Driving Rehabilitation in Stroke by Occupational therapist


ขอบคุณพี่นักกิจกรรมบำบัด ร.พ.ดอนตูม

ที่ให้โอกาสได้ไปศึกษาและสังเกตขณะทำการฝึกขับรถในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกซ้ายที่มีอาการเกร็งของแขนด้านซ้าย

ซึ่งก่อนหน้านี้มีการบำบัดในด้านต่างๆจนผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองและ ในการฝึกขับรถนี้เป็นความต้องการส่วนตัวของผู้รับบริการที่อยากจะสามารถกลับมาขับรถได้ด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง นักกิจกรรมบำบัดได้ใช้เทคนิคต่างๆ เช่น

  • การเตรียมกล้ามเนื้อของไหล่และแขน โดยการฝึกลมหายใจสัมพันธ์กับการจดจ่อบริเวณกล้ามเนื้อ (เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็ง)
  • การวางตำแหน่งแขนและมือที่สะดวกและเหมาะสมกับผู้รับบริการมากที่สุดในการจับประคองพวงมาลัย (เพื่อให้ได้ท่าที่มีความทนทานและลดอาการเกร็งขณะขับรถ)

ซึ่งการบำบัดฟื้นฟูนี้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและผู้บำบัดทั้งในเรื่องเป้าประสงค์และวิธีการต่างๆขณะบำบัด

ผลที่ได้หลังจากการบำบัดคือ

  • ผู้รับบริการสามารถรับรู้ระยะเวลาในการจับประคองตำแหน่งของพวงมาลัยได้เมื่อเกิดอาการเกร็ง (กล้ามเนื้อเกิดความล้า) จะเปลี่ยนตำแหน่งแขนและมือหรือเปลี่ยนท่าจับพวงมาลัยเองได้
  • ผู้รับบริการมีความคล่องแคล่วในการหมุนพวงมาลัยมากขึ้น
  • ผู้รับบริการมีความมั่นใจในการขับรถ
  • ผู้รับบริการรู้วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยงในขณะขับรถ

หมายเลขบันทึก: 595989เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2015 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท