​สอนอะไร สอนอย่างไร ในอาร์ดีเอ (RDA-Resource Description and Access) ตอนที่ 2


จะยังคงสอนมาตรฐานเดิม (Anglo-American Cataloguing Rules-AACR) อย่างเดียว หรือสอนมาตรฐานใหม่ (RDA) อย่างเดียว หรือสอนทั้งสองมาตรฐานเลย?

ผมเที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการสอนมาตรฐานอาร์ดีเอ สำหรับนิสิตปริญญาตรี (ที่มีใช่หนังสือ-เอกสารสำหรับฝึกอบรมบรรณารักษ์วิเคราะห์สารสนเทศ) แล้วก็มาเจอเอกสารนี่เข้า โอ้ว ...ใช่เลยที่เราหามานาน

http://rdaincanada.wikispaces.com/file/detail/RDAi...

วันที่ 15 มิ.ย. ปี 2012 นักวิชาการสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศแคนาดา ได้ร่วมกันจัดการประชุมเพื่อสนทนาเกี่ยวกับมาตรฐานอาร์ดีเอในหลักสูตรสำหรับนักการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์โดยเฉพาะ

คำถามชวนขบคิดจากการประชุม คือ จะนำเอามาตรฐานอาร์ดีเอมาบรรจุไว้หลักสูตรอย่างไรกันดี จำนวนรายวิชาด้านาการทำรายการควรจะมีสักกี่วิชา และควรจะเป็นวิชาเลือกหรือวิชาบังคับ

เหนือสิ่งอื่นใด หลังการประชุมนี้ ได้เกิดประเด็นอภิปรายหลายประการที่รอให้ผู้สอนรายวิชาด้านการจัดระบบสารสนเทศนำไปพิจารณาต่อถึง 28 ประเด็นด้วยกัน

ผมขออนุญาตนำเสนอประเด็นแรกก่อนเลย

AACR และ RDA นิสิตจำเป็นต้องรู้จักมาตรฐานทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันด้วยหรือไม่?

ประเด็นย่อยที่นำไปคิดต่อ ได้แก่

1. ผู้สอนคิดว่าบัณฑิตจะต้องประสบพบเจอกับอะไรภายหลังเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว (ทั้งเทคโนโลยี หลักการบริหารจัดการ สื่อดิจิทัลใหม่ๆ ฯลฯ)

2. อะไรคือความคาดหวังของนายจ้าง (เช่น คาดหวังว่าบัณฑิตจบใหม่ต้องสามารถดำเนินงานห้องสมุดโดยใช้มาตรฐานอาร์ดีเอได้)

3. ไม่ว่าห้องสมุดจะมีนโยบายเช่นไร บัณฑิตก็ต้องพบเจอกับระเบียนรายการ (Records) ที่จัดทำด้วยมาตรฐานเก่า มาตรฐานใหม่ หรือแบบผสานผสาน

4. หากฝ่าย/แผนกงานที่บัณฑิตทำงานอยู่นั้น มีขนาดใหญ่และตระหนักในเรื่องของมาตรฐาน อย่างไรเสียบัณฑิตของเราก็น่าจะได้รับการฝึกอบรมมาตรฐานใหม่ แต่หากต้องทำงานในฝ่าย/แผนกเล็กๆ บัณฑิตเราก็อาจไม่ได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม รวมทั้งถูกคาดหวังให้ต้องมีความรู้มาก่อนเพื่อที่จะทำอะไรต่อมิอะไรให้ฝ่าย/แผนกของตนเองได้

5. ระบบการทำรายการด้วยมาตรฐานทั้งแบบเก่าและแบบใหม่มีความคล้ายคลึงกันเสียจนอาจสร้างความสับสนให้แก่นิสิตที่ต้องเรียนรู้ระบบทั้งสองในเวลาเดียวกันได้

6. เป็นที่คาดหมายว่า หากนิสิตได้เรียนมาตรฐานอาร์ดีเอแล้ว พวกเขาก็น่าที่จะต้องดูแลจัดการระเบียนรายการที่ทำด้วยมาตรฐาน AACR ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถ้านิสิตมีความตระหนักรู้ถึงความเหมือน-ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานทั้งสอง

สำหรับผมแล้ว (ในฐานะของคนที่ห่างเหินจากการทำรายการจริงๆ มากว่า 15 ปี) ข้อ 2 กับ ข้อ 4 เป็นสิ่งที่คาดเดายากที่สุดเลยครับ

ครั้งหน้า (ตอนที่ 3) ผมจะมาเล่าประเด็นในเรื่องของ แนวคิดในการควบคุมความถูกต้องของคำค้น/การเข้าถึงสารสนเทศ (Access to information) กันต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 595469เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2015 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท