เรือนจำกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์
เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งในการดำเนินงานเรือนจำไทยในปัจจุบัน ข้อมูลจากรายงานวิจัย เรื่อง ตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ของสำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ โดยวินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ และ คณะ ได้กล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินงานของเรือนจำ / ทัณฑสถาน จำนวน ๑๑ แห่ง ที่ได้ทำการเก็บข้อมูลประกอบรายงานการวิจัย โดยสังเขป ดังนี้
ฝ่ายฝึกวิชาชีพ ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา
ผลการเก็บข้อมูลประกอบรายงานการวิจัยจากเรือนจำ / ทัณฑสถาน จำนวน ๑๑ แห่ง พบว่า เรือนจำ/ทัณฑสถานในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ทัณฑสถานเกษตรอุตสาหกรรมเขาพริก ทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา เรือนจำอำเภอสีคิ้ว เรือนจำกลางคลองไผ่ เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง (จังหวัดเพชรบุรี) เรือนจำชั่วคราวเขาบิน (จังหวัดราชบุรี) เรือนจำชั่วคราวโคกมะตูม (จังหวัดบุรีรัมย์) เรือนจำชั่วคราวโคกตาบัน (จังหวัดสรินทร์) เรือนจำชั่วคราวรอบเมือง (จังหวัดร้อยเอ็ด) เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ (จังหวัดตราด) และ ทัณฑสถานเปิดทุ่งเบญจา (จังหวัดจันทบุรี) มีการดำเนินงานด้านการเกษตร ปศุสัตว์การปลูกสวนป่า อาคารประหยัดพลังงาน (เรือนจำดิน) ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานก๊าซชีวภาพ โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาคารศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ จังหวัดตราด
ทัณฑสถานเกษตรอุตสาหกรรมเขาพริก
โรงเลี้ยงแพะ ทัณฑสถานเกษตรอุตสาหกรรมเขาพริก
หมู่บ้านข้าราชการเศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำอำเภอสีคิ้ว
เจ้าหน้าที่เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง กับแนวคิดเรือนจำสีเขียว (Green Prison) ที่ผู้เขียนนำเสนอผ่านวารสารยุติธรรม และ วารสารราชทัณฑ์
โดยสรุป
การดำเนินงานของเรือนจำในประเทศไทย ได้มีการนำแนวคิด ทางสายกลาง ความพอประมาณ พออยู่ พอกิน มั่นคง ยั่งยืน โดยมีเงื่อนไขด้านความรู้ และ คุณธรรม ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ อยู่โดยทั่วไป เช่น การดำเนินงานด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การปลูกสวนป่า อาคารประหยัดพลังงาน (เรือนจำดิน) ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานก๊าซชีวภาพ ดังตัวอย่างรายงานการวิจัยจากเรือนจำ / ทัณฑสถาน จำนวน ๑๑ แห่ง ดังกล่าว จึงอาจกล่าวได้ว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวคิด ทฤษฎี และ ปรัชญาการดำเนินงานที่สำคัญประการหนึ่งของเรือนจำไทย
......................
...พอเพียง คือชีวี มีสติ
ธรรมะผลิ ทุกกาล ทุกสถาน
ต่อตนเอง ผู้อื่น ด้วยชื่นบาน
ปฏิบัติ รับ-เจือจาน อย่างสมควร
...แต่อย่า อย่าลืม เหล่าเพื่อนผอง
จมทุกข์กอง ห่างเพียงพอ ชีพผันผวน
จน เจ็นจึง หวังใจ เพี่อนทั้งมวล
รีบรีบด่วน รักแบ่งปัน กันและกัน
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ดร.ขจิต ผมเองไปมาแล้วสองครั้งครับ ความจริงที่เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง ผมเคยเสนอให้จัดตั้งเป็น เรือนจำสีเขียว แห่งแรกของประเทศไทย โมเดล เรือนจำอาคารประหยัดพลังงานและ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน (โมเดล เรือนจำดิน และ โมเดล เรือนจำสวนป่า ที่ใหญ่ที่สุดในโลก) ในงานวิจัยเรื่อง ตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย น่ะครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์ share (สมบัติ สุวรรณกยะวิทย์) ที่สนับสนุนแนวคิดชีวิตพอเพียงด้วยบทกลอนที่ไพเราะกินใจน่ะครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ดร.ขจิต ผมเองไปมาแล้วสองครั้งครับ ความจริงที่เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง ผมเคยเสนอให้จัดตั้งเป็น เรือนจำสีเขียว โมเดล เรือนจำอาคารประหยัดพลังงาน และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน (โมเดล เรือนจำดิน และ เรือนจำสวนป่าสะเดาที่ใหญ่ที่สุดในโลก) ไว้ในงานวิจัย เรื่อง ตัวแบบเรือนจำสีเขียวที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย น่ะครับ
ขอบคุณมากครับอาจารย์ wuthisak kouy srisamamoung
ขอบคุณมากครับอาจารย์ มะเดื่อ (madaow ma da pongtong)