เมโลดี้ที่รัก: รักที่ปรากศจากเรื่อง Sex


เมื่อคืนผมได้ดูหนังเรื่อง Melody Fair หรือเรื่องเมโลดี ที่รักในภาษาไทย หนังเรื่องนี้ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 (ก่อนผมเกิดอีก 555+) จากประวัติที่หาได้ในอากู่พบว่า ถ่ายทำในเมืองลอนดอน กำกับโดย เวริส ฮุสเซน อำนวยการสร้างโดย เดวิด พัทนัม (หา!) เป็นบทภาพยนตร์ของ อลัน พาร์คเกอร์ (หา!) ดนตรีประกอบโดยแบรี กิบบ์ และ Bee Jee (โอว!)

ภาพยนตร์เรื่องนี้ครั้งแรกตั้งชื่อว่า “Melody” แต่มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “S.W.A.L.K.” เพราะชื่อ “Melody” ไม่สื่อความหมายของภาพยนตร์“S.W.A.L.K.” ย่อมาจาก “Seal With A Loving Kiss” ซึ่งเด็กนักเรียนอังกฤษในยุคนั้นใช้ลงท้ายจดหมาย แต่เด็กทางฝั่งอเมริกาไม่เข้าใจความหมาย คิดจะใช้ชื่อเรื่องว่า “To Love Somebody” เหมือนกันแต่ไม่ส่งผลอะไรต่อความดังของหนังจึงกลับมาใช้ชื่อ “Melody” ตามเดิม และเมื่อส่งไปฉายทั่วโลก ยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น Melody fair หรือ Love Melody ออกฉายในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษโดยไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ แต่ภาพยนตร์กลับประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายในเอเชีย พร้อมกับความนิยมในวงดนตรีบีจีส์ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ฮ่องกง และไทยด้วย

หนังเรื่องดูโดยรวมจะเป็นหนังรัก Style Poppy Love ของเด็กในชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อายุก็ประมาณ 11 ขึ้นไป โครงเรื่องกล่าวถึง แดเนียล (มาร์ค เลสเตอร์) วัย 11 ปี (ต่อมาเขารับบทเป็น Oliver) มีเพื่อนสนิทชื่อ ออร์นชอว์ (แจ็ค ไวลด์) (ซึ่งกับเขาในหนังเรื่อง Oliver Twist) เด็กกำพร้าหัวโจกที่อาศัยอยู่กับปู่ตามลำพังสองคน ทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนชั้นประถม ที่โรงเรียนเซาท์ลอนดอน โรงเรียนสหศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน วันหนึ่งแดเนียลได้พบกับ เมโลดี (เทรซีย์ ไฮด์) เด็กหญิงต่างห้อง ที่ห้องซ้อมดนตรีของโรงเรียน

แดเนียลกับเมโลดีได้พบกันอีกครั้งในงานเต้นรำของโรงเรียน ทั้งคู่สนิทสนมกันอย่างรวดเร็ว ต่อมาทั้งแดเนียล กับออร์นชอร์ ถูกครูวิชาภาษาลินตินทำโทษ แต่ออร์น ชอร์ไม่เจ็บเพราะได้ยัดผ้าขนหนูไว้ที่ก้น แต่แดเนียลครูจับได้ จึงถูกฟาดไป 2 ครั้ง แล้วพระเอกตัวน้อยก็หนีไอ้ตัวร้ายไปอ้อนนางเอก

ทั้งคู่ออกเที่ยวเล่นตามประสาเด็กจนถึงกับหนีโรงเรียนไปเที่ยวทะเลกันสองคน เป็นที่เลื่องลือและล้อเลียนในหมู่เพื่อนร่วมชั้น เช่นแดเนียลถูกเพื่อนล้อว่า (ถ้าจำไม่ผิดนะ) นี่คืองานแต่งของแดเนียลนักรัก อย่างไรก็ตามทั้งสองรู้ตัวว่ามีความรักต่อกัน และประกาศกับใครต่อใครว่าจะแต่งานกัน จะใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันตลอดไป ทั้งสองนำเรื่องนี้ไปบอกกับครอบครัว และครูใหญ่ ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเหลวไหล เด็กอายุเพียง 11 ปี จะแต่งงานกันได้อย่างไร

บ่ายวันหนึ่ง ครูใหญ่พบว่าเด็กนักเรียนทั้งชั้นหายออกไปจากโรงเรียน จนต้องเกณฑ์ครูทั้งโรงเรียนออกตามหากันจ้าละหวั่น และพบว่านักเรียนทั้งชั้นไปรวมตัวอยู่ที่โบสถ์ร้าง ข้างสถานีรถไฟเพื่อเป็นสักขีพยานในพิธีแต่งงานระหว่างแดเนียลกับเมโลดี โดยการจัดการของออร์นชอว์

ภาพยนตร์นอกจากจะนำเสนอแง่มุมว่าด้วยความรักที่แก่แดดแก่ลมเกินวัยของเด็กแล้ว ยังสะท้อนเนื้อหาว่าด้วยความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกันในโลกของเด็กกับผู้ใหญ่ จนนำไปสู่พฤติกรรมต่อต้าน ดื้อด้าน และถึงขั้นลุกขึ้นกระทำการ “ขบถ” ต่อกฎระเบียบคำสั่งของพวกผู้ใหญ่ เช่น ฉากที่แดเนียลเผาหนังสือพิมพ์ของพ่อ, ฉากที่แดเนียลต้องการวาดรูปโป๊, ฉากการทดลองทำระเบิดของแก๊งเด็กผู้ชาย (สุดท้ายก็ทำได้สำเร็จในตอนท้ายเรื่อง) กับฉากนักเรียนทั้งหญิงชายรุมป่วนบรรดาครูในตอนท้ายของเรื่อง

จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการเอาเพลงของวง Bee Gees มาทำเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ 7 เพลงด้วยกันไม่ว่าจะเป็น In the morning, Spicks and Specks, Give your best to your friend, Working on it night and day, First of May หรือเพลงที่เด็กรุ่นใหม่รู้จักกันดี To love somebody และเพลง Title ของภาพยนตร์ Melody’s fair ที่ฟังทีไรคิดถึงคิดถึงแฟนในวัยเด็กทุกที แถมยังมีเพลง Teach your children ของ Crosby, Still and Nash แถมมาให้ฟังอีกเพลงด้วย

หนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่อย่างผมมองชีวิตของเด็กๆเปลี่ยนไป โลกทัศน์ของเด็กๆ นั้นมีแต่ความรักเพื่อน การทดลอง สีสันในชีวิต การลองผิดลองถูก การเป็นคนดีบ้างเลวบ้าง และการรักเพศตรงข้าม แต่ไม่มีเรื่อง sex เลย


</strong>

หมายเลขบันทึก: 597100เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2015 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2015 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความรัก..กับ..ความใคร่..แตกต่างกัน..ตรงที่"เรียกของ.(มนุษย์).ฟ้า..ว่าสวรรค์..เรียกใต้ดิน..ว่า..นรก..หมกไหม้..อิอิ..

รู้สึกคุ้น ๆ กับชื่อเรื่องนี้

เป็นหนังที่นานมาแล้ว

แต่ก็ยังไม่เคยดูเลยจ้ะ

เรียนอาจารย์ ต้น

ยังไม่เคยได้ดู เรื่องนี้...

ฝนตกหลายวัน ถือโอกาสแปรเปลี่ยนความคับแค้นเป็นพลัง

จึงได้มีโอกาสหยิบหนังสือขึ้นหิ้ง ที่ซื้อมานานทั้งชุด มาอ่าน

นั้นคือ"เทลส์ ออฟ ดิ โอโตริ ทั้ง สามเล่ม

ผลงานเขียนของอิลัน เฮิร์น ซึ่งถ่ายทอดภาคภาษาโดย คุณวันเพ็ญ บงกชสถิตย์......

มีโอกาสคงได้มาเล่าในบันทึก

ได้ดูตอนเข้าโรง ก็ชอบ

แต่เพิ่งดูจากแผ่นเมื่อไม่นานนี้ ความคิดเปลียนไปตามวัย

วงนี้นานมากๆ

ชอบใจการดูหนังแล้วเอามาเล่าให้อ่านครับ

อยากตามไปดูด้วยเลย

สมัยที่หนังเรื่องนี้เข้ามาฉายในบ้านเรา ผมไม่มีโอกาสได้ดู รู้จักแต่ชื่อเสียงของหนัง ดารา และเพลงในหนัง ผมเกิดปี 1959 รุ่นเดียวกับเทรซี่ ไฮย์ มารค์ เลสเตอร์ เลสเตอร์ เกิดปี 1958 แต่แจ๊ค ไวลด์ เกิดปี 1952 ทำไมอายุถึงห่างกันกับสองคนแรกมาก แต่ขนาดรูปร่างกายถึงดูไม่ค่อยต่างกันครับ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท