ฝนตกไม่หยุดฉุดรั้งใบอ่อนด้วยหินภูเขาไฟปลอดภัยสบายต้นทุน


โดยปรกติทั่วไปชาวสวนมะนาวมักจะใช้ 0-52-34 (Mono Potassium phosphate), 0-42-56 (Tetra Potassium pyro Phosphate) ในการยับยั้งระงับใบอ่อน เพื่อบังคับให้มะนาวสะสมอาหาร เตรียมพร้อมในการสร้างตาดอกและส่วนใหญ่ก็จะได้ผลดีเมื่อทำกับมะนาวปี มะนาวที่ออกดอกในห้วงช่วงเดือน สิงหาคมถึง กันยายนซึ่งก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในห้วงช่วยธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งก็จัดเป็นมะนาวปี ราคาไม่ได้ดีเด่เหมือนช่วงหน้าแล้ง และก็อาจจะมีดอกที่ทยอยออกไปเรื่อยๆ และออกชุดใหญ่อีกครั้งในห้วงช่วงเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม ซึ่งดอกชุดนี้ก็จะไปให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในห้วงช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายนซึ่งก็เป็นช่วงหน้าฝนก็จะคร่อมช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน ซึ่งถือว่าเป็นห้วงช่วงที่มีมะนาวมีราคาแพง

การใช้ปุ๋ย 0-52-34 หรือ 0-42-56 นั้น จะสังเกตว่า แร่ธาตุไนโตรเจนจะมีค่าเท่ากับศูนย์ คือไม่มีไนโตรเจนเลย จึงทำให้มะนาวจะหยุดการเกิดยอดอ่อนและสะสมอาหารในกลุ่มคาร์โบฮัยเดรทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย เมื่อคาร์บอนสูงกว่าไนโตเรจน จนเพียงพอ พี่น้องเกษตรกรโดยทั่วไปก็จะใช้หลักหรือเทคนิคการหยุดน้ำไปสักประมาณสองสามอาทิตย์ พอครบกำหนดได้ตามที่ต้องการก็จะขึ้นน้ำพร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ย 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรท) เพื่อเปิดตาดอกในกรณีที่มะนาวนั้นถูกบังคับหรือจัดการธาตุอาหารแบบการปุ๋ยเคมีเป็นหลัก เนื่องด้วยอิทธิพลของปุ๋ย

ก็จะต้องใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 (Potassium Nitrate) ในการฉีดพ่นต่อเนื่องเพื่อดึงตาดอกและถ้ายังมีปริมาณไนโตรเจนหลงเหลือตกค้างอยู่หรือมีไนโตรเจนจากน้ำฝนที่หล่นร่วงมาอยู่ตลอดเวลา อันนี้ก็อาจจะต้องใช้ปุ๋ย 0-0-60 (Muriate of Potash) หรือชาวบ้านส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า โพแทสเซียมคลอไรด์เข้ามาช่วยระงับยับยั้งใบอ่อนด้วยอีกทางทั้งทางดินและทางใบความจริงถ้าเราหมั่นศึกษาหาความรู้ทำอาชีพเกษตรกรรมตามแนวทางเกษตรพอเพียง เกษตรทฤษฏีใหม่รับใช้แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราก็จะทราบว่า การควบคุมคอนโทรลให้เกิดการสร้างใบ เกิดการสะสมอาหาร เกิดการสร้างดอก นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งแต่เพียงปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีเอามาบังคับทำให้พืชหรือมะนาวออกดอกได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เราสามารถที่จะใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ฮอร์โมนไข่ ออร์โมนหัวปลี (เร่งดอก), ฮอร์โมนแกนกล้วย (เพิ่มฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลริกแอซิด), น้ำมะพร้าวอ่อนหรือสาหร่ายให้สาร ไซโตไคนิน (Cytokinin) อื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย ที่ช่วยให้เราไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองสตุ้งสตางค์ซื้อไปเสียทั้งหมด

หรือแม้แต่การระงับยับยั้งใบอ่อนในช่วงที่ฝนตกชุก โดยเฉพาะในห้วงช่วงเดือนที่เซียนมะนาวทั้งหลายเขามักจะเปิดดอกให้มะนาวออกหน้าแล้งกันก็คือเดือน สิงหาคมและกันยายน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ฝนกระน่ำซัมเมอร์เซลล์ลงมาค่อนข้างมาก ทำให้มะนาวที่ถูกควบคุมแต่เพียงปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ไม่ว่า 0-52-34, 0-42-56, 0-0-60 ซึ่งแต่ละตัวนั้นราคาค่อนข้างเรียกได้ว่า แพงขั้นเทพ เพราะจัดอยู่ในหมวดหมูที่เรียกว่าแม่ปุ๋ยความจริงการควบคุม (Control) ไนโตรเจนที่มากับน้ำฝน หรือจากดินที่เป็นดินเหนียวแล้วมีการเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกแล้วบริหารจัดการไม่เหมาะสมมีหลงเหลือตกค้างมาถึงห้วงช่วงเดือนที่จะเปิดตาดอกจึงทำให้มะนาวมีแต่ใบอ่อนไม่สามารถเกิดตาดอกได้น้นก็สามารถใช้สารธรรมชาติอย่างฮอร์โมนไข่,น้ำตาลทราย (Sucrose), รวมถึงหินแร่ภูเขาไฟอย่าง พูมิช (Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) ด้วยการหว่านกระจายใต้โคนต้นรอบทรงพุ่ม ความโปรงพรุนของหินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านความร้อนระเบิดเกิดเป็นลาวาที่ก๊าซและไอน้ำระเหยออก (C.E.C. = Catch Ion Exchange Capacity) ที่สามารถช่วยทำให้ประจุบวกของยูเรีย ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของแอมโมเนียมไอออนถูกจับตรึงด้วยหินภูเขาไฟและค่อยๆ ปลดปล่อยให้กับรากมะนาวอย่างสมดุล(Slow Relaese Fertilizer) ทำให้มะนาวไม่กินปุ๋ยไนโตรเจนอย่างมูมมาม ทำให้เหมาะสมต่อการเปิดดอกช่วยทำให้มะนาวออกได้ในเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน แม้แต่การไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรดังกล่าว ก็ยังทำให้ออกดอกได้อย่างสบายต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เรืองเกษตรปลอดสารพิษ ให้คิดถึงเรานะครับ โทร. 0-2986-1680 - 2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595529เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท