล็กไน และขาคู่หลังก็ไม่มีที่เก็บเกสรดอกไม้ ผึ้งตัวผู้เจริญมาจากไข่ของนางพญาที่ไม่ได้รับการผสมพันธ์กับอสุจิ หรืออาจเกิดมาจากการวางไข่ของผึ้งงาน มีหน้าที่ในการกินและผสมพันธ์ ไม่ต้องทำอะไรอื่นทั้งหมด ส่วนอาหารจะได้รับจากผึ้งงานที่นำมาป้อนให้.....

ผึ้งงาน..... ในแต่ละรังจะมีผึ้งงานมากที่สุดประมาณ 5000 ถึง 30000 ตัว ผึ้งงานจะมีขนาดลำตัว เท่าผึ้งตัวผู้ แต่จะผอมกว่า ลำตัวมีสีน้ำตาลแกมดำปนเหลือง ปีกสองข้างมีความยาวเท่าลำตัว มีอวัยวะแตกต่างจากผึ้ง วรรณะอื่นๆ เช่นมีส่วนท้อง มีต่อมสร้างไขผึ้ง เพื่อใช้และซ่อมแซมรัง มีต่อมผลิตสาร พิโรโมน หรือกลิ่นประจำรัง และมีต่อมผลิตสารเตือนภัย มีอวัยวะทางเดินอาหารส่วนหน้าที่ขยายเป็นถุง เพื่อใช้เก็บน้ำหวานที่ดูดจากดอกไม้ เรียกว่ากระเพาะเก็บน้ำผึ้ง ส่นที่ขาส่วนหลังหรือคูหลัง จะมีที่เก็บละอองเกสรดอกไม้ เรียกว่า"ตะกร้าเก็บเกสร" และมีเหล็กไน ผึ้งงานเป็นผึ้งเพศเมียที่เจริญเติบโตมาจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธ์กับอสุจิของผึ้งตัวผู้เช่นเดียวกับนางพญา

ในระยะที่เป็นตัวอ่อน 3 วันแรก ก็จะได้รับอาหารจากตัวอ่อนเช่นเดียวกับผึ้งนางพญา แต่มีปริมาณที่น้อยมาก การที่ได้รับอาหารจากตัวอ่อนน้อย จะกระตุ้นการเจริญเติบโตภายในกลายเป็นผึ้งงาน ผึ้งงานใช้อาหารสำรองที่เก็บสะสมไว้เป็นอาหารปกติ

ผึ้งงานจะมีอายุประมาณ 10-12 สัปดาห์ ในฤดูหนาวจะมีชีวิตสั้นหลายเดือน อายุของผึ้งงานจะขึ้นอยู่กับการทำงานในฤดูร้อน ซึ่งมีการทำงานมาก ชีวิตก็จะสั้นลง....

.ผึ้งงาน ทำหน้าที่ทุกอย่างภายในรังโดยแบ่งหน้าที่ทำงานตามอายุ หรือลำดับอาวุโส คือ ผึ้งงานที่ออกจากดักแด้แล้ว 2 - 3 จะทำหน้าที่ทำความสะอาดรัง

ผึ้งงานอายุ 7 -12 วันจะทำหน้าที่เป็นผึ้งพี่เลี้ยง ผลิตอาหารให้ตัวอ่อน และอาหารให้ผึ้งนางพญา

ผึ้งงานอายุ12 วันขึ้นไป ทำหน้าที่ผลิตไขผึ้ง และซ่อมแซมรัง

ผึ้งงานอายุ 19-21 วัน มีหน้าที่ผลิตน้ำผึ้ง และขนถ่ายอาหาร

ผึ้งงานอายุ 21 วันขึ้นไปซึ่งเรียกว่าผึ้งสนาม มีหน้าที่ออกหาน้ำหวานและเกสรดอกไม้มาเลี้ยงประชากรผึ้งทั้งหมดในรัง ส่วนที่เหลือจะเก็บสะสมไว้เป็นอาหารสำรองสำหรับในยามขาดแคลนต่อไป ส่วนผึ้งงานสมามที่ไม่แข็งแรงพอก็ทำหน้าที่เป็นเฝ้ารังและป้องกันรัง ..........

โปรดตามตอนการเริ่มต้นเลี้ยงผึ้งโพรงไทย....

หมายเลขบันทึก: 598334เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คอยติดตามการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยด้วยใจจดจ่อครับ

ตอนที่ 8 กำลังจะเริ่มแล้วครับอาจารย์ต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท