ไขข้องใจในวิชาชีพ


ขอบพระคุณนศ.กิจกรรมบำบัดมหิดลชั้นปี 3 ที่กล้าถาม กล้าเถียง และกล้าต่อรอง เพื่อเพิ่มความมั่นใจด้วยคำถามว่า แล้วทำไมอาจารย์ไม่สอนโมเดลแบบนี้ให้หนูถ้ารู้ว่าโมเดลอันนี้ใช้ไม่ได้ ... ลึกๆผมก็หงุดหงิดว่าทำไมนศ.ไม่เข้าใจที่ผมพยายามสื่อสารผ่านการเขียนอธิบาย ฟัง เงียบ ไม่ตอบโต้ จนผมต้องเข้าไปคุยรายคนจนชัดเจน

บางครั้งผมก็ท้อที่จะต้องอดทนและทำใจเย็นๆค่อยๆคิดว่า "จะอธิบายปรับความเชื่อและความรู้ความเข้าใจของนศ.รุ่นใหม่ได้อย่างไร"

เช่นวันนี้ ผมสะท้อนความคิดตรงไปตรงมาว่า "นักกิจกรรมบำบัดใช้ Domain & Process เป็นพจนานุกรม ไม่ได้นำมาใช้เป็นแบบจำลองในการประเมินและออกแบบกิจกรรมการรักษาผู้รับบริการ" นศ.ก็ย้ำกับผมว่า "อาจารย์ท่านอื่นๆสอนให้ใช้ Domain & Process มาแล้ว แต่ตอนนี้อาจารย์ไม่อยากให้พวกหนูใช้ และบอกให้ใช้แบบจำลองอื่นๆ แทน ทำไมอาจารย์ไม่สอนให้ใช้แบบจำลองอื่นๆ เลยหละค่ะ"

ผมก็เลยเปรียบเทียบว่า "เหมือนเวลาเราพูดภาษาอังกฤษ เราก็เปิดดูคำศัพท์ในพจนานุกรมเช่น Domain & Process พอเวลาเราอยากทบทวนการพูดภาษาอังกฤษ เราก็เปิดดูคู่มือพูดภาษาอังกฤษที่ค้นคว้ามาจากประสบการณ์ของผู้สอนแล้ว" แต่ก็ไม่เป็นผล นศ.ก็ยังเงียบและพูดคุยกันเองอย่างสงสัยและหงุดหงิดอย่างไม่เข้าใจ

ผมก็นิ่งคิดแล้วขอพยายามอีกครั้ง "งั้นลองยกพฤติกรรมในเคสที่น้องๆนำเสนอมาในสไลด์" นศ.ก็ยกมาว่า "เราก็สังเกตพฤติกรรมอดทนรอของเคส" ผมก็โต้ตอบว่า "แล้วใช้ Domain & Process อย่างไร" นศ.ก็ยังยืนยันว่า "Domain & Process คือกรอบการทำงานที่เราจะเปิดดูพฤติกรรมอดทนรอว่าคืออะไร แล้วจะต้องทำอะไรต่อ" ผมก็ถามต่อว่า "แล้ว Domain & Process แนะนำให้น้องๆทำอะไรต่อและพฤติกรรมอดทนรอคืออะไร" นศ.ก็บอกกันอย่างแตกต่างว่า "ก็ประเมินต่อ...อดทนรอคือทักษะ สมาธิ มีปัญหาต่างๆที่พูดไว้ใน Domain & Process" ผมจึงสรุปว่า "เห็นไหมว่า เราเองก็เข้าใจไม่ตรงกัน แม้ว่าจะเปิดดู Domain & Process เหมือนกัน ลองเปิดหน้าแรกแล้วอ่านดูว่ามีการประเมินหรือไม่ เอาหละพี่จะเขียนให้เห็นความคิดเชิงระบบในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ขอย้ำว่า Domain & Process เป็นของอเมริกาและมีลิขสิทธิ์ต้องเสียเงินถ้าต้องนำมาใช้ และเมื่อรุ่นพี่และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งก็คิดว่าเราต้องพัฒนากรอบการทำงานวิชาชีพกิจกรรมบำบัดเพื่อบริบทคนไทยให้เหมาะสมชัดเจน จึงเป็นที่มาให้พี่และอาจารย์ทุกท่านกำลังวิจัยทั้งมหิดลและมช." นศ.ดูเงียบและกำลังตั้งใจฟัง...ผมจึงเขียนแล้วอธิบายอย่างกระชับเท่าที่จะทำได้เต็มศักยภาพและประสบการณ์วิชาชีพที่ผ่านมาดังนี้:-

  • เมื่ออ่านบทนำของ Domain & Process คำว่า Framework แปลเป็นไทยว่า กรอบการทำงาน แต่เป้าหมายที่ชัดเจนคือการสรุปคำอธิบายตามบริบทการปฏิบัติงานของนักกิจกรรมบำบัดอเมริกาเท่านั้น ใช้ในระบบการรายงานที่เป็นรูปแบบภาษาเดียวกันหรือ Uniform Terminology for Reporting System แต่มิได้หมายถึงการอธิบายราก ทฤษฎี และแบบจำลองทางกิจกรรมบำบัดทั้งหมด ดังนั้นผมจึงแนะนำให้นศ.สามารถเลือกใช้ Domain & Process หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานก็ได้
  • สิ่งสำคัญที่สุดในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดมาตรฐานสากลคือ การให้เหตุผลทางคลินิกด้วยการปรับแนวคิดและกระบวนการ (แบบจำลอง) ที่ผ่านการนำไปทดลองกับผู้รับบริการมากกว่า 1,000 รายแล้วเกิดการวัดผลทักษะชีวิตหรือความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนพัฒนาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์และยกระดับเป็นกรอบอ้างอิงวิชาชีพ

  • ผมจึงอธิบายอย่างสุดความสามารถและเสียงหนักแน่นจริงจังด้วยความรักและเสียสละในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดที่มิอยากให้เลือนหายไปในนศ.ของผม
  • แบบจำลองที่ไม่ได้กล่าวถึงใน Domain & Process คือ แบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือ Model of Human Occupation กับ แบบจำลองการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupational Adaptation (OA) รวมทั้งผมกำลังจะเชื่อมโยงสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดที่แยกตาม Person (P), Environment (E) และ Occupation (O) ที่สุดท้ายเราต้องเป็นมืออาชีพวัดการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupational Performance (P+E+O) จากนั้นเราก็ต้องให้เวลา และปรับกิจกรรมอย่างท้าทายตามความสนใจและความตั้งใจฝึกทักษะชีวิตให้รับรู้เป้าหมายกับความหมายของชีวิตที่ควรพัฒนาความสามารถที่มีอยู่จนเข้าใกล้ความสามารถสูงสุด ก็จะเกิดความเป็นอยู่ที่ดี หรือ Well-Being ในปัจจุบันขณะ

  • สุดท้าย นศ.ก็ดูสบตาและทำหน้าที่คล้ายจะยอมรับเข้าใจในความคิดของผม แต่ผมก็ย้ำว่า "ลองกลับไปทบทวนอีกครั้ง แล้วลองนำไปใช้ในการฝึกงานทางคลินิกต่อไป พจนานุกรมจะใช้หรือไม่ เอาไว้ทบทวนในกรณีเราลืมคำศัพท์วิชาชีพ ... แต่ที่ควรจำและใช้ใจคิดทบทวนการให้เหตุผลทางคลินิกคือ แบบจำลองและกระบวนการต่างๆที่อธิบายตามที่เขียนไว้" นศ.อีกกลุ่มก็นำข้อมูลในหนังสืออีกเล่มมาให้ผมดู ผมก็อธิบายว่า ในหนังสือกล่าวถึงร่ม คันร่ม ก้านร่ม และที่จับ ไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่เราควรอ่านด้วยวิจารณญาณและวิเคราะห์ให้ชัดว่า อะไรเหมาะกับคนไทย อะไรใช้ได้จริงๆ ในทางคลินิก ปัจจุบันนี้จากแบบจำลองบนผ้าร่มเปลี่ยนไปเป็นการอิงกรอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้เกิดแนวปฏิบัติที่ต้องปรับประยุกต์ในผู้รับบริการแต่ละรายด้วยสื่อและวิธีการอันหลากหลายที่เราต้องใช้เวลาหลายปีจนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในการฝึกทักษะวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัด มิใช่ใช้แต่ความรู้ที่ได้รับเพียงปริญญาตรีแค่ 4 ปี

หมายเลขบันทึก: 597683เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สอนนักศึกษารุ่นใหม่

ได้พัฒนาตนเอง

ได้แนวคิดดีๆมากขึ้น

ผมชอบฟังนักศึกษาโต้เถียงมาเชียร์การสอนครับ

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-พาน้องกันตรึมมาให้กำลังใจน้องๆ นักกิจกรรมบำบัดรุ่นใหม่...ไฟแรง อิๆ

-สบายดีนะครับ?

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง ผมสบายดีครับ ดูน้องกันตรึมแล้วชวนให้นักกิจกรรมบำบัดรุ่นใหม่มีพลังใจมากมายเลยครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท