กลไกการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ที่ มมส.


มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ @มมส.

กลไกการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ที่ มมส.

วันนี้ 2 ตุลาคม 2558 มข. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

ในการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคามสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ กลไกการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) โดย รศ.ดร.ประยุกต์ รองธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ฯมมส. เล่าเพื่อ ลปรร. ว่า จากการเริ่มดำเนินการมีกระบวนการอะไรบ้าง เช่น การนำเรื่อง มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เข้าที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อขอความเห็นชอบ กำหนดเป็นนโยบายของ มมส. เพื่อให้ทุกคณะ/หน่วยงานร่วมดำเนินการ จากนั้นมีกิจกรรม kick of เพื่อเป็นการเปิดตัวโครงการและร่วมทำพิธีเชิงสัญลักษณ์ เพื่อรับมอพันธกิจและสัตยาบรรณให้ทุกคณะ/หน่วยงาน ดำเนินการภายใต้กรอบการดำเนินการร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานไปสู่เป้าหมาย การมอบหมายให้ดำเนินการตามกรอบที่วางร่วมกัน ตามข้อกำหนดของเครือข่ายฯ ที่จะผันตัวเองไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ การสอดแทรก/รณรงค์ร่วมกับกองกิจการนิสิต และองค์กรนิสิต (องค์การนิสิตและสภานิสิต) สร้างการมีส่วนร่วม และดำเนินการตามเงื่อนไขตาม พรบ./กฎหมาย เช่น การกำหนดให้ทุกอาคารเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ การกำหนดจุดอนุญาตให้สูบบุหรี่ตามสถานที่ต่างๆ การตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน กลไกการมีส่วนร่วม รวมถึงการกำหนดนโยบายจากผู้บริหารของ มมส. จึงทำให้การขับเคลื่อนเริ่มเห็นผลมาโดยลำดับ

นายกองค์การนิสิต นำเสนอสั้นๆว่า กิจกรรมนิสิต มีการสอดแทรกและทำความเข้าใจร่วมกันว่า มมส. เป็นมหาวิทยาลัยปลอดเหล้า บุหรี่และอบายมุข ทุกๆกิจกรรมจึงปลอดสิ่งเหล่านี้ และถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้พันธกิจสำเร็จ

เสียงจากเครือข่ายสถาบันต่างๆ ณ วันนี้ เสมือนยังขับเคลื่อนไม่มาก มีการดำเนินการอยู่บ้าง ยังไม่เข้มข้น ส่วนเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ ก็ ลปรร. ถึงการดำเนินการที่ ม.มหิดล และ ม.รังสิต ความสำเร็จและกลไกการดำเนินงานในห้วงที่ผ่านมา และการก้าวต่อไปทั้งของเครือข่ายและทุกๆสถาบันภาคี

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มมส. เล่าถึง ประสบการณ์ในครั้งทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ มข. ถึงกลไกแห่งความสำเร็จที่เคยทำไว้

ถอดบทเรียนจากการนั่งฟัง (คหสต.)

การทำงานในลักษณะนี้ เป็น Project พิเศษ นอกเหนือจากงานประจำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน เช่น กองกิจการนักศึกษา / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ภายในมหาวิทยาลัย จะขับเคลื่อนเองไม่ได้ จำเป็นจะต้องได้รับการส่ง/มอบ "นโยบาย" จากผู้บริหารระดับสูง และอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมจากภาคีภายในในการขับเคลื่อน เพื่อ "ทำ" ร่วมกัน เป็นการใช้วิธีการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร "นโยบาย" จากหน่วยเหนือ จึงสำคัญ ส่วน "มดงาน" ก็ให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง อย่าง กองกิจการนักศึกษา/คณะแพทยศาสตร์/คณะเภสัชศาสตร์/โรงพยาบาล/องค์กรกิจกรรมนักศึกษา เป็นกลไกขับเคลื่อนกิจกรรม/งาน เพื่อทำให้เป้าหมาย(นโยบาย) สำเร็จ แม้จะไม่สำเร็จในเร็ววันหรือเห็นผลแบบหน้ามือหลังมือ แต่อย่างน้อยๆก็มีพลัง/ทรงพลัง มากและน่าจะเป็นกลไกที่น่าจะนำไปสู่ "ผลสัมฤทธิ์" ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ


ลปรร. ที่ มมส.

บันทึกเพื่อถักทอที่ มอดินแดง

2-3 ตุลาคม 2558

หมายเลขบันทึก: 595710เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2015 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2015 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท