โรงเรียนต่างๆของไทยได้รับมาตรฐานทางภาษาของยุโรป (European framework) เพื่อยกระดับความชำนาญในภาษาอังกฤษ ตอนจบ


ถ้าประเทศไทยมีความตั้งใจจะนำกรอบโครงความสามารถทางภาษาเพื่อการสื่อสารจริงๆ ก็ต้องมีการพัฒนาการประเมินตามสภาพจริงที่จะวัดในเรื่องทักษะทั้ง 4 ด้วย ในปัจจุบันนี้ข้อสอบโอเน็ท จะวัดทักษะทางภาษา แต่ข้อสอบที่เป็นตัวเลือกเหล่านี้จะวัดแต่ไวยากรณ์, คำศัพท์, และการอ่านเพื่อความเข้าใจเท่านั้น การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) ของ CEFR จะเน้นให้ผู้เรียนได้รับ B1 ซึ่งผู้เรียนระดับดังกล่าววสามารถเขียนและโน้ตที่มีข้อมูล, สามารถสื่อสารด้วยการใช้ภาษาที่หลากหลายในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ และเข้าใจประเด็นหลักๆ ในเรื่องที่ตนคุ้นเคย และปรากฏในการทำงาน, ศึกษา และการใช้เวลาว่าง แต่เห็นได้ชัดเจนว่าการทดสอบแบบเลือกตอบไม่สามารถจะวัดทักษะเหล่านี้ได้

การจะวัดความก้าวหน้าของนักเรียนโดยการอ้างอิงถึง CEFR นั้น การทดสอบระดับชาติต้องเป็นอย่างใหม่ การทดสอบจะต้องวัดทักษะการอ่าน, ทักษะการเขียน, ทักษะการพูด และทักษะการฟัง การประเมินผลแบบใหม่จะต้องปรับเข้ากับสถานการณ์เพียงพอให้นักเรียนสามารถใช้โอกาสต่างๆในการแสดงออกซึ่งความสามารถในการสื่อสารด้วยตนเองได้ การประเมินจะต้องคล้ายๆกับรูปแบบของ IELTS, TOEIC หรือ การประเมินภาษาอังกฤษแบบ Cambridge ได้ ถ้าประเทศไทยสามารถพัฒนารูปแบบใหม่ของการประเมินภาษาแล้วหละก็ การประเมินนั้นก็จะมีอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ต่อการเรียนรู้ภาษาในประเทศไทย บ่อยครั้งที่โรงเรียน, พวกครู, และผู้ปกครองจะเน้นไปที่การประเมินที่มีราคาสูง ซึ่งก็คือ การสอนเพื่อการสอบ ในปัจจุบันนี้ การทดสองที่มีราคาสูงในประเทศไทยคือข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งเน้นไปที่ไวยากรณ์ และรูปประโยค นักเรียนใช้เวลาจำนวนมากในการเตรียมตัวเพื่อสอบข้อสอบแบบเลือกตอบ โดยที่ไม่เน้นในเรื่องการพัฒนาทักษะเลย การทดสอบที่เน้นไปที่ความสามารถในการสื่อสาร จะกระตุ้นให้โรงเรียน, พวกครู, และนักเรียนสามารถปรับตัวให้ไปเน้นการพัฒนาทักษะที่มีประโยชน์ในการสื่อสารได้

ด้วยการเปิดประเทศอาเซียนในอีกไม่กี่เดือน และประเทศไทยยังคงต่อสู้กับเรื่องความสามารถในภาษาอังกฤษที่อ่อนด้อย จึงยังเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ จงหวังให้การรับ CEFR เป็นหนึ่งในขั้นตอนเพื่อการพัฒนามาตรฐานทางภาษาอังกฤษในประเทศไทย

แปลและเรียบเรียงจาก

Daniel Maxwell. Thai schools adopt European framework to boost English language proficiency

http://asiancorrespondent.com/131944/thai-schools-adopt-european-framework-to-boost-english-language-proficiency/

หมายเลขบันทึก: 594333เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2015 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2015 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่อาจารย์ต้นครับ

กำลังอบร CEFR ให้เขตต่างๆอยู่เลยครับ

Perhaps "...adopt European framework..." should be ที่รับมาตรฐานของยุโรป instead of ได้รับมาตรฐานทางภาษาของยุโรป because ได้รับ is more of having received which is not the case. (Thai schools are in a process of adopting only).

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท