Well-Elder การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม


ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 65,150,588 คน ซึ่งจำนวนดังกล่าวรวมถึงจำนวนผู้สูงอายุที่เกิน 60 ปีขึ้นไป พบว่าปัจจุบันมีจำนวน 10,442,347 คน (อ้างอิงจาก www.ipsr.mahidol.ac.th สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันพุธที่ 16 กันยายน 2558 เวลา 1.11น.) จะเห็นได้ว่าประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วนที่สูงมากในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบสาธารณสุขที่ดี แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ไม่มีผู้ดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โรงพยาบาลส่วนตำบล (หรือ รพ.สต.) ได้จัดแนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ โดยในเบื้องต้นจึงได้จัดกลุ่มผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะทางสุขภาพและสังคมของผู้สูงอายุ คือ

1.กลุ่มที่ช่วยตนเองได้ดี หรือกลุ่มติดสังคม (Well elder)

2.กลุ่มติดบ้าน (Home bound elder)

3.กลุ่มติดเตียง (Bed bound elder)

ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะมาพูดถึง "กลุ่มติดสังคม" เป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้โดยอิสระ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ดิฉันจึงขออธิบายด้วยแผนภาพต่อไปนี้

1. Laws and NGOs

กฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น

- กระทรวงสาธารณสุข : การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ

- กระทรวงแรงงาน : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม การสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่เหมาะสม

- กฎกระทรวง : กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : การส่งเสริมและการสนับสนุนการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน

NGOs ที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ , ชมรมผู้สูงอายุ เป็นองค์กรที่เข้ามาดูแลผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน โดยกำหนดนโยบายสวัสดิภาพ ด้านการเงิน สุขภาพ ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ สวัสดิการทางสังคม ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ มีบทบาทเช่น

- การเตรียมประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

- การถ่ายโอนภารกิจอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.)

- การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพผ่านกองทุนผู้สูงอายุ

- การจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

2.Good Practice

ที่บางกรวย จังหวัดนนทบุรี,ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง รวมถึงศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ได้มีการพัฒนาผู้สูงอายุ โดยใช้หลัก 5ส

- สุขสบาย : ความพร้อมในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน วัดพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ

- สุขสนุก : การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน

- สุขสง่า : คุณภาพชีวิต คุณค่าในตนเอง

- สุขสว่าง : กิจกรรมกลุ่มฝึกสมอง

- สุขสงบ : แบบวัดความสุข 15 ข้อ

3. Quality of life & Well-Being

องค์ประกอบของชีวิตที่นำมาสู่ความสุขและความพึงพอใจ คุณภาพชีวิตจะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีและที่เป็นอยู่ของบุคคลนั้นๆ

การสร้างสุขภาวะที่ดี (Well-Being) ต้องเริ่มจากการเพิ่ม Self Esteem, Self Value, Self Confidence, Self Efficacy และสุดท้าย Self Empowerment

4.Best Practice

- บริการปฐมภูมิที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ (Age-friendly primary health care) ขององค์การอนามัยโลก

5.Program Evaluation บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

- ช่วยขับเคลื่อนกฎหมายให้เกิดขึ้นจริง เช่น ฝึกการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองในกิจกรรมทางสังคม

- ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่นคุณภาพการนอนหลับ การหกล้ม การใช้เวลาว่าง

- ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี

- ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ให้เข้าไปดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง


( www.wellcarestrategies.com)

ข้อมูลทั้งหมดจะรวบรวมขึ้นไม่ได้ ดิฉันจึงขอขอบคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง และคณาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับการจัดกลุ่มห้องเรียนให้เกิดการเรียนรู้และคำแนะนำการทำ conference ต่างๆ เพื่อนๆสมาชิกในกลุ่มที่ช่วยกันหาข้อมูลมาเติมเต็ม เพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัดปีที่4 ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน

สมาชิกกลุ่ม

1.นางสาวญาดา หิรัญยะนันท์

2.นางสาวตริตาภรณ์ ชูนาวา

3.นางสาวพรชนัน ขยัก

อ้างอิง 1. http://pacs.lph.go.th:81/oldman/PDF/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%95.pdf


หมายเลขบันทึก: 594897เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2015 02:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2015 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท