จิตศาสตร์คุก


ความต้องการขั้นพื้นฐานทางจิตศาสตร์ของนักโทษ (Psychobiological)​ ได้แก่ ความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิต ความต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่มและความรัก การเห็นคุณค่าในตนเอง และ การกลับใจ เป็นต้น โดยมีปัจจัย prisonisation ที่ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงกลายเป็นการเลียนแบบ หรือ กลไกทางจิต (ideologisation) และ วัฒนธรรมคุก (Prison Culture) หรือ วัฒนธรรมโจร (argot) รวมตลอดถึงการสำนึกผิดและการกลับใจ (Rationalisation) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความต้องการทางจิตศาสตร์ของนักโทษ ...........................

จิตศาสตร์คุก


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์


จิตศาสตร์คุก (Prison parapsychology) หรือ และ (Psychobiological) ที่นำเสนอในบทความนี้ เนื้อหาจากรายงานวิจัย เรื่อง การจำคุกและอิทธิพลที่มีต่อความต้องการทางจิตศาสตร์ (Imprisonment and its Influence on Psychobiological Needs) บทความจากวารสาร รายงานการแพทย์ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ฉบับที่ 110 (2009) ฉบับที่ 3, p 201-213 201 สรุปความโดยสังเขป ดังนี้



ผลการศึกษาวิจัย ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนักโทษ วัฒนธรรมนักโทษ และ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้นจากผลของการปรับตัวในการติดคุก ได้มีการจำเพาะความแตกต่างด้านความต้องการทางจิตศาสตร์ของนักโทษ (Psychobiological) โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของจากรายงานคุก และ กลุ่มนักโทษ ระยะเวลาการจำคุก การกำหนดโทษ สังคมและชุมชนคุก และ โครงสร้างคุก ที่ส่งผลถึงบุคลิกภาพ วัฒนธรรม และ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ของนักโทษ


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักโทษ ระยะเวลาการจำคุก การกำหนดโทษ สังคมและชุมชนคุก และ โครงสร้างคุก ที่มีความที่แตกต่าง มีอิทธิพลต่อการปรับตัว และ ความต้องการขั้นพื้นฐานทางจิตศาสตร์ ของนักโทษ ได้แก่ ความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิต ความต้องการเป็นสมาชิกของกลุ่มและความรัก การเห็นคุณค่าในตนเอง และ การกลับใจ เป็นต้น


โดยมีปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือ กระบวนการที่นักโทษถูกบังคับให้ยอมรับบรรทัดฐานและรูปแบบของพฤติกรรมใหม่ในการปรับวิธีการใช้ชีวิตในคุก (prisonisation) ที่อาจส่งผลกระทบถึงศักยภาพ และ การกระทำผิดซ้ำของนักโทษ และ อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงมากเพิ่มขึ้นจาก prisonisation กลายเป็นการเลียนแบบ ที่เรียกว่า กลไกทางจิต (ideologisation) และ วัฒนธรรมย่อยในคุก ที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับวัฒนธรรมคุก หรือ วัฒนธรรมโจร (argot) รวมตลอดถึงการสำนึกผิดและการกลับใจ (Rationalisation) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความต้องการทางจิตศาสตร์


ดังนั้น จึงควรมีการสนับสนุนทางจิตวิทยาเพื่อนำไปกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทั้งปัจจัยเสี่ยงด้านการกระทำความผิดซ้ำ และ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมโจร โดยการสนับสนุนให้นักโทษได้ทำงานเพื่อช่วยลดปฏิกิริยาภาระที่เกิดขึ้นจากการถูกจองจำ และ บรรเทาของอิทธิพลของ prisonisation เพราะกิจกรรมการทำงานจะทำให้จิตใจนักโทษมีความสงบ และ มีความสามัคคีระหว่างนักโทษ และ


ควรมี การเพิ่มความระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงในการรับมือกับนักโทษถาวร หรือนักโทษที่มีประสบการณ์ในระดับ interpretational ที่อาจใช้ประสบการณ์ในการติดสินบนผู้คุมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ การค้ายาเสพติด การเปิดบ่อนการพนันในคุก และ การซื้อขายตำแหน่งให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของคุก เป็นต้น ซึ่งนักจิตวิทยาคุก และ ผู้เชี่ยวชาญในการทำงานเกี่ยวกับนักโทษ สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้าน จิตศาสตร์คุก (Prison parapsychology)ให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการทางจิตศาสตร์ของนักโทษ (Psychobiological) และ สังคมต่อไป


........................



อ้างอิง


งานวิจัยเรื่อง Imprisonment and its Influence on Psychobiological Needs โดย Žukov I., Fischer S., Ptáček R., Raboch J.Charles University in Prague

ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ http://disinfo.com/tag/altered-states/




หมายเลขบันทึก: 595705เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2015 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2015 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ วอญ่า - ผู้เฒ่า natachoei

อาชญวิทยามีความลึกซึ้งมากครับ

ขอบคุณมากน่ะครับ อาจารย์ขจิต.........................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท