พ่อพิมพ์ และ แม่พิมพ์ ในการสร้างพระสมัยโบราณ


การสร้างพระกรุโบราณ 2 แบบ

จาก "พ่อพิมพ์" (ต้นแบบ) กับ การสร้างพระจาก "แม่พิมพ์" (บล็อก)

******************

จากการพยายามทำความเข้าใจทั้งในเชิงพุทธศิลป์ และตำหนิของพระกรุโบราณ

ทำให้ได้พบสิ่งที่แตกต่างกันอยู่ใน 2 แบบใหญ่ๆ คือ

การใช้พ่อพิมพ์ รูปสำเร็จเป็นต้นแบบ และการแกะแม่พิมพ์ เพื่อการสร้าง

----------------------------

แบบที่ 1 เป็นการสร้างจากพ่อพิมพ์

เพื่อการสร้างที่ทำไปเรื่อยๆ และยาวนานกว่าจะจบกระบวนการสร้าง

โดยการแกะ หรือปั้นพอพิมพ์ ตามขนาดและรายละเอียดจริงๆ ตามรูปร่างพระที่ต้องการ มา 1 หรือ สองสามองค์ ก็แล้วแต่

แล้วนำพ่อพิมพ์เหล่านั้นไปเป็นต้นแบบ ทำเบ้า "แม่พิมพ์" เพื่อการสร้างจริงๆ อีกทีหนึ่ง

พระที่สร้างแบบนี้จะมีรายละเอียดทั้งตำหนิ และพุทธศิลป์แบบเดียวกัน แต่สัดส่วนต่างๆจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตาม "แม่พิมพ์" ที่สร้างขึ้นมาแต่ละเบ้า

และจากการวิเคราะห์ตำหนิ และพุทธศิลป์ ดูเสมือนว่า จะมีการนำพระองค์ใหม่ๆที่สร้างขึ้น มาถอดพิมพ์ ทอยต่อๆกันไปเรื่อยๆ

ที่อาจจะมาจากการสูญหาย หรือเสียหายของพระพ่อพิมพ์เดิมก็ได้

ทำให้พิมพ์เพี้ยน และสัดส่วนต่างๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตำหนิและพุทธศิลป์หลักๆไว้ได้

จึงเป็นกลุ่มพระที่มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน แต่ตำหนิและพุทธศิลป์ ยังจะมีเค้าโครงแบบเดิมๆ

พระที่สร้างแบบนี้ ที่ชัดเจน ก็ได้แก่ พระรอดมหาวัน พระผงสุพรรณ พระนางพญา และพระรูปหล่อโลหะ แบบต่างๆ เป็นต้น

------------------------------------

แบบที่ 2 เป็นการสร้างจากการแกะขึ้นมาจากแม่พิมพ์ (หลายแม่พิมพ์)

ทั้งต่อเนื่องกัน การทดแทน และความรวดเร็วในการสร้าง

เพื่อการรักษาความงดงามของพระ ในสร้างจำนวนมาก และสามารถสร้างได้ในระยะเวลาสั้นๆ

โดยการกำหนดเอกลักษณ์ อัตลักษณ์แบบมืออาชีพ ที่ทำซ้ำๆได้ใกล้เคียงของเดิม แบบเดียวกับลายเซ็นประจำตัวของแต่ละคน

ที่จะมีพุทธศิลป์ที่ชัดเจน แต่รายละเอียดของเส้นสาย และตำหนิ จะแตกต่างกันไปกล่าวคือ แต่ละแม่พิมพ์ จะต่างกันไปเรื่อยๆ ที่เรียกกันว่า คนละบล็อก

ที่ชัดเจนที่สุดก็ได้แก่ ในกลุ่มพระสมเด็จทั้งสามวัด พระกำแพงซุ้มกอ พระกรุบ้านกร่าง เป็นต้น

ที่มีจำนวนบล็อกมากมาย แต่ละบล็อกมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่ยังคงรักษาโครงสร้างของพุทธศิลป์ต่างๆไว้ได้แบบเดียวกัน

------------------------------

ทั้งสองแบบนี้น่าจะเป็นต้นแบบหลักๆ ของการสร้างพระเครื่อง พระบูชา และพระกรุโบราณ ที่สร้างจำนวนมาก ได้โดยสะดวก ตามความสามารถและทรัพยากรที่มีครับ

การวิเคราะห์แบบนี้จะช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของพุทธศิลป์ ตระกูลช่าง และ ตำหนิ ของพระกรุโบราณ ได้อย่างใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 597837เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท