ข้อพึงระวังในการใช้คำนำหน้าชื่อในหนังสือราชการฯ


มัย ตะติยะ (๒๕๕๗) กล่าวถึงข้อห้าม หรือ ข้อพึงระวังในการใช้คำนำหน้านาม หรือ คำหน้าชื่อ
ในหนังสือราชการ เอกสารราชการ หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นทางการ ดังนี้


๑. งดใช้คำย่อ อักษรย่อ หรือตัวย่อ เช่น

ผู้ว่าราชการจังหวัด - ผวจ.
นายแพทย์ - นพ.
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ - รศ. ม.ร.ว.

ให้ใช้คำเต็มเท่านั้น


๒. งดใช้คำ ฯพณฯ (พะ-นะ-ท่าน)
เพราะมีข้อกำหนดให้เลิกใช้ไปแล้ว
ยกเว้นใช้ในการพูดเพื่อให้เกียรติสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในตำแหน่งตามที่กำหนดให้มีสิทธิใช้
รวมถึงเอกอัครราชทูต หรือใช้ในกิจการต่างประเทศ


๓. งดใช้คำนำนามที่เป็นคำแสดงถึงวิชาชีพหรืออาชีพ เช่น
นายแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ครู ทนาย โหร ฯลฯ


๔. งดใช้คำว่า ดร. (ดอกเตอร์) นำหน้า
เพราะเป็นคำที่แสดงคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเท่านั้น
ไม่ใช่คำนำหน้านามหรือคำนำหน้าชื่อที่ใช้ในราชการ

อนึ่ง การใช้คำว่า ดร. สามารถใช้ได้ในการเรียกขานเพื่อให้เกียรติหรือใช้ในเอกสารอื่นที่ไม่เป็นทางการได้
โดยมากพบในแวดวงวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ ดร.สุจริต เพียรชอบ

หากจะใช้ในหนังสือราชการ เช่น การลงนามท้ายหนังสือ จะใช้คำว่า ศาสตราจารย์ สุจริต เพียรชอบ เท่านั้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เคยมีหนังสือแจ้งเวียนเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ทั้งยังกำชับให้ใช้คำว่า ดร. เฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) โดยตรง
โดยงดใช้กับผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ ระดับปริญญาดุษฏีบัณฑิต


๕. กรณีที่ผู้ใช้มีคำนำหน้านามหลายอย่างให้เรียงลำดับ
โดยเริ่มจาก ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ และฐานันดรศักดิ์ ตามลำดับ

อาทิ

ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

เป็นต้น


..............................................................................................................................................


เคยมีคนถาม แต่ไม่แม่นในระเบียบพอ
วันนี้เจอแหล่งอ้างอิงแล้ว
จึงนำมาบันทึกเก็บไว้ใช้งานต่อไป

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


..............................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง

มัย ตะติยะ. ศาสตร์ + ศิลป์ การเขียนผลงานวิชาการ (ฉบับเต็มร้อย).
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

หมายเลขบันทึก: 596082เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2015 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Thank you.

I guess the best reference would be a government/department guideline/manual not a second-remote discernment from an expert. But when government/department can't bother to promote and enforce their guideline/manual, then we can only rely on experts (who know).

Lack of serious government/departments promotion and enforcement of 'guidelines and manuals' is one BIG factor in consistency, corruption and other inefficiencies in goverment. Reform must include rigorous application of guidelines and manuals for operations. ;-)

พี่ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม...เผื่อมีประโยชน์...หากตามระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ไม่ได้กำหนดตำแหน่งอาจารย์ อยู่ในตำแหน่งทางวิชาการ...แต่จะมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ เท่านั้น (กรณีที่จบปริญญาเอก) จึงไม่สามารถใช้คำว่า อาจารย์ ดร.ได้...แต่ในปัจจุบัน พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กำหนดให้ตำแหน่งวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ (กรณีจบปริญญาเอก) สามารถใช้ อาจารย์ ดร. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รองศาสตราจารย์ ดร. และศาสตราจารย์ ดร. ได้...เพราะสมัยก่อนตำแหน่งอาจารย์ไม่ใช่ตำแหน่งวิชาการ จึงยึดถือตามระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526...แต่พอมาทำระเบียบ ใหม่ตามข้างต้น กำหนดให้ตำแหน่งอาจารย์มาอยู่ในความหมายของตำแหน่งวิชาการ จึงเป็นที่มาที่มหาวิทยาลัย จะกำหนดให้ใช้คำว่า อาจารย์ ดร. (หากจบปริญญาเอกตรง)...ถามว่าผิดไหม? ไม่น่าผิด เพราะตีความจากกฎหมายคนละฉบับ...ซึ่งเป็นข้อแย้งกันกับบุคลากรในมหาวิทยาลัยว่า ทำไมบางคนบอกว่าใช้ได้ บางคนบอกว่าใช้ไม่ได้...เนื่องจาก พรบ. ขัดแย้งกันค่ะ...ให้ข้อมูลไว้ เผื่อมีประโยชน์ค่ะ

เห็นด้วยตามที่ท่าน sr ว่าครับ ...
เราดูละเลยและไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควรกัน ;)...

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากครับ พี่ บุษยมาศ ;)...

กฎหมายที่เกี่ยวข้องน่าจะมี

* ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พุทธศักราช ๒๕๒๖
* ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้า พุทธศักราช ๒๕๓๖

ขอบคุณมากคครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท