มคอ. วัดค่าอะไร ในอุดม...ศึกษาไทย ฯ


มคอ. ใน ม. ค. อ.
ม. มหาวิทยาลัย ไม่รู้มีอะไร
ค. ความรู้ ใคร ใคร่รู้จึงสู่หา
อ. อาจารย์ หมั่นเขียน ดุจตำรา

มคอ. วัดค่าอะไร ในอุดม...ศึกษาไทย ฯ

(ภาพ : กองสื่อสารองค์กร มข.)

วานก่อนไปประชุมร่วมกับศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย กทม. พบอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อาจารย์สอนสาขาการตลาด เราเลยได้นั่งสนทนากันหลังประชุมเสร็จ คุยเรื่องที่มาประชุม เรื่องจะส่งโครงงานของนักศึกษาเข้าประกวด และก็ล่วงเลยไปถึงเรื่อง มคอ.

บทสนทนาของคนในอุดมศึกษา เรื่องหนึ่งที่หนีไม่พ้อน โดยเฉพาะอาจารย์ที่ต้องดูแลหลักสูตร/รายวิชา คือ มคอ.

หนึ่งปีให้หลัง จะสังเกตเห็นได้ว่า อาจารย์หลายๆท่าน กำลัง “บ่น” เพราะ “ทน” ทำเอกสาร “มคอ.” ที่ดูจะเป็น “ภาระ” ที่นอกเหนือจาก “ภาระงาน” สอน/วิจัย/บริการวิชาการ และ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม


(ภาพ : งานวินัยนักศึกษา มข.)


มีหลายท่านไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ จึงอาจตก “เทรน” เพราะอาจไม่ได้เข้าใจว่า “มคอ.” ทรงอำนาจเพียงใด ต่ออุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน

จะว่าไปแล้ว ผมก็สัมผัสเพียงผิวเผิน ไม่มากมายอะไร จึงถือว่าโดนฤทธิ์ยาแบบเบาบาง แต่อาจารย์หลายท่านเจอฤทธิ์ยาขนานหนัก แม้จะเป็นยาหวานหรือขม ก็ออกออกฤทธิ์รุนแรงเหมือนกัน ก็ได้แต่ส่งกำลังใจให้กันและกัน เพราะเลี่ยงไม่ได้ เป็นข้อกำหนดว่าต้องทำ

“มคอ.” จริงๆ ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีดีอะไรซ่อนอยู่ในกอไผ่ ไม่แน่ใจว่ามีคน “ถอดบทเรียน” จาก “มคอ.” บ้างหรือยัง ฝ่าย “สั่งการ” ที่เป็น “เจ้าภาพ” หลัก ได้ประเมินหรือยังว่า “มอค.” ส่งผลดีมากน้อยเพียงใด แต่ที่แน่ๆ แม้ไม่ได้มีอะไรอ้างอิงในเชิงวิชาการ แต่ในเชิงพฤติกรรมก็จะเห็นได้ชัดว่า “อาจารย์” หลายท่านที่จำเป็นต้องเอา “ขา” ลงแช่ในอ่าง “มคอ.” หลายคนก็ไม่ค่อยชอบหรือพอใจในกระบวนการหรือ Process ของ “มคอ.” ยาหม้อใหญ่เท่าใดนัก

แต่ “มอค.” จะเป็นอย่างไรก็ตามทีเถอะ พวกเราในฐานะคนอุดมศึกษา ก็คงต้องทำหน้าที่ต่อไปทั้ง สอน/วิจัย/บริการวิชาการ/ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ มอค. ต่อไป มคอ. คงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุดมศึกษา เพราะหน้าที่หลักๆคือ “สอน”หรือสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” เพื่อให้นักศึกษา “เรียน” และ “รู้” ให้มาก


เพราะต้อง “ปรับ” วิธีการให้ห้องเรียนของนักศึกษากว้างขึ้น มีลูกเล่นมากขึ้น ให้เหมาะกับเด็ก Gen Z ที่สมาธิสั้น สนใจอะไรได้ไม่นาน หรือการสอนแบบ “ปิ้งแผ่นใส” อาจใช้ได้แต่กระบวนการเรียนรู้จะลดประสิทธิภาพลง “สไลด์บรรยาย” แบบดั้งเดิม จะด้อยค่า หากมีแต่ตัวหนังสือหรือทฤษฎี “สไลด์บรรยาย” แบบว่างเปล่าที่ให้ “ผู้เรียน” เป็นผู้เติมตัวหนังสือหรือแนวคิดลงไป อาจเป็นสีสันในการเรียนมากขึ้นก็ได้

ส่งกำลังใจให้ใครๆที่มีโอกาสก้าวขาเข้าไปใน มคอ. ครับ
8 ต.ค. 58

มคอ. = กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF: HEd)

(ภาพ : TQF จาก http://www.ar.mahidol.ac.th/th/index.php/staff/29-la)

คำสำคัญ (Tags): #มคอ.#เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 595992เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มคอ.1 ที่ถูกกำหนดมาจาก สกอ.
สร้างปัญหาชัดเจนหนึ่งข้อให้คณะผลิตครู
คือ เราเปิดหลักสูตรไม่ได้
หากไม่มี มคอ.1 รองรับ

เวรกรรรมจาก มคอ. ;(...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท