จังกาบ....ภาษาถิ่นใต้


ภาพ : จาก https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2&biw=1366&bih=640&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0CAYQ_AUoAWoVChMI3dTH0JWCyAIVx2qOCh38bgju#imgrc=Z6H_0WmWlbtlXM%3A


มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้พร้อมกับสติปัญญาหลายด้าน ความฉลาดที่ถือได้ว่าสำคัญที่สุดในการเอาตัวรอดหรือดำรงชีวิตได้นั้น คือ ภาษา เนื่องจากการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น มนุษย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกัน ภาษาจึงกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ ทั้งนี้มีผู้กล่าวถึงภาษาไว้ว่า “ภาษา เป็น ระบบการสื่อสาร ที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อกัน โดยธรรมชาติแล้ว ภาษาเป็นเสียง เป็นการพูด เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่นๆ ทั้งปวง ไม่มีสัตว์โลกอื่นใดอีก ที่สามารถใช้ภาษาได้ในลักษณะเดียวกับมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุด ที่มนุษย์ใช้พัฒนาตัวเอง ความเจริญและอารยธรรมต่างๆ เกิดขึ้นมาได้ก็เพราะมนุษย์มีภาษาใช้เป็นเครื่องมือทั้งสิ้น” (กิติมา สุรสนธิ, 2542 น. 28)

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งประเทศไทยแบ่งออกเป็นหลายภาค แต่ละภาคมีภาษาถิ่นซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมอันงดงาม เช่น ภาษาถิ่นใต้ ซึ่งเป็นภาษาที่ห้วน ๆ มีเอกลักษณ์สื่อถึงชนชาวใต้ของประเทศไทยได้อย่างงดงาม

ภาษาถิ่นใต้ หรือ ภาษาใต้ นั้นมีผู้ให้ความหมายว่า “เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ” (นวลพรรณ นิยมค้า, 2541 น. 50) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า จังกราบ เป็นคำที่ใช้พูด เป็นภาษาที่เมื่อได้ฟังแล้วคนไทยโดยทั่วไปไม่อาจรู้ความหมายได้ เนื่องจากเป็นภาษาถิ่นใต้เฉพาะกลุ่ม

“จังกราบ” หรือ “จังกาบ” เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง พูดคุย หรือถกเถียง โดยชาวไทยภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามหรือมีเชื้อสายอิสลามมาจากฝั่งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนิยมใช้เรียกหรือพูดแทนคำว่า พูดคุยหรือถกเถียงกัน ทั้งนี้ใช้กับเฉพาะกลุ่มบุคคลที่พูดคุยกันอย่างเป็นมิตร ตัวอย่างประโยคเช่น “โหม้นี่นั่งจังกาบโยหน้าบ้าน” แปลว่า พวกเขานั่งคุยกันอยู่หน้าบ้าน

สังเกตได้ชัดเจนว่าภาษานั้นสื่อถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีอันงดงาม ซึ่งควรค่าแก่การได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

หมายเลขบันทึก: 595049เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2015 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2015 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาษาถิ่นไทยใต้...ในเฟสบุก

ในเฟสของนาย นเรศ หอมหวล คืนนี้ เสนอคำว่า กางหยาง โปรดเข้าไปแนะนำด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท