การตรวจการสหกรณ์


การตรวจการสหกรณ์

มีผู้ที่ปฏิบัติงานหลายท่าน มักบ่นกันว่าการตรวจการสหกรณ์ เป็นเรื่องอยาก เพราะตำแหน่งนี้อยู่ในคน ๆ เดียวกัน กับคนที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ คนเดียวกันต้องทำหน้าที่สองบทบาท เป็นทั้งนักส่งเสริมสหกรณ์ และในขณะเดียวกัน ก็เล่นบทหนักเป็นนักตรวจสอบการดำเนินการของสหกรณ์ด้วย จึงทำให้เกิดความหนักใจ แต่ถ้าศึกษาให้เข้าใจและแบ่งบทบาทกันดี ๆ ก็น่าจะทำให้เกิดความสนุกในการทำงาน ซึ่งจริง ๆ แล้วมูลเหตุที่ทำให้เกิดการตรวจการสหกรณ์สหกรณ์ขึ้นมีสองประการ ประการแรก บุคลากรของสหกรณ์ บางสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นมาไม่ค่อยเข้าใจ หรือมีความรู้น้อยและไม่มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ในการดำเนินการสหกรณ์ตามกฎหมายสหกรณ์ ซึ่งได้แก่ พ.ร.บ.สหกรณ์ กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งนายทะเบียน รวมไปถึง อุดมการณ์สหกรณ์ หลักการ วิธีการ และค่านิยมสหกรณ์ จึงทำให้เกิดการบกพร่องจากความไม่รู้หรือไม่เจตนา ประการที่สอง บุคลากรของสหกรณ์ มีเจตนาปฏิบัติ หรือดำเนินการสหกรณ์ ไปในทางไม่ซื่อตรง โปร่งใส ตั้งใจทุจริตเพื่อประโยชน์ตน และพวก ทั้งสองสาเหตุอาจทำให้สหกรณ์เกิดความเสียหาย หรือ ทำให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปขาดศรัทธาและความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ควรมีรูปแบบและวิธีการตรวจอย่างบูรณาการให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง สามารถแบ่งงานออกได้ดังนี้ คือ การให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นพี่เลี้ยงด้านการดำเนินการและ กฎหมายสหกรณ์ การเข้าตรวจแนะนำปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่อง และการตรวจจับดำเนินคดี กรณีมีการเจตนาตั้งใจที่ทำการทุจริต มีวิธีการพอสังเขปดังนี้ คือ

1. งานที่ปรึกษาด้านกฎหมาย จะต้องมีทีมงานที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และเป็นพี่เลี้ยง ให้ความรู้ด้านกฎหมายสหกรณ์ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสหกรณ์ ให้กับบุคลากรสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง

2. งานตรวจแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข โดยเข้าดำเนินการตรวจสอบการดำเนินการสหกรณ์

ให้เป็นไปตามกฎหมาย หากเจอข้อบกพร่องที่ไม่ได้เกิดจากเจตนา หรือเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ให้สั่งการให้สหกรณ์แก้ไขให้ถูกต้อง หรือให้ความช่วยเหลือแก้ไขให้ถูกต้อง

3. งานตรวจจับดำเนินการตามกฎหมาย ถ้ามีการตรวจการแล้วเจอ ข้อบกพร่อง หรือการทุจริตโดยเจตนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์ หรือกรณีมีการร้องเรียน ร้องทุกข์มายังผู้ตรวจการสหกรณ์ เมื่อเข้าตรวจสอบแล้วปรากฏหลักฐาน พยาน ว่ามีการทุจริตจริง ให้ดำเนินการเอาผิด โดยการดำเนินคดีในถึงในถึงที่สุด งานตรวจจับและดำเนินคดี ควรจะมอบให้ทีมงานที่เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ที่เป็นหน่วยพิเศษลงมาดำเนินการอย่างจริงจัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามที่หน่วยตรวจการตามปกติได้ร้องขอ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากหน่วยตรวจการสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ ก็น่าจะเหมาะสมและทำให้งานตรวจการสหกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 594335เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2015 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2016 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท