​ ดินดี ต้องมีค่า C.E.C. สูง


หลายครั้งที่เกษตรกรมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการใส่ปุ๋ย คือใส่ปุ๋ยลงไปในอัตราปกติ แต่พืชไม่แสดงอาการสนอง และยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่พืชก็กลับไม่แสดงอาการทางใบให้ดูว่าได้รับได้กินปุ๋ยขึ้นไปแต่อย่างใด บางครั้งกลับยิ่งแย่กว่าเดิมคือมีอาการใบเหลือง ทรุดโทรม แคระแกร็น ดอกและผลอ่อนหลุดร่วง


อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณีก็จริง แต่ในกรณีอยากจะนำเสนอในเรื่องที่เกี่ยวกับดินโดยเฉพาะ คือดินอาจจะผ่านการใส่ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียวมาเป็นระยะเวลานาน หรือเป็นเนื้อดินที่ผ่านการเพาะปลูกมาหลายปี เนื่องด้วยสภาพพื้นที่และภูมิอากาศในประเทศไทยเราอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรที่มีทั้งความร้อน ความชื้น น้ำท่วม ฝนแล้ง หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้คุณภาพของเนื้อดิน เสื่อมถอยลง องค์ประกอบที่เป็นอนินทรีย์หินแร่จะลดน้อยด้อยค่าไปอยู่ในกลุ่มของเนื้อดินที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาได้ต่ำ ดินเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดินที่มีอินทรียวัตถุน้อย เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป และที่สำคัญเมื่ออินทรียวัตถุน้อยค่าความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ (C.E.C. = Catch Ion Exchange Capacity)

ดังนั้นถ้าพี่น้องเกษตรกรหมั่นสังเกตเนื้อดินของเราอยู่ตลอดเวลา คอยดูว่าถ้าดินสีเริ่มจืด ดินเริ่มมีความแน่นแข็ง เป็นทรายขี้เป็ด เป็นดินดาน ดินที่ไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย นั่นหมายถึงดินของท่านควรที่จะต้องได้รับการปรับปรุงให้มีค่า C.E.C.ที่สูงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม อาจจะเป็นการเติมอินทรียวัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เพื่อปรับโครงสร้างทางเคมี สร้างกิจกรรมให้จุลินทรีย์เข้ามาทำกิจกรรม อาจจะมีการใส่เสริมเพิ่มจุลินทรี่ย์ขี้ควาย (จุลินทรีย์จากสัตว์สี่กระเพาะ) เพื่อให้สมาชิกหรือกองทัพจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายมีจำนวนมากขึ้นดินก็จะค่อยๆ มีอัตราการแลกเปลี่ยนประจุเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

หรืออีกวิธีการหนึ่งก็คือการเติมกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ (Volcanic Rock) ซึงโดยตัวของเขาเองนั้นก็จะมีความโปร่งพรุนมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้ค่อนข้างสูงอยู่แล้วตามเกรดหรือชนิดของหินแร่ภูเขาไฟแต่ละแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย หรือต่างประเทศ และคุณสมบัติก็มิได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายเพียงใดนักถึงแม้ว่าจะมีการบดให้ละเอียดเล็กลงไปถึง 100 หรือ 200 เมชเมื่อถูกเติมลงไปในดิน ดินก็จะมีค่าความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุบวกได้ทันที และค่อยทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ (Buffer) มิให้โครงสร้างทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง (สภาวะ กรด และ ด่าง)ดินที่มีค่า C.E.C. สูง มีค่าพีเอชที่เหมาะสม ก็จะทำให้การเพาะปลูกใส่ปุ๋ยมีการตอบสนองที่ดีขึ้น พืชโตเร็ว ใส่ปุ๋ยก็งาม แม้กระทั่งการใส่แต่เพียงปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595533เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท