มะนาวใบเหลืองเพราะรากไม่กินปุ๋ย


เมื่อพูดถึงอาการใบเหลืองของพืช ก็มักจะมีนานาทัศนคติที่กูรูผู้หลายท่านมักจะออกมาแสดงความคิดเห็นตามกระทู้หรือเว็บบอร์ดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าเป็นโรคนั้น โรคนี้ มีเชื้อรา ปัญหามาจากการเป็นโรคใบไหม้ ใบด่าง ใบดำ ใบห่อ ใบเหี่ยว ใบเฉา (Plant Diseases) คละเคล้ากันไปในหลายสาเหตุ จนทำให้ผู้ที่สอบถามอาจจะเข้าใจผิดคิดไปเองว่าใบเหลืองที่เกิดกับพืชของตนเองนั้น คงจะมีแต่เพียงปัญหาเรื่องของเชื้อราโรคพืชแต่เพียงอย่างเดี่ยวเท่านั้นจึงมุ่งไปแต่เรื่องการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อรา ฆ่าเชื้อโรค (Fungicide) เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าบังเอิญรักษาได้ตรงโรคก็โชคดีไป แต่ถ้าฉีดไปแล้วสักรอบสองรอบแล้วอาการไม่ดีขึ้นพี่น้องเกษตรกรคงจะเริ่มปวดหัวกันขึ้นมาบ้างล่ะไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก

อาการและพฤติกรรมในลักษณะนี้ ใช่ว่าจะเกิดแต่พืชทั่วไปนะครับ แม้แต่พืชยอดฮิตอยู่ในขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน มีอาการแบบนี้ได้เหมือนกัน แต่ก็อยากจะให้ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรพึงตระหนักอาการหรือสาเหตุอย่างอื่นเข้ามาวิเคราะห์ด้วยเช่นเดียวกัน นั่นก็คือเรื่องของการขาดแร่ธาตุและสารอาหาร (Symptom) ซึ่งก็เกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการขาดความรู้ความเข้าใจในการให้แร่ธาตุและสารอาหาร เกษตรกรบางท่านอาจจะให้แต่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15, บ้างก็ให้แต่พืชเชิงเดี่ยว 46-0-0, 21-0-0, 15-0-0 ฯลฯ ซึ่งมะนาวก็จะได้รับแต่ธาตุอาหารหลัก (N P K) ประกอบกับดินที่ผ่านการเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงทำให้ธาตุรอง ธาตุเสริม และธาตุพิเศษ นั้นไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ของพืชแต่ละชนิดรวมทั้งมะนาว จึงทำให้ใบแสดงอาการขาดธาตุได้

อีกสาเหตุหนึ่งที่เกษตรกรอาจจะคาดไม่ถึงก็คือ อาการที่รากของพืชหรือมะนาวนั้นมีอาการบาดเจ็บ จากการขนย้าย การเพาะปลูก การถูกรบกวนจากศัตรูพืช การถูกทำลายโดยเชื้อโรค การหยุดการเจริญเติบโต ขัดสมาธิ จากภาวะดินที่แน่นแข็ง เป็นดาน สภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างจัดเกินไป จึงทำให้แม้ตัวเกษตรกรจะหมั่นพยายามรดน้ำใส่ปุ๋ยลงไปมากมายเพียงใด แต่พืชก็ไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย เนื่องด้วยค่าความเปิดกรดและด่างจะบล็อกตรึงหรือไล่ปุ๋ยบางตัวทำให้พืชขาด และบางครั้งก็ละลายแร่ธาตุอย่าง เหล็ก ทองแดง แมงกานีส ออกมามากจนเกินไปส่งผลให้เป็นพิษต่อใบพืชเกิดอาการเหลืองและไหม้ได้

ดังนั้นถ้าเกษตรกรสามารถวิเคราะห์ (Analysis) หาสาเหตุให้ชัดเจนและแก้ไขได้ตรงตามต้นเหตุของปัญหา ก็จะช่วยทำให้การดูแลแก้ไขของพี่น้องเกษตรกรทำได้ง่ายขึ้นเช่น ถ้าเป็นรากเน่าโคนเน่าก็ใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า, ถ้ามีปัญหาดินแน่นแข็งก็ใช้สารละลายดินดาน ALS29, ถ้ามีปัญหาดินเป็นกรดก็ใช้กลุ่มวัสดุปูน, ถ้าดินเป็นด่างก็ใช้กลุ่มของภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดง ถ้ามีปัญหาขาดธาตุรองธาตุเสริมก็ควรให้อาหารเสริมทางใบช่วยอีกทางหนึ่ง หรือจะใส่ทางดินด้วยกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ อย่าง พูมิชซัลเฟอร์ หรือ ภูไมท์ซัลเฟต เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็ช่วยทำให้เราไม่หลงทาง เสียงเงินเสียทองแบบไม่ตรงประเด็นไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสงสัยในเรื่องหนึ่งเรื่องใด อย่าลืมนะครับ เรื่องเกษตรปลอดสารพิษ ให้คิดถึงเราครับ โทรมาที่ 02986 1680 – 2

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 595532เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท