Kaset Thai Q Volunteer (1) พื้นที่อำเภอท่ามะกา


Kaset Thai Q Volunteer​ ทีมงานจิตอาสาทางการเกษตร

เช้าวันนี้ผู้เขียนตามไปช่วยงานคุณสามารถ เศรษฐวิทยา ของศูนย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นงาน Open Farm ให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านการปลูกมะกรูด มะนาว แต่ครั้งนี้ไปเรื่องการปลูกมะกรูด ทีมงานทั้งหมดมาด้วยจิตอาสา เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกผู้ปลูกมะนาว มะกรูดที่มาอบรมกับ รศ. ดร. รวี เสรฐภักดี ต้องการร่วมกับทำความดีเพื่อสังคมจึงเกิดกลุ่ม Kaset Thai Q Volunteer หรือภาษาไทยเรียกว่า เกษตรไท Q อาสา ขึ้น คำว่าไท ผู้เขียนไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ ชื่อกลุ่มมีความหมายแบบคำว่า ไท จริงๆ

ก่อนไปแวะที่ศูนย์ไม้ผลฯก่อน คุณสามารถแนะนำต้นไม้หายากให้ดู เลยเอามาทายสมาชิกว่าต้นอะไร แล้วจะมาเฉลยหลังจากที่อ่านเรื่องนี้จบนะครับ ใบ้ว่าเป็นไม้ยืนต้น ต้นเป็นพุ่มสวยเลยเป็นไม้เนื้อแข็ง เอามาทำเครื่องดนตรีไทยได้ ต้นอะไรนะ...

ผู้เขียนและทีมงานของKaset Thai Q Volunteer เดินทางไปที่ สวนมะกรูดของคุณเทิดพงษ์ ผิวงาม เกษตรกรของหมู่ 5 ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ผู้เขียนมีหน้าที่ตรวจดินให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีน้องยุวเกษตรมาช่วยอย่างเต็มที่ น้องๆหลายคนเรียนอยู่โรงเรีนกำแพงแสนด้วย ตอนแรกตรวจดินไม่ทัน เพราะบางท่านเอาดินมาหลายประเภทมาก แต่ในที่สุดก็ตรวจทัน ได้ความรู้ว่าดินแถวนี้ค่า Ph ประมาณ 7 เป็นดินด่าง ทีมงานบอกว่าน้ำที่นี่ก็ประมาณ 8 เป็นน้ำด่างด้วย

ผู้เขียนไปช่วยจัดพื้นที่ตอนแรก คิดว่าคนจะมาไม่มากเท่าไร แต่ผิดคาด คนมาจำนวนมาก ตอนแนะนำตัวทีมงานพบว่าแต่ละคนมาจากหลายสถานที่มาก แต่ว่าหลายคนมีพื้นฐานและสนใจเรื่องมะนาวและมะกรูดเป็นพื้นฐานอยู่แล้วหลายท่านอบรมกับ รศ. ดร. รวี เสรฐภักดี หลายครั้ง

ผู้เขียนได้พบพี่ศรีนวล ก้อนศิลาซึ่งเคยทำงานที่ ซีเอ็ดบุค ด้วย ผู้เขียนใช้บริการหนังสือที่ร้านนี้ประจำ นอกจากนี้ผู้เขียนเองกำลังเขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เกมด้วย ตอนแนะนำตัวเองให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทายว่าผู้เขียนเรียนสาขาอะไร บางคนบอกพืชสวน บางคนบอกเคมี 555

อีกท่านหนึ่งที่พบกันนานแล้วคือคุณชาย ท่ายาง (คนใส่หมวกที่กำลังบรรยาย ) คุณชาย ช่วยผู้เขียนถ่ายภาพคุณลุงที่เดินทางมาจากอำเภอหนองหญ้าไซ ของสุพรรณบุรี เข้ามาแล้วหลงทางครับ ติดต่อใครไม่ได้ แต่มาด้วยใจจริงๆ

คุณลุงผู้นี้ตั้งใจมาก มีอะไรพอจดได้จดตลอด ที่เราบอกว่าการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเรื่องจริง อายุไม่ได้มีผลต่อการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับว่าใครเปิดใจในการเรียนรู้มากเท่าไร มีการบรรายภาคทฤษฏีที่ให้ความรู้เกษตรกร นอกจากนี้ยังมีการลงดูแปลงที่ปลูกจริง

ตอนเก็บใบมะนาวที่เป็นแคงเกอร์ และหาใบที่เป็นโรค ได้คำถามมากมายจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เขียนคิดว่าคำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามที่เกษตรกรพบ เป็นคำถามที่สนุกแะได้ความรู้มากเพราะเกิดจากการปฏิบัติ เป็นคำถามที่ถามได้ดีกว่านิสิต นักศึกษา เพราะเกษตรกรประสบปัญหาจากการทำงานจริงๆ

พี่ศรีนวล สัมภาษณ์น้องๆยุวเกษตร

ก่อนจะสิ้นสุดกิจกรรมทีมงานของ Kaset Thai Q Volunteer กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด และถ่ายรูปร่วมกัน ผู้เขียนอยากเห็นกิจกรรมแบบนี้มากๆ เสียดายไม่ได้อยู่สรุปงานกับทีมงาน Kaset Thai Q Volunteer เนื่องจากติดงาน เลยฝากข้อมูลเรื่องการสรุปงานไว้ด้วยว่า อยากให้กำลังใจทีมงานทุกคนที่ช่วยเหลือเกษตรกร พยายามเอาข้อมูลมาแชร์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อย่าเอาข้อมูลมาทำร้ายกัน นอกจากนี้ยังอยากให้ช่วยสรุปการทำงานว่าวันนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง มีปัญหาอะไร และจะนำไปพัฒนางานครั้งต่อไปอย่างไร ในภาษาการจัดการความรู้( Knowledge management) เรียกว่า After Action Review(AAR) เป็นการสะท้อนการทำงาน(Reflection) การทำงานวันนี้ได้ทั้งหมด อีกอย่างหนึ่งที่อยากให้ทำคือตอนมีคนถามคำถามให้มีคนจดไว้แล้วเอาคำถามเหล่านี้มาพิมพ์เผยแพร่ คำถามที่ซ้ำผู้สนใจก็สามารถหาอ่านได้เลย ขอบคุณทีมงานทุกๆท่านมากๆครับ....


ปล เฉลยภาพบนมันคือต้นมะริด ไม้หายากครับ อ่านในนี้ ขอบคุณข้อมูลที่

http://www.thaicentralgarden.com/?page_id=3161

หมายเลขบันทึก: 596679เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2015 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2015 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากครับ อาจารย์โชคดีมาก ๆ ครับ ที่ได้ร่วมงานกับหลาย ๆ ศาสตร์...เพิ่งรู้จัก ต้นมะริด และผลมะริด ด้วยครับ

ดูผ่าน ๆ จากภาพ คล้าย ๆ ละมุดนะน้อง ดร. มันกินได้ไหมเนี่ยะ

ขอบคุณคุณทิมดาบ

พยายามเรียนรู้หลายอย่างเพื่อนำไปใช้กับนักเรียนและชุมชน

ผมก็เพิ่งรู้จักครับ

ขอบคุณพี่ครูมะเดื่อ

คล้ายละมุด

กินได้ครับ แต่ไม่ใช่ละมุด

ลองอ่านใน link ล่างสุดนะครับ

-สวัสดีครับ

-กิจกรรมแบบนี้ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

-การเรียนรู้ก็จะมีมากกว่าการอบรมหรือให้ความรู้แบบเดิมๆ ครับ

-ในฐานะนักส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่คงยังต้องปรับและพยายามในการปรับเปลี่ยนและกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรให้มากขึ้นครับ

-น่าสน ๆ ผลไม้แปลก ๆนะครับ

-ขอบคุณครับ

นับเป็นงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคสนามด้านเกษตรที่น่าสนใจค่ะ...

ขอบคุณมากครับคุณเพชร

มีกิจกรรมหลายอย่างที่นักส่งเสริมฯทำได้ดีอยู่แล้วครับ

ลองปรับกิจกรรมดู

ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่

ได้ช่วยเหลือเกษตรกร

ทีมงานเข้มแข็งมากๆครับ

"...คำถามที่เกษตรกรพบ เป็นคำถามที่สนุกและได้ความรู้มากเพราะเกิดจากการปฏิบัติ เป็นคำถามที่ถามได้ดีกว่านิสิต นักศึกษา เพราะเกษตรกรประสบปัญหาจากการทำงานจริงๆ..."

พี่ชอบประเด็นนี้จริงๆ พี่ว่าเป็นคำถาม และ คำตอบที่มีคุณค่ามากมาก เพราะตรงปัญหา เป็นของจริง

นิสิตนักศึกษาน่าจะได้ความรู้กลับไปเยอะ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากกว่าในห้องเรียน

พี่อยากให้เด็กไทยได้เรียนรู้จาก "ครูจริงๆ" แบบนี้จัง

ขอบคุณพี่นุ้ย

นิสิตเรียนแต่ในชั้นเรียนเรียนบนกระดาน

ไม่ค่อยมีโอกาสออกพื้นที่แบบนี้หรอกครับ

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท