ป๋วยเสวนาคารสัญจร "ชาติพันธ์ุและความเป็นอื่นในสังคมไทยเเละอาเซียน"


...............กิจกรรมป๋วยเสวนาคารสัญจร "ชาติพันธ์ุและความเป็นอื่นในสังคมไทยเเละอาเซียน" จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ ณ หอประชุมเเม่น้ำของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งกระผมเองขอเล่าต่อจากการฟังโดยเน้นที่การเสวนาเรื่องชาติพันธุ์เป็นหลัก ในช่วงระยะเวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง โดยเน้นในเรื่องของประเด็นชาติพันธุ์ ที่มีปัญหาความเป็นไท ทำให้เกิดช่องว่างของความเป็นอื่นในมิติทางจิตใจ ความเชื่อ ศาสนา เเละการดำเนินชีวิตที่เเตกต่าง ฯ
...............คำว่า "ความเป็นไท เเละความเป็นอื่น" เป็นภาษาที่เราไม่ค่อยคุ้นเเละรู้จักกนมากนัก เเต่เป็นประโยคที่เป็นตัวปัญหาที่ก่อให้เกิดสงครามได้ดีเลยทีเดียว คำว่าความเป็นไทย คือ เรา ความเป็นอื่น คือ เขาเหล่านั้น ในสังคมหลายๆครั้งเราพยายามที่จะเเยกความเป็นเราเเละความเป็นเขาอยู่เสมอๆ หรือ เเยกความเป็นไท(ตนเอง) เเละความเป็นอื่น(คนอื่น) เช่น การไปเเยกว่าชนกลุ่มน้อย ไม่ใช้คนไทย ทั้งๆที่เขาอาจมีบรรพบุรุษอยู่ดินเเดนแห่งนี้มาก่อนเราอีก หรือ การไปเเบางเเยกว่าคนอีสาน คือ คนลาว ไม่ใช่คนไทย ตัวอย่างดังกล่าวเป็นสิ่งบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า สังคมยังมีปัญหาความไม่เท่าเทียมกันอยู่เสมอ จึงเป็นที่มาของ ความเป็นไท นำไปสู่ความเป็นอื่น ได้ เพราะความทรนงค์ตนของผู้ที่คิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่นด้วยประการทั้งปวง
...............ประเด็นในการเสวนา คือ ชาติพันธุ์เเละความเป็นอื่นในสังคม ซึ่งมีอาจารย์ที่เล่าให้ฟังอยู่ ๓ ท่าน มาจากหลายองค์กรหลายบทบาท โดยสรุปประเด็น/ข้อมูล ดังนี้

ความเป็นไท ทำให้เป็นอื่น

  • ความเป็นไท ที่เรามีอยู่มากเกินไป เป็นการนำไปสู่ความเป็นอื่น ซึ่งการการก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยม ที่อาจส่งผลเสียต่อระบบการคิดของคนในประเทศให้เห็นเเก่ตัวเพิ่มมากขึ้น
  • ความเป็นไท มากเกินไปทำให้เราไม่เข้าใจความเเตกต่างของชาติพันธุ์อื่นๆ เราจะเข้าใจเพียงเรา เข้าใจเพียงวัฒนธรรม อาหาร ความเป็นอยู่ของตนเอง โดยคิดว่า ไม่ต้องพึ่งคนอื่นก็ได้ ซึ่งทำให้เราเห็นค่าของผู้อื่นน้อยมาก เราจะเห็นคุณค่าของบางอย่างเมื่อเราต้องการ เช่น เราจะเห็นค่าคนชาวเขา ก็ต่อเมื่อเราอยากจะสวมใส่เสื้อผ้าชาวเขาสวยๆงามๆ ฯ
  • บางครั้งเราบอกว่าเราเป็นไท(แบบไทย) ทั้งๆที่เราต้องตอบคำถามไม่ชัดเจน เลยว่า อะไรที่บ่งบอกว่าเราเป็นไทย บ้าง อาหาร เสื้อผ้า วัฒนธรรม หรือ การที่ชนะสงครามในอดีต เเล้วสิ่งใดล่ะที่บอกเราชัดเจนว่า "เราเป็นไท" คำตอบ คือ ความคิดเราเองที่บอกว่าเราเป็นไท เเละเเบ่งเเยกว่าเขาเป็นอื่น
  • รัญบาลส่วนใหญ่คอยสร้างอัตลักษณ์เเบบเดียวโดยเพียงคำนึงถึงคนส่วนใหญ่เพียงอย่างเดียว ทำให้คนส่วนน้อยมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้เป็นไทย เเต่เราเป็นอื่น เเค่อยู่ในพื้นที่ไท ของเขาเพียงเท่านั้น เช่น ในสังคมภาคใต้(สังคมมุสลิม) มีครั้งนึงที่รัฐบาลสั่งให้ทุกโรงเรียนต้องมีพระพุทธรูป ให้เป็นเครื่องยืนยันว่าเราเป็นเมืองพุทธ เเต่หารู้ไม่ว่าในสังคมของชาวมุสลิมเเบบ ๓ จังหวัดชายเเดนใต้ ในโรงเรียนเขาไม่ได้ต้องการพระพุทธรูปแต่รัฐบาลก็เอา ไปตั้งไว้ในโรงเรียน หรือ การสั่งในกางเกงชายต้องขาสั้นเท่านั้น ซึ่งตรงข้ามกับของมุสลิมที่ต้องใส่กางเกงขายาวตามหลักศาสนา ทำให้ปัญหาเริ่มต้นจากการต้องการความเป็นเอกภาพของบ้านเมือง กลายเป็นจุดขยายช่องว่าง ว่าเขามีความเป็นอื่นเพิ่มมากขึ้น มิได้เป็นไท
  • ความเป็นไท ในความคิดของทำให้เราหนีห่างจากมนุษยธรรมเเละสิทธิมนุยชนเพิ่มมากขึ้น เพราะ "ความกลัว" เช่น กรณีชาวโรฮิงยา ที่อพยพที่มีทางผ่านคือไทยของเรา เมื่อตอนเขาจะขึ้นฝั่งไทย เราเกิดความกลัวว่าเขาจะมาทำให้เราเป็นอื่น ทำให้ลืมความกล้าหาญที่จะมีมนุษยธรรมเเละการรักษาสิทธิมนุษยชน ในการรักษาเเละเยียวยาเขา ในฐานะของความเป็นมนุษย์เหมือนกัน
  • ไม่ใช่เพียงรัฐที่คอยสร้างความเป็นไทยเพียงเท่านั้น เเต่หลายส่วนก็พยายามสร้างความเป็นอื่นเช่นเดียวกัน เช่น ละครหลังข่าวของไทย ส่วนใหญ่จะให้แจ๋ว ที่เป็นคนอีสาน รับบทคนใช้เสมอมา หรือ ให้ชาวพม่ามารับบทคนให้ในละคร นั่นเป็นส่วนอย่างชัดเจนว่าสื่อก็พยายามสร้างความเป็นอื่นให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยเช่นเดียวกัน หรือ คำกล่าวของคนไทที่ว่าคนอีสานเป็นลาว ไม่ใช่ไท เป็นต้น

ทำอย่างไร ไม่ให้เขาเป็นอื่น

  • ปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ที่ต้องมีอยู่เเล้วในทุกๆสังคม ซึ่งหากเรามองในมิติของความรู้สึก คือ เขาก็ต้องการยอมรับทางสังคมเช่นเดียวกันเเละการยอมรับจากอัตลักษณ์ที่เรากำหนดขึ้นในสังคมเช่นเดียวกัน หรือ เขาก็ต้องการความไทร่วมกับเราเหมือนกัน ฉะนั้นเเล้วเราต้องเปิดในยอมรับว่าเขาก็คือเรา
  • การใช้หลักสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน/เงื่อนไขของความสงบสุข ทุกๆที่ ทุกชาติต้องการความสงบสุข ฉะนั้นเเล้วเราควรเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในฐานะมนุษย์เช่นเดียวกัน
  • เราต้องปลูกฝัง "ความเป็นเขาเเละเป็นเรา" กับเยาวชนในระบบการศึกษา ไม่ใช่ปลูกเพียงความเป็นเรา เเละไม่ได้ปลุกให้ยอมรับความเป็นอื่นเลย หากเป็นเช่นนั้นสงคมจะเดือดร้อน อาจ่งผลถึงก่อให้เกิดการฆ่าฟัน/สงครามกันดังที่เราเห็นในปัจจุบัน
  • รัฐต้องมีหน้าที่ต่อการรักษามนุษยชนตามกฎหมาย ได้เเก่ การยอมรับ การเคารพ การปกป้อง เเละกรส่งเสริม มนุษยชนอย่างเท่าเทียมกันเเละไม่เลือกปฏิบัติในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • รัฐต้องพยายามหากลไกเเละเคลื่อนไหวด้านการเข้าถึงสิทธิ์ของชนกลุ่มน้อยมากยิ่งขึ้น โดยพยายามส่งเสริมด้านมนุษยชนมากยิ่งขึ้น
  • การยืดหยุ่นทางความคิดทำให้คนต่างศาสนา ต่างความเชื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ผู้คนก็อยู่ด้วยกันได้อย่างข้าใจกันเเละกัน
  • ควรเสริม ๓ กลไกหลักทางสังคมให้ช่วยบรรเทาปัญหาชาติพันธุ์ ได้เเก่ กลไกทางสังคม(ความคิดผู้คน) กลไกภาครัฐเละเอกชน(หน่วยงานช่วยเหลือ) กลไกเชิงพื้นที่(พัฒนาในระดับพื้นที่) ฯ ให้มีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น

...............คำถามที่ตามมา คือ

  • หากเราช่วยเหลือเขาไปเเล้ว วันหนึ่งเขาอยากอยู่กับเราจริงๆ เราจะยอมรับเขาอย่างเเท้จริงหรือไม่ ? หรือ การยอมรับความเป็นอื่น เป็นเพียงวาทกรรมที่เราสร้างขึ้นมาอย่างไม่รู้จุดสิ้นสุดเพียงเท่านั้น คำตอบก็คงจะไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ๒+๒ ต้องเท่ากับ ๔ ในทุกๆพื้นที่ เเต่ต้องใคร่ครวญมองดูเป็นกรณีๆไป เพราะความเป็นไท เเละความเป็นอื่นนี้ มีความซับซ้อน หลายประการที่ต้องใคร่ครวญ

หมายเลขบันทึก: 595044เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2015 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2015 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณความรู้ครับ ... ระหว่างคำว่า "ความเป็นไทย" และ "ความเป็นไท" ไม่น่าจะใช้เคื่องหมายเท่ากับได้ในระดับปัจเจก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท