​ การทำปุ๋ยละลายช้าลดต้นทุนเกื้อหนุนธรรมชาติ



ปุ๋ยเคมี (Fertilizer) ในประเทศไทยเรานั้นส่วนใหญ่จะละลายออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อโดนหรือสัมผัสน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน หรือน้ำที่สาดราดรดมาจากน้ำมือของมนุษย์โดยการใช้เครื่องจักรหรือจากตะบวยแบบเก่าก่อนก็ตามปุ๋ยที่ละลายรวดเร็วรากพืชไม่สามารถที่จะดูดจับ (Absorb) ซับกินได้ทันรากพืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ประมาณ 20 – 30 % ส่วนที่เหลือก็จะสูญสลายหายไปกับสายลม อากาศและแสงแดดยิ่งสภาพของดินที่แน่นแข็งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพฤติกรรมที่ใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน หรือสภาพดินที่ขาดแคลนอินทรียวัตถุ (Organic Matter)จึงทำให้ดินแน่นแข็ง ไม่โปร่งฟูร่วนซุย จึงทำให้การเคลื่อนย้ายถ่ายเทของเหลวในรูปของน้ำและอาหารพืชถูกชะล้างได้ง่าย

หลังจากที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ให้พี่น้องเกษตรกรให้ตระหนักถึงความสำคัญของปริมาณคุณภาพปุ๋ยที่สูญเสียไปโดยง่ายให้กลับมาเป็นปุ๋ยที่ละลายช้าหรือละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชแบบค่อยเป็นค่อยไปแบบช้า ๆ (Slow Release Fertilizer) เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ปุ๋ยสูญหายไปโดยง่าย ด้วยการใช้หินแร่ภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็น ภูไมท์ (Pumice), พูมิช (Pumish), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), สเม็คไทต์ (Smectite) และ ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite) หรือที่นักวิชาการโดยทั่วไปเรียกันว่า Volcanic Rock หรือซีโอไลท์ (Zeolite) นั่นแหละครับ

จึงมีการนำเอาปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์มาคลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ (Zeolite, Volcanic rock) ในอัตราถ้าเป็นปุ๋ยเคมีก็คือ 1 : 5 (ปุ๋ยเคมี 5 ส่วนต่อ หินแร่ภูเขาไฟ 1 ส่วน) และ 1 : 10 (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ 10ต่อหินแร่ภูเขาไฟ 1ส่วน) ซึ่งถือว่าเป็นสูตรที่พอเหมาะพอดีนำไปใช้ในการรองก้นหลุม ทำเป็นวัสดุปลูกในกลุ่มของไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ในแปลงพืชไร้ไม้ผลต่างๆ ทั่วประเทศ ก็นับว่าได้ผลดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

การที่อาหารจากปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกถูกคลุกผสมร่วมกับความอุดมสมบูรณ์ของหินแร่ภูเขาไฟทำให้ดินนั้นพร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิด ปลูกแล้วไม่ชะงักงันแคระแกร็น มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Plants Growth) เพราะว่าองค์ประกอบของหินภูเขาไฟที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารมากมายสามารถค่อยๆทยอยปลดปล่อยออกมาทีละน้อยร่วมกับปุ๋ยชนิดต่างๆ จึงเกิดความสมดุลและมีประสิทธิภาพทำให้พืชไม่ขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง อีกทั้งโครงสร้างที่โปร่งพรุนทำให้จุลินทรีย์นานาชนิดมีบ้านมีที่อยู่อาศัย (housing bacteria) ทำให้ระบบนิเวศน์ที่โคนต้นมีความพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) ทำให้เกิดกิจกรรมในดินของทั้งอินทรียวัตถุและแร่ธาตุสารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟ ดังนั้นการทำปุ๋ยละลายช้าด้วยการนำปุ๋ยคลุกกับหินแร่ภูเขาไฟจึงช่วยให้พืชโตเร็ว ปุ๋ยละลาย ประหยัดต้นทุน (เพราะดินดีพืชก็โตเร็ว ไม่ต้องเปลืองปุ๋ยยาฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น)แถมระบบนิเวศมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นอีกด้วยนั่นเอง

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595530เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท