๗. ......๕ ปี..กับ ชยันโตโมเดล


“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม แบ่งปันน้ำใจ ให้ความเป็นกัลยาณมิตร คิดดี ทำดี บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข และมีความสุขกับงาน ตอบแทนคุณแผ่นดิน”

เมื่อผมคิดและตัดสินใจด้วยเหตุและผลแล้วว่า จะอยู่บริหารจัดการในโรงเรียนขนาดเล็ก และตั้งใจจะอยู่บริหารให้นานเท่านาน ด้วยความรู้สึกพอใจมาตั้งแต่ต้น ที่เป็นโรงเรียนพอเหมาะพอดีและอยู่ใกล้บ้าน อยู่ในทำเลที่ดี มีปัจจัยหลายอย่างที่เกื้อหนุนและส่งเสริม..ความพอเพียง..

สิ่งที่ตระหนักได้ทันที ณ เวลานั้น ก็ด้วยเป็นยุคสมัยที่หลายฝ่ายให้การเพิกเฉยต่อการพัฒนาโรงเรียนเล็กๆ ทั้งผู้บริหารและครู...น้อยคนนักที่จะต้องการเริ่มต้นชีวิตการรับราชการครู ในโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้น แต่ผมกลับรู้สึกท้าทาย พึงพอใจและมีความสุข..นับตั้งแต่ก้าวแรก ที่เข้ามา...

มั่นใจกับการใช้คำว่า..เรียนรู้สู้งาน..ใช้การสั่งการน้อยที่สุด เวลาหมดไปกับงานช่วยสอนและสร้างนวัตกรรม..แบบค่อยเป็นค่อยไป..

บันทึกการทำงานอยู่เสมอ ทั้งในส่วนของปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จเล็กๆ ประมวลไว้เพื่อเป็นข้อมูลที่มากพอสำหรับการสร้าง..นวัตกรรมการบริหาร โรงเรียนบ้านหนองผือ ที่ผมให้ชื่อไว้ว่า..ชยันโต..โมเดล.

ชยันต์ มีความหมายว่า..ความสำเร็จ..โต..คือ..ทำสิ่งเล็กๆ ให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานแห่งความพอดี..และพอเพียง ที่ไม่ต้องเบียดเบียนตนเองและใครๆ

๕ ปี..ที่สั่งสมประสบการณ์ ค้นหาหัวใจของการทำงาน ...หัวใจของโมเดล..เริ่มจากวิธีคิด หรือถ้อยคำสำคัญ ดังนี้......

“ธุรการ ONE STOP SERVICE ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล พัฒนางานประกันคุณภาพภายในแบบบูรณาการ ประสานเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน พัฒนาตนและบุคลากร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ผมทำได้จริงๆ มากขึ้นเรื่อยๆ และหวังผลระยะยาว เป็นวิธีการง่ายๆ ใกล้ตัว ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน เป็นงานประจำที่ทำอยู่ เพียงแต่ต้องทำให้จริงจัง อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

ธุรการ ONE STOP SERVICE ..โดยตั้งใจจะอำนวยการ ให้ความสะดวกแก่ครูผู้สอน ลดงานธุรการโรงเรียนลงบ้าง ส่วนธุรการในชั้นเรียน ครูต้องทำเท่าที่จำเป็น ผู้บริหารอย่าคิดงานเพิ่ม เพื่อหวังผลแห่งความเป็นเลิศส่วนตัว อย่าให้ครูทุกข์ระทม จนละทิ้งงานสอน..ในส่วนนี้..ผมจะคิดเสมอว่า บริหารอย่างไร ให้ครูอยู่ห้องสอน..อยู่กับนักเรียนให้มากที่สุด..โดยที่ผมจะกำกับติดตามให้เกิดความคล่องตัว..ฉับไวและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อแรก..ทำได้..การบริหารจัดการข้ออื่นๆจะตามมาอย่างง่ายดาย ...ผมคิด และก็เป็นจริง

ผลสัมฤทธิ์เริ่มที่อนุบาล...ในระดับปฐมวัย ใช่จะเล่นและนอนกลางวันเท่านั้น แต่เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ผมต้องคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขอครูผู้จัดประสบการณ์ว่า.เราเปลี่ยนเป็นเล่นปนเรียนได้ไหม..การอ่านและเขียน นักเรียนต้องมีพื้นฐานที่เข้มแข็งมากพอ เพื่อแก้จุดอ่อนครูไม่ครบชั้น ไม่ทำให้ชั้น ป.๑. ที่รับช่วงต่อ ต้องหนักหนาสาหัสเกินไป...

แล้วผมก็ทำได้..โดยความร่วมมือของครู..และบังเกิดผลชัดเจนในช่วงเวลาต่อมา.. ที่คุณภาพนักเรียนชั้น ป.๓..อ่านคล่องเขียนคล่อง ไม่ต้องห่วงผลสัมฤทธิ์ที่ ป.๖..อีกต่อไปแล้ว

พัฒนางานประกันคุณภาพภายในแบบบูรณาการ..ที่มีหลายมาตรฐาน มากมายด้วยชี้วัด ..ผมทำให้หลายๆกิจกรรม เชื่อมโยงได้หลากหลายมาตรฐาน จึงทำให้งานประกันคุณภาพ ไม่เป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายอีกต่อไป..

ประสานเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน...ทำด้วยความเข้าใจและเข้าถึง โดยต้องเข้าใจเสียก่อนว่า..ถ้าทำให้บุตรหลานของผู้ปกครอง อ่านออกเขียนได้ มีสุขภาพดี จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเรียกความศรัทธา ให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกด้าน และถ้าทำโรงเรียนให้น่าอยู่น่าเรียน ก็จะช่วยให้ผู้นำชุมชนชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน..

โรงเรียนต้องเป็นผู้ให้ และลงทุนก่อน..ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่ประการใด

ท้ายที่สุด...ด้วยแนวคิดและแหล่งเรียนรู้..ที่ดำเนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจแบบพอเพียง ใช้เป็นเครื่องมือหล่อเลี้ยงหัวใจให้ชุ่มเย็น ให้ทำงานในพื้นที่สีเขียวอย่างมีความสงบสุข พัฒนาตน พัฒนางาน เป็นตัวอย่างให้แก่บุคลากร

“...ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม แบ่งปันน้ำใจ ให้ความเป็นกัลยาณมิตร คิดดี ทำดี บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข และมีความสุขกับงานครู ตอบแทนคุณของแผ่นดิน....”

๕ ปี กับ ชยันโตโมเดล.. แม้ว่าจะยังไม่เห็นผลเลิศ แต่ผมก็เชื่อมั่นว่ามาถูกทาง สร้างศรัทธาให้หลายฝ่ายยอมรับได้ ทั้งผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่นและเขตพื้นที่ฯ..มีเค้าลางจากบุคคลภายนอก ทยอยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน เพื่อจะดูว่า..อยู่กันแบบไหน อย่างไร..ถึงมีชื่ออยู่แถวหน้า..ของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘

หมายเลขบันทึก: 596589เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2015 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2015 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับท่าน ผอ.

-ติดตามผลงานของท่านผ่านบันทึกต่าง ๆ แล้วประทับใจมาก ๆ ครับ

-ณ เวลานี้ผมกำลังเรียนรู้เรื่อง "ทำให้ดู อยู่ให้เห็น...บนพื้นที่ไม่มากนัก ครับ

-เป็นกำลังใจให้นะครับ

เรื่องนี้ ขอคิดด้วยคน

การเป็นบทเรียนได้ควรมีข้อมูลต่อไปนี้

1. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ คือ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม, มีปัจจัยหลายอย่างที่เกื้อหนุน/ส่งเสริมความพอเพียง, บันทึกปัญหา/อุปสรรค และความสำเร็จเป็นข้อมูลวางแผน,

สร้างศรัทธาให้หลายฝ่ายยอมรับ คือ ผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น เขตพื้นที่ บุคคลภายนอก ข้อมูลใหม่ในรูปนวัตกรรม คือ ชยันโตโมเดล

และข้อมูลใหม่สามารถนำไปใช้ปฎิบัติได้จริง

2. ที่ควรมีให้เกิดความน่าเชื่อถือ คือ. กระบวนการถอดบทเรียนและความคิดเห็นของผู้ร่วมกระบวนการว่า "รู้อะไรบ้า


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท