จิตว่าง (2)


ตั้งแต่ทราบว่า จะได้มีส่วนร่วมไปสอนสัคคสาสมาธิ ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ

ผมจึงได้พยายามปรับปรุงวิธีการสอน ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตลอดมา หนอ





ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมเริ่มสังเกตุเห็นว่า มีสิ่งแปลก ๆ เกิดขึ้นหลายประการ

อันที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมการสอนอย่างยิ่ง ยกตัวอย่าง เช่น


เกิดเหตุการณ์ทางโลก จนเป็นเหตุให้จิตใจกลับมาวุ่นวายอย่างหนักอีกครั้ง ในรอบหลายปี

ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำลังออกแบบการสอนสัคคสาสมาธิพอดี

และเมื่อได้สัมผัสสภาพจิตใจที่วุ่นวายอย่างนั้น ทำให้ผมหวนนึกถึงสภาพจิตใจของผู้ต้องขังว่า

ส่วนใหญ่น่าจะมีความวุ่นวายมากกว่าผู้คนทั่วไปนอกเรือนจำ หนอ





สภาวะที่ "จิตว่าง" จิตรวมลงเป็นสมาธินั้น เป็นประสบการณ์อันเกิดจากปัญญาปฏิบัติ

สำหรับผู้ที่ฝึกตนนั้น เมื่อจิตใจ "ตก" ลงไปสู่ความวุ่นวาย จะทราบและมีวิธีการ

ยกจิตใจให้ "ตั้ง" ขึ้นมาใหม่ สามารถทำให้จิตใจกลับสู่ความสงบรวมลงเป็นสมาธได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

และรวดเร็วยิ่งกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกตน



*** สิ่งสำคัญ คือ สภาวะจิตใจ 2 แบบนั้น

สัมผัสและรับรู้โลกได้แตกต่างกันอย่างมาก หนอ




ในการพัฒนามนุษย์ด้วยสมาธิ และพุทธธรรมนั้น

ต้องนำพาให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสประสบการณ์ปัญญาปฏิบัติด้วยตนเองให้ได้


จากประสบการณ์ในการสอนนิสิตของผม

ถ้ามีเวลามากเป็นเทอม เช่น สอนเป็นเทอม

ก็จะใช้กิจกรรมที่หลากหลายค่อยเป็นค่อยไป


แต่ถ้ามีเวลาน้อย เช่น ในงานสัมมนา 1 วัน

ก็จะนำพาผู้ฝึกเข้าสู่ "ภวังค์" ให้ได้ ด้วยกิจกรรมการทำสมาธิแบบ Scan Body


เพราะถ้าผู้ฝึกใหม่ ไม่สามารถเข้าสู่ ภวังค์ได้

ก็ยากที่จะเข้าใจสภาวะจิตของผู้ที่ฝึกสมาธิได้ ก็จะทำให้ขาดศรัทธาในการฝึกสมาธิในขั้นต่อไป












หมายเลขบันทึก: 595536เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุๆๆ

รออ่านต่อครับ

เพิ่งไปวิ่งมาเหมือนกันครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท