วิจารณ์ Animal Farm ตอนที่ 1


เมื่อวานนี้ผมได้ดูหนังเรื่อง Animal Farm ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือนวนิยายเรื่อง Animal Farm เช่นเดียวกัน หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1945 (จัดจำหน่ายสู่ตลาดแผงหนังสือปี 1946 เพราะตอนแรกไม่มีสำนักพิมพ์ใดๆยอมพิมพ์) โดย George Orwell

หนังสือนี้เขียนในเชิงเย้ยหยัน(satire หรือ irony) โดยผู้แต่งมองว่าอาณาจักรรัสเซียภายใต้การปกครองของราชวงศ์โรมานอฟของพระเจ้าซาร์สแห่งรัสเซีย ที่ต้องล่มสลายลงไป(ในปี ค.ศ. 1917) ไม่มีความเหมาะสม เพราะชนชั้นสูงย่อมเอาเปรียบประชาชน

ต่อมานายวลาดิเมียร์ เลนิน ได้กลายเป็นผู้นำใหม่ของสหภาพโซเวียด โดยก่อนที่ราชวงศ์ล่มสลายลงไป นายเลนินเป็นผู้นำต่อต่านเรียกร้องให้รัสเซียทำการปฎิวัติล้มล้างระบอบเดิม และให้มีการสถาปนาระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งตอนนั้นประชาชนชาวรัสเซียต่างก็พากันดีใจกันอย่างมากและนึกว่าต่อแต่นี้ไป สหภาพโซเวียดคงจะเข้าสู่สังคมแห่งความเสมอภาพและภราดรภาพ ประชาชนจะพบแต่ความผาสุก โดยนายเลนินที่ทำให้ประชาชนมีอิสรภาพและความทัดเทียมกัน

เลนินมีสาวกทางความคิดของเขาจำนวน 2 คน และ 2 คนนี้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อสหภาพโซเวียดในเวลาต่อมา สองคนที่ว่านี้คือนายสตาลิน (ในเรื่องหมายถึง Napoleon) และนายตรอสกี้ (ในเรื่องหมายถึง Snowball) ที่ชาวรัสเซียให้ความนับถือศรัทธาอย่างมาก แต่หลังจากนายเลนินถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ. 1924 นายสตาลินก็ได้ใช้อุบายต่างๆโดยเฉพาะการสะสมกำลังกองทัพแดง รวมถึงการใส่ร้ายนายตรอสกี้ จนทำให้นายตรอสกี้ต้องอพยพตนเองออกจากรัสเซียไปในที่สุด และทำให้นายสตาลิน ได้กลายเป็นผู้นำสหภาพโซเวียดอย่างเบ็ดเสร็จ และสตาลินได้ใช้กฎเหล็กปกครองประเทศอย่างไม่ปราณีต่อผู้เห็นตรงข้าม

ชาวรัสเซียที่ได้ฝันว่าชาติรัสเซียจะกลายเป็นชาติที่ประชาชนจะพบกับความเสมอภาคและภราดรภาพ ก็ได้กลายเป็นประเทศที่ยากจนมากในยุโรป และประชาชนต้องอยู่ภายใต้การปกครองเช่นนี้ถึง 70 ปีก่อนที่สหภาพโซเวียดจะพังทลายลงเหมือนกันการจอโทรทัศน์ที่จู่ๆก็ดับไปต่อหน้าต่อตา ซึ่งหมายความว่าปัญหาของความเลวร้ายได้ถูกสะสมมานานแล้ว บทที่จอจะดับก็ดับลงไปดื้อๆ ดั่งที่ George Well ได้เขียนเป็นนวนิยายเชิงพยากรณ์ไว้แล้วก่อนหน้านี้ว่าในที่สุดสหภาพโซเวียดจะต้องพังลง

ในหนังจะมีตั้งแต่เรื่องของชนชั้น จะมีตั้งแต่ผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครอง, การสร้างกองทัพ ตลอดจนระบบอุปถัมภ์พวกพ้อง, การคอรัปชั่น การโฆษณา, การเบี่ยงประเด็น, การข่มขวัญ, การหลอกลวง, การเสแสร้ง, การสร้างภาพ, การกดขี่ ฯลฯ อีกหลายประเด็นที่ผู้คนในสังคมชอบใช้ ส่วนใดของเรื่องจะใช้ส่วนใด ผมให้เป็นการพิจารณาของผู้อ่านเองนะครับ


หมายเลขบันทึก: 596898เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2015 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2015 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมดูและอ่านเรื่องนี้นานมาก

แต่ยังชอบอยู่เลยครับ

อาจารย์สรุปย่อประวัติศาสตรให้เห็นภาพชัด คาดว่าต่อไปจะได้อ่านว่าหนังสือเสียดสีอย่างไร

พี่อ่านเล่มนี้เมื่อปีก่อน หนังสืออ่านสนุกมาก หนังก็สนุก พี่จะรออ่านบันทึกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท