หน่วยงานที่สนับสนุนผู้ประกอบการด้านต่างๆ


สำหรับท่านที่เริ่มต้นดำเนินการ ในการเป็นผู้ส่งออกรายใหม่ นอกจากได้แนะนำไปค่อนข้างมาก ในด้านการดำเนินการต่างๆแล้ว และในหลายๆหัวข้อเหล่านั้น ผู้เขียนก็ได้เอ่ยนามของหน่วยงานต่างๆมาเป็นระยะ ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และองค์กรมหาชนที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการดำเนินการของผู้ประกอบการต่างๆ หรือผู้ส่งออกรายเดิมแต่ยังไม่ค่อยทราบ ในที่นี้จะขอนำรายชื่อของหน่วยงานเหล่านั้นมารวมไว้สำหรับหน่วยงานที่สนับสนุนการส่งออกรวมทั้งบางหน่วยงานก็สนับสนุนผู้ประกอบการ SME โดยทั่วไป เพื่อที่จะให้ท่านมีที่ปรึกษามากขึ้นหากต้องการรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ในการปฎิบัตการ เพื่อการดำเนินการ หรือเพื่อหาแหล่งสนับสนุนเงินทุน และด้านอื่นๆ เพื่อลดอุปสรรค และส่งเสริมการประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น ดังมีหน่วยงานที่จะขอแนะนำ พร้อมหน้าที่ดังนี้

1. กรมส่งเสริมการส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์ Department of International Trade Promotion (คลิก... http://www.ditp.go.th/ )

  • ให้ความรู้กับภาคเอกชนในการปรับระดับมาตรฐานการผลติ และคุณภาพการให้บริการให้สอดคล้องกับมาตรฐานของอาเซียน และอื่นๆ
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพสู่ตลาดสากลให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
  • ส่งเสริมการใช้เครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างภาคธุรกิจของไทยกับสากล
  • เสริมสร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
  • สนับสนุนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนประกอบธุรกิจในต่างประเทศ
  • ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากการจัดทำข้อตกลงทางการค้าตามแผนดำเนินการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสากลซึ่งสินค้าไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีศุลกากรและมิใช่ภาษีศุลกากร
  • เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการด้านการผลิตและส่งออกกับผู้ประกอบการสาขาโลจิสติกส์

2. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย The Thai Chamber of Commerce (คลิก... http://www.thaichamber.org/ )

  • ส่งเสริมการส่งออกของประเทศร่วมกับภาครัฐบาล
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านธุรกิจและการค้ากับประเทศต่าง รวมการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้า การแสดงและเผยแพร่สินค้า การอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือนักธุรกิจในการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน
  • ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาในการประกอบธุรกิจ อันเกิดจากระบบและระเบียบราชการ ประสานงานและผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และยังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนในโอกาสการเรียนรู้เทคนิคการประกอบธุรกิจให้ทันสมัย โดยการขอรับทุนการศึกษา/ฝึกอบรม ที่จัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และมีบริการระงับข้อพิพาททางการค้า และทำการประนีประนอมข้อพิพาททางการค้าเมื่อมีการร้องเรียน รวมทั้งการให้บริการออกเอกสารค้ำประกันภาษีศุลกากรการนำของเข้าชั่วคราว (ATA Carnet) และออกหนังสือรับรองมาตรฐานสินค้าส่งออก
  • มีกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจากกระทรวงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนสมาคมการค้าต่าง ๆ ให้ได้มีโอกาสเพิ่มกิจกรรม เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินธุรกิจของสมาชิกส่วนรวม เช่น จัดให้มีการแสดงและเผยแพร่สินค้าในต่างประเทศ เป็นต้น

3. สภาอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม The Federation of Thai Industry (คลิก... http://www.fti.or.th/ )

  • ส่งเสริมการพัฒนาและการเชื่อมโยงทางธุรกิจ ของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ RFID ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ (Supply-chain Business Match-making)
  • ส่งเสริมการพัฒนาขีดความความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID อย่างชาญฉลาด ของอุตสาหกรรมในประเทศ (Smart Adoption/Utilization Promotion) เป็นต้น

4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน Thailand Board of Investment ( คลิก... http://www.boi.go.th/ )

  • ให้ข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย
  • จัดการเยี่ยมชมเพื่อศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ตั้งโรงงาน
  • จัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้รับจ้างผลิต และผู้สนใจร่วมทุน
  • ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่จูงใจและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
  • ให้รายละเอียดผู้ติดต่อของหน่วยงานหลักทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นประโยชน์
  • ประสานร่วมมือกับกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
  • ไม่กำหนดเงื่อนไขการถือหุ้นต่างชาติในอุตสาหกรรมการผลิตและในบางสาขาของอุตสาหกรรมบริการ
  • ให้ความช่วยเหลือในการยื่นขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเข้ามาจัดตั้งและดำเนินธุรกิจของชาวต่างชาติ

5. สสว. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม Office of Small and Medium Enterprise Promotion ( คลิก... http://www.sme.go.th/ )

  • บริหารกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเสนอแนะนโยบาย การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • จัดทำแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเสนอแนะนโยบาย การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • จัดทำและพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะนโยบายและการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

และจะมีหน่วยงานอื่นๆอีกเช่น กรมการเจรจาการค้า (Department of Trade Negotiation คลิก - http://www.dtn.go.th/ ) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (Institute for Small and Medium Enterprise Development คลิก -http://www.ismed.or.th/ ) บสย. (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม คลิก - http://www.tcg.or.th/ ) ที่เป็นอีกหน่วยงานที่สนับสนุนด้านเงินลงทุน และ กรมการค้าต่างประเทศ Department of Forign Trade ( คลิก... http://www.dft.go.th/ ) เป็นต้น ที่ท่านจะสามารถหาข้อมูลต่างๆได้ จากสำนักงานเหล่านี้โดยตรง

ดังนั้นท่านควรศึกษาว่าท่านมีจุดอ่อน (Weaknesses) ด้านไหนอยู่ที่หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้น่าจะเสริมสร้างให้จุดอ่อนเหล่านั้นให้กลายเป็นจุดแข็งขึ้นมาได้ (Strengths) ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ และโชคดี

หมายเลขบันทึก: 597836เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 07:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท