อ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ กล่าวตอนท้ายว่า “ถ้าเรามี All For One และมี One For All เราก็จะมีวันนั้น วันที่เรารอคอย”
(ต่อจากตอนที่แล้ว)
ลำดับถัดมาเป็นเรื่อง
เส้นทางสู่สากล :
Go Inter มุมมอง Global เราจะไป global
ได้อย่างไร
ซึ่งเป็นการบรรยายร่วมกับอภิปราย โดย รศ.นพ.สุพัชญ์
สีนะวัฒน์
(รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ) ศ.ผิวพรรณ
มาลีวงษ์
(รองคณบดีฝ่ายวิจัย) และ Miss Karen Gail (งานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณบดี)
ดำเนินรายการและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ โดย
รศ.กมลวรรณ เจนวิถีสุข
(ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ)
จากแผนปฏิบัติการของคณะแพทยศาสตร์ มข.
ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่
3 ความเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับนานาชาติ
(Go International)
ที่มีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่ว่า 1) ขยายการบริการระดับนานาชาติ (Expand International Service) 2) เพิ่มความร่วมมือกับนานาชาติ (Enhance International
Collaboration) 3) สร้างสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นนานาชาติ
(International Facility & Climate) และ 4) ยกระดับเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับนานาชาติ (Better International
Ranking)
มีมุมมองของฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และฝ่ายวิจัยในบทบาทที่สนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์คร่าวๆ
ดังนี้
สรุปประเด็นจาก รศ.นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ (รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ)ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ โดย
- ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการประชาสัมพันธ์งานคณะแพทย์ มข. ออกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ชาวต่างชาติสนใจและเข้ามาศึกษาในสถาบัน ที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงสะท้อนแล้วนำมาปรับปรุง อาทิเช่น มีการปรับปรุงหอพักนักศึกษา นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างผลงานเพื่อนำเสนอในระดับนานาชาติอีกด้วย
- ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ขอความร่วมมือบุคลากรในคณะแพทย์ทุกท่าน ในการให้การต้อนรับนักศึกษาต่างชาติหากพบเห็นด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใส และกล่าวคำทักทาย (keep a big smile and say hello) ให้คิดว่าเป็น “ลูก-หลาน”
- จากการที่ฝ่ายการพยาบาลจัดให้มี international short course training มองว่าในอนาคตจะเปิดรับพยาบาลต่างชาติมาฝึกได้
- มีการลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษา จึงเชิญชวนบุคลากรผู้สนใจร่วมเป็น Host Family โดยสามารถแจ้งความจำนงได้ที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
- จากวิสัยทัศน์คณะแพทยศาสตร์ มข. ที่จะเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับโลกที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยและมวลมนุษยชาตินั้น ในปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มข. ติดอยู่ในอันดับหนึ่งในสี่ร้อยของโลกอยู่แล้ว และโดยภาพรวมในสถานะปัจจุบันถือว่าดีมาก สิ่งที่คณะฯ กำลังเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาแบบก้าวกระโดด
อ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ กล่าวตอนท้ายว่า “ถ้าเรามี All For One และมี One For All เราก็จะมีวันนั้น วันที่เรารอคอย”
ลำดับถัดมา อ. Karen Gail อาจารย์ที่ปรึกษาภาษาอังกฤษ งานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณบดี เล่าประสบการณ์การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่มีมานาน ว่าอาจารย์จะใช้ภาษาไทยตลอดการบรรยาย เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้อาจารย์กล้าที่จะพูดภาษาไทยแม้จะผิดบ่อยครั้งก็จะไม่อายจึงขอเชิญชวนให้พวกเราอย่าอายที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ “ฝรั่งจะยินดีมากถ้าคุณจะทักทาย” และเพื่อการ “ก้าวสู่ Inter” ได้อย่างสมภาคภูมิ จึงอยากให้เข้าใจวัฒนธรรมชาวตะวันตก (อาจารย์ใช้คำว่า “ฝรั่ง” แทนบ่อยๆ) ในบางประเด็นที่พบเห็นเพื่อการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น
- ชาวตะวันตกมีความคิดแบบ independent คือเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ขึ้นกับใคร จึงชอบการพูดตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม และไม่กลัวปัญหา
- อย่าละเลยการพูดโต้ตอบด้วย อาจารย์ใช้ประโยคที่ว่า “นั่นถือว่าไม่สุภาพที่สุดในโลก... ถ้าเราไม่พูดกับฝรั่งถือว่า ไม่มีมารยาทอย่างมาก เช่น การคุยโทรศัพท์ หรือพูดคุยกันเอง”
- เราต้องไม่ทะเลาะกับผู้ป่วย
- บ่อยครั้งที่อาจารย์คาเรนเข้าไปช่วยพูดคุยกับผู้ป่วยชาวต่างชาติ ก็อยากให้พยาบาลพูดคุยกับอาจารย์ด้วย “ไม่ต้องกลัวเสียหน้า”
- ชาวตะวันตกชอบการเปิดเผย และแก้ปัญหา จึงอยากได้ข้อมูลดังนั้น ต้องให้ข้อมูลการรักษาและแผนการรักษาแก่ผู้ป่วย การให้ข้อมูลว่า “รอสังเกตอาการ” ไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าจะแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างไร
- ผู้ป่วยต้องการเวลาและข้อมูล ชาวตะวันตกต้องการข้อมูลที่ครอบคลุม ครบถ้วนว่า ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร และ ทำไม
- การพูดคุยกับผู้ป่วยต้องพูดคุยโดยตรงกับผู้ป่วย มิใช่การพูดคุยกับสามี/ภรรยาของผู้ป่วย
- ถ้าฝรั่งถามว่า “Where is the doctor?” พยาบาลตอบว่า “หมอไม่อยู่” พยาบาลหมายถึง หมอไม่ออกตรวจ OPD แต่ผู้ป่วยเข้าใจว่า หมอลา ไม่มา รพ.เลย ดังนั้น ควรระมัดระวังคำพูดบางคำ ที่ให้ความหมายไม่ตรงกัน
- “...เราพูดอะไร หรือสัญญาอะไรไว้ จงรักษาสัญญา เพราะฝรั่งจะไม่ลืม” ชาวตะวันตกจะรักษาสัญญามาก เขาจะจำทุกคำพูดที่เราพูด ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการสัญญา
- การตัดสินใจทำหัตถการ ชาวตะวันตกจะตัดสินใจพร้อมแพทย์ เขาต้องรับทราบข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และสิ่งที่ต้องเผชิญหลังการรักษา เราต้องให้ข้อมูลและอธิบายให้ทราบ และแม้หากมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาก็ต้องแจ้งให้ทราบ
- ถ้าเราจะ Go Inter และจะมี Medical Hub ทุกอย่างต้องเป็นสากล คือต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร ในปัจจุบันยังพบว่ามีหลายเรื่องที่ต้องปรับ เช่น ซองยา ใบลงนามรับทราบข้อมูล ใบอนุญาต/ยินยอมทำหัตถการ และใบให้คำแนะนำ/การปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ใช้อยู๋ยังใช้เฉพาะภาษาไทย ที่ไม่สามารถสื่อสารให้ชาวตะวันตกเข้าใจได้ เพราะเขาอ่านไม่ออก ทำให้เขาไม่เข้าใจ อ.คาเรนกล่าวว่า “...ไม่ยุติธรรมสำหรับชาวตะวันตก…”
- กรณีแพทย์นัดมา admit และต้องจองห้องพิเศษล่วงหน้า ต้องแจ้งผู้ป่วยให้รับทราบชัดเจนว่า ต้องจัดเตรียมเครื่องใช้อะไรมาบ้าง เพราะ รพ.เราไม่ได้จัดไว้ให้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งห้องพักทั่วไปจะมีการจัดของใช้พื้นฐานไว้ครบ
- กรณีนัดมาเจาะเลือดก็ต้องอธิบายรายละเอียดการปฏิบัติตัวให้ทราบ รวมถึงขั้นตอนการไปเจาะเลือด
- ยังพบว่าไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟที่ชัดเจนในบริเวณห้องพักผู้ป่วย
- รพ. มีพื้นที่กว้างขวางมาก แต่ขาดแผนที่บอกเส้นทาง ควรมีการจัดทำหรือทำเป็นแผ่นกระดาษบอกเส้นทางเป็นภาษาอังกฤษ
อ.คาเรน สะท้อนภาพปัจจุบันบางส่วนได้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ชาวโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ควรเร่งดำเนินการหากมุ่งมั่นจะ “Go Inter”
ในด้านฝ่ายวิจัย อ.ศ. ผิวพรรณ มาลีวงษ์ (รองคณบดีฝ่ายวิจัย) กล่าวถึง เทคนิคการสร้างงาน และนำผลงานด้านวิจัยสู่การ Go Inter ว่า
สายอาจารย์
- ควรมีผลงานระดับนานาชาติ มีค่า impact factor และ citation ที่ได้รับการยอมรับ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรระดับประเทศ เป็น chairman ในการประชุมวิชาการระดับประเทศ เป็น reviewer ในการตรวจประเมิน อ่าน manuscript ในสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียง มีผลงานระดับโลก มีฐานข้อมูลของอาจารย์ในเว็บไซต์ เป็นต้น
- ควรสร้างผลงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ สร้างนวัตกรรม ผลงาน หรือมีความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับระดับโลก การสร้างงานวิจัยในรูปแบบ R2R (Routine to Research) ที่นำความรู้ไปต่อยอดเป็นความสำเร็จระดับต้น
- ควรนำเสนอผลงานเป็น oral presentation
- นโยบายรัฐบาลเน้นงานวิจัยที่เอามาใช้ประโยชน์ได้ ขายได้ อาทิเช่น medical device หรืออาหารสุขภาพ
- มีข้อเสนอแนะว่า ลักษณะผลงานที่เป็นเครื่องมือแพทย์ (medical device) จะมี impact สูง
- มีทุนสนับสนุนการทำงานวิจัย
- ช่วงนี้มีนักศึกษาต่างชาติเรียน ป.เอกที่พูดไทยได้มาทำงานที่ฝ่ายวิจัย สามารถติดต่อได้
สายสนับสนุน
- ควรสร้างผลงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ สร้างนวัตกรรม ผลงาน หรือมีความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับระดับโลก การสร้างงานวิจัยในรูปแบบ R2R (Routine to Research) ที่นำความรู้ไปต่อยอดเป็นความสำเร็จระดับต้น
- ควรนำเสนอผลงานเป็น oral presentation
- นโยบายรัฐบาลเน้นงานวิจัยที่เอามาใช้ประโยชน์ได้ ขายได้ อาทิเช่น medical device หรืออาหารสุขภาพ
- มีข้อเสนอแนะว่า ลักษณะผลงานที่เป็นเครื่องมือแพทย์ (medical device) จะมี impact สูง
- มีทุนสนับสนุนการทำงานวิจัย ช่วงนี้มีนักศึกษาต่างชาติเรียน ป.เอกที่พูดไทยได้มาทำงานที่ฝ่ายวิจัย สามารถติดต่อได้
โดยภาพรวม หากเราต้องการสร้างงานวิจัยสู่ inter และมีปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถใช้บริการของฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ได้ อุปสรรคของการใช้ภาษาอังกฤษ คือความกลัว กลัวพูดผิด กลัวเสียหน้า เราต้องข้ามความกลัวไปให้ได้
และแม้ว่าเราจะมีตัวช่วยเรื่องภาษาอังกฤษอยู่มากมาย และอาจารย์ทุกท่านยินดีที่จะช่วยเหลือ แต่ที่สำคัญ อ.คาเรน กล่าวว่า อยากให้เราพยายามด้วยตนเองก่อนแล้วจึงให้อาจารย์แก้ไข
ต่อจากยุทธศาสตร์ Go International ที่ได้ถูกนำมาเล่าในภาคเช้า ภาคบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่มตามยุทธศาสตร์อีก 3 ยุทธศาสตร์ โดยมีรายละเอียดในกำหนดการ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 Go Premium: สุดยอดหัวใจบริการ
วิทยากร ผศ.นพ.เสริมศักดิ์ สุมานนท์ รองคณบดีฝ่ายศูนย์กลางบริการสุขภาพ
คุณเตือนใจ พิทยาวัฒนชัย พยาบาลชำนาญการพิเศษ
คุณรื่นฤดี แก่นนาค พยาบาลชำนาญการพิเศษ
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.นพ.เสริมศักดิ์ สุมานนท์ รองคณบดีฝ่ายศูนย์กลางบริการสุขภาพ
Note Taker คุณศิวาพร ขวัญเสน่ห์ , คุณภัคณัณท์ อุสันเทียะ
สถานที่ ห้องประชุมมิตรภาพ
กลุ่มที่ 2 Go Professional: ทำงานอย่างไรเรียกว่า “มืออาชีพ”
วิทยากร รศ.นพ.พิศาล ไม้เรียง ภาควิชาอายุรศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ นางคำหยาด ไพรี พยาบาลชำนาญการ
Note Taker คุณนุชจรีย์ หอมนาน
สถานที่ ห้องประชุมหนองแวง
และ
กลุ่มที่ 3 Go Innovation : IT For Smart Campus & Srinagarind IT
วิทยากร ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร
นพ.ชวกิจ ภูมิบุญชู รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
รศ.ชลธิป พงศ์สกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์
รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ภาควิชาอายุรศาสตร์
ผู้ดำเนินรายการ นางกาญจนศรี สิงห์ภู่ หัวหน้างานเวชกรรมสังคม
การถอดบทเรียนแต่ละกลุ่มกระทำโดย Note Taker ของแต่ละกลุ่มซึ่งมิได้นำมาเล่าในโอกาสนี้ค่ะ