๖๙๕. สมรรถนะของสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย


สมรรถนะของสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันภาครัฐได้มีการนำ เรื่อง สมรรถนะเข้ามาใช้ในระบบของ

การบริหารงานภาครัฐ ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ได้กำหนดตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา /ว ๒

ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๔ เรื่อง แนวทางการกำหนดสมรรถนะ ความรู้ความสามารถ

และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบัน

อุดมศึกษา...โดยกำหนดให้แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดสมรรถนะเพื่อให้บุคลากร

สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ นำมาใช้ในการประเมินพฤติกรรมของแต่ละ

บุคคล...สกอ. กำหนดสมรรถนะ แบ่งเป็น ๓ สมรรถนะ ได้แก่

สมรรถนะหลัก สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติและสมรรถนะทางการบริหาร

ซึ่งตามสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นแม่แบบของการบริหารงานบุคคล ได้กำหนดสมรรถนะหลัก

เป็น ๕ สมรรถนะ...สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ กำหนดเป็น ๑๖ สมรรถนะ...

ส่วนสมรรถนะทางการบริหาร กำหนดเป็น ๖ สมรรถนะ...

สมรรถนะต่าง ๆ มหาวิทยาลัยต้องนำมากำหนดให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอง

เพื่อนำมาใช้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย...แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะกำหนดสมรรถนะ

ดังกล่าวแตกต่างกันไป...ตามบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้บุคลากร

ของตนเองเกิดผลในทิศทางใด...

สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย...การกำหนดสมรรถนะก็จะคล้าย ๆ กับการนำมาใช้กับ

ของข้าราชการ...ซึ่งการบริหารงานบุคคล ส่วนใหญ่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน

ในแต่ละประเภท เช่น ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หากถ้าภาระงานที่ปฏิบัติ

จะคล้าย ๆ กัน ส่วนใหญ่จะกำหนดสมรรถนะไม่แตกต่างกัน จะคล้าย ๆ กัน

เพราะการบริหารงานบุคคล จะต้องไม่เลือกปฏิบัติ ถึงแม้การแตกต่างจะแตกต่างกัน

ที่ประเภทของบุคลากร แต่ในการวัดภาระงานไม่ควรต่างกัน เพราะจะเป็นที่มาของ

คำว่า "การเลือกปฏิบัติ"...

สำหรับการวัดสมรรถนะ ต้องเป็นไปตามค่าความคาดหวังของมหาวิทยาลัย

ว่าต้องการสมรรถนะระดับปฏิบัติการเท่าใด ระดับชำนาญการเท่าใด ระดับชำนาญการพิเศษ

เท่าใด ระดับเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษเท่าใด...ส่วนระดับการบริหารก็จะมีการกำหนด

ค่าคาดหวังของมหาวิทยาลัยว่า แต่ละตำแหน่งที่เป็นผู้บริหารนั้น มหาวิทยาลัย

ต้องการเท่าใด...ผลต่างหรือ Gap จะเป็นช่องที่แสดงให้เห็นถึงว่ามหาวิทยาลัย

ควรพัฒนาหรือมีคนที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ภายในมหาวิทยาลัย...

การวัดสมรรถนะ มหาวิทยาลัยต้องหาเครื่่องมือที่สามารถวัดพฤติกรรมของบุคลากร

ได้อย่างแท้จริง จึงจะเกิดผลที่แท้จริง...และการประเมินสมรรถนะ ผู้บริหารที่ควบคุม

ต้องรู้จักลูกน้องและเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่อคติหรือเข้าข้าง ต้องวางตัวเป็นกลาง

จึงจะสามารถวัดสมรรถนะนั้นได้อย่างเกิดผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง...

การวัดสมรรถนะอาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการเพื่อวัดพฤติกรรม

ให้เกิดขึ้นมาได้อย่างแท้จริง เพื่อความสะดวกและรวดเร็วของการให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง...

ในสมัยก่อนที่ฉันทำงานใหม่ ๆ ภาครัฐของประเทศไทย ยังไม่ได้นำเรื่อง "สมรรถนะ"

เข้ามาใช้ เพิ่งเริ่มนำเข้ามาใช้กับระบบการบริหารงานบุคคล ประมาณปี พ.ศ.๒๕๕๐ นี่เอง

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๑๗ กันยายน ๒๕๕๘



หมายเลขบันทึก: 594972เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2015 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2015 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท