ผลลัพธ์การจัดการความรู้องค์กร 7 ประการที่ทุกองค์กรควรรู้


โปรดอ่าน! ตอนที่ 1 โปรไฟล์สำคัญ 4 ประการของชาว GotoKnow.org


ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ 7 ประการที่ทุกองค์กรควรรู้

ต้องขอขอบคุณสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือในการระดมสมองทางออนไลน์ด้านการจัดการความรู้ (Knowledge management: KM) ครั้งสำคัญของประเทศอีกครั้งนะคะ

จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในอาทิตย์ที่ผ่านมา 1,600 คน พบข้อมูลผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ในองค์กรของไทยดังนี้ค่ะ


ผลการทำ KM ในองค์กร

(1) 82% ทำงานในองค์กรที่มีการริเริ่มโครงการ KM แล้ว

(2) 66% คิดว่าโครงการ KM ในองค์กรไม่ประสบความสำเร็จ

(3) 59% คิดว่าไม่ควรส่งองค์กรเข้าประกวดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (L0)

ปัญหาหลักที่พบในการทำโครงการ KM คือ

(4) 58% คิดว่าผู้ใช้ไม่ค้นหาความรู้จากระบบการจัดการความรู้

(5) 50% คิดว่าผู้ใช้ไม่ให้ความร่วมมือในการเพิ่มความรู้ลงในระบบ

(6) 46% คิดว่าองค์กรมีระบบจัดเก็บความรู้ที่กระจัดกระจาย ไม่มีระบบศูนย์กลางของการจัดการความรู้

สาเหตุที่ไม่มีการนำ KM มาใช้ในองค์กรอย่างเต็มที่

(7) 45% คิดว่าองค์กรไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะวางแผนและนำการจัดการความรู้มาใช้


ซึ่งพอจะเห็นภาพได้ค่อนข้างชัดเจนว่า

การจัดการความรู้ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ

โดยเฉพาะคนทำงานภาครัฐ (80% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) รู้จักการจัดการความรู้กันทั้งนั้นค่ะ แต่ยังไม่เกิดความเข้าใจในกระบวนการ KM ที่แท้จริงทั้งด้าน Human KM และ KM technology ความยั่งยืนของโครงการ KM ต่างๆ ในองค์กรจึงขาดหายไปค่ะ

ผลจากโครงการ KM เหล่านี้จึงไม่สามารถส่งผลไปยังเป้าหมายหลักขององค์กรนั้นๆ ค่ะ อาทิ การเพิ่มขึ้นของยอดขาย การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาปรับปรุงบริการและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น

ดังนั้นประเทศไทยยังต้องการการผลักดันครั้งใหม่เพื่อการจัดการความรู้ของประเทศค่ะ (KM 3.0) เพราะความรู้เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กรและบุคคลค่ะ แม้จะแตะต้องไม่ได้แต่ยิ่งจัดการก็จะยิ่งเพิ่มพูน และจะยังผลให้เพิ่มประสิทธิภาพต่อการตัดสินใจ การพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรค่ะ

และในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้อย่างยิ่งค่ะ อาทิ บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลก 100 บริษัทมุ่งพัฒนาระบบเพื่อการจัดการความรู้ทั้งนั้น เพราะอันที่จริงแล้วความรู้ในตัวบุคคลแลกเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลาทั้งในทางออนไลน์และออฟไลน์และมีอยู่เป็นจำนวนมากมหาศาล อาทิ บันทึก ความเห็น การสนทนา อย่างที่เราเรียกกันว่า Big data นั่นเองค่ะ

ดิฉันขอทิ้งท้ายไว้แค่นี้ค่ะ พร้อมเปิดประเด็นให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยนค่ะ

ขอบคุณค่ะ


มีการทำโครงการ KM



สำเร็จหรือไม่



ปัญหา



งบประมาณ KM



สายงานที่นำ KM ไปใช้



ช่องทางการใช้ความรู้



สาเหตุที่ไม่ทำ KM






Infographic รายงานผลการจัดการความรู้องค์กร 2558..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594428

หมายเลขบันทึก: 594272เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2015 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2015 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

Mini_UKM ครั้งที่ ๑๒ กำลังวางแผน ครับ มีเจ้าภาพใหม่ จะมาร่วม คิอ มหาวิทยาลัยราชภฏภูเก็ต และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ธนบุรี และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เยี่ยมยอดไปเลยค่ะอาจารย์ ขอบพระคุณที่ส่งข่าวค่ะ

ขอเสริมข้อมูลให้อาจารย์นะคะเผื่อเป็นประโยชน์ในการสร้าง PLC ค่ะ

  • 76% เป็นคนทำงานภาครัฐ
  • 52% มาจากองค์กรด้านการศึกษา
  • 79% อยู่ในระดับผู้ปฏิบัติการ
  • 27% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 20-40 ปี และ
  • 23% ทำงานในองค์กรปัจจุบัน 5-10 ปี
  • ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594269

ดิฉันเฝ้าสังเกตการทำ KM ทีหน่วยงานหนึ่งตั้งแต่มีคำว่า KM เข้ามา ก็รู้สึกว่าเป็นไปอย่างที่ผลสำรวจครั้งนี้ออกมาค่ะ คงต้องปรับปรุงอีกมากกว่าคนจะใช้ประโยขน์ได้ตามที่ต้องการ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ ขออนุญาตเผยเเพร่นะคะ

พี่เข้าใจคำว่า KM น้อยมาก รู้เพียงแค่ว่า การทำงานต้องใช้ความรู้ และความรู้ใหม่ที่เหมาะกับงานเกิดที่หน้างาน จากคนลงมือทำงานเท่านั้น ไม่ใช่ในตำรา

จากประสบการณ์ทำงานในระบบราชการ ๔๐ ปีพี่มั่นใจเต็มร้อยว่าเกิดปัญหาอุปสรรคการทำงานตลอดเวลา และต้องการองค์ความรู้ที่ย่อยแล้วมาแก้ไข และเดินหน้าทำงานให้เกิดคุณภาพ ตามภารกิจของเรา

ความรู้พวกนี้มีประโยชน์ ควรแก่การแบ่งปันแก่ผู้อื่น เพื่อบอกเล่าว่า งานของเรา ที่นี่ ทำแบบนี้แล้วดี ดี คือ ทำแล้วบรรลุเป้าหมาย มีคุณภาพ คนทำงานก็มีความสุข (สำคัญมากค่ะ)

อุปสรรคใหญ่คือ คนทำงานไม่เห็นคุณค่าของความรู้ ทำแต่งานเป็นรูทีน (คิดคำอื่นไม่ออก) ทำโดยใช้ความเคยชิน ไม่รักที่จะทำให้มันดีขึ้น เกิดปัญหาก็ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา พอใจอยู่แค่นั้น ทำแบบนี้ไปนานๆ ก็หมดสนุก ไม่มีความสุข เบื่อเหลือเกิน

น่าแปลกใจว่าราชการแบบไทยๆ ยึดถือหัวขบวนสุดเป็นสรณะ ท่านว่าไงฉันก็ว่างั้น ท่านให้ทำอะไรก็บอกมา พอเปลี่ยนหัวขบวนก็ทิ้งสิ่งดีๆ (ถ้ามี) ไป มันไม่ซึมสู่ลมหายใจ เข้าสายเลือด (จากประสบการณ์งานในระดับกระทรวง)

การทำงานหน่วยบริการยิ่งน่าสนุกและความรู้มีความหมาย การทำงานเป็นความน่าตื่นเต้น และสนุกยิ่ง แต่ใช้ความรู้ได้ต้องมีอำนาจ (ความหมายในทางบวกนะคะ) ความรู้มีผลต่อคุณภาพบริการจริงๆ ในระบบสุขภาพที่หน่วยบริการมีช่องว่างใหญ่มากขององค์ความรู้ น่าเสียดาย

วิสัยทัศน์ผู้บริหารเป็นสรณะอันยิ่งใหญ่ มีวิสัยทัศน์ไม่พอ ต้องมีมือไม้ที่ช่วยจัดการให้เกิดการเคลื่อนไหวของความรู้ วิธีสื่อสารก็สำคัญ วิทยาการเก่งแค่ไหนแต่สื่อสารไม่ถึงก็จบอยู่แค่ในห้องประชุม

เหนือสิ่งอื่นใด เรายังรักที่จะเรียนรู้น้อยไป จากอะไรก็ไม่รู้ ความรู้ในโลกมีมากพอ แต่เราเอามาใช้น้อย น่าเสียดาย

ปัญหาของ KM ที่ผ่านมาของหน่วยงาน คือเขียนไม่เป็น

1. กำหนด แบบฟอร์มให้ก็หงุดหงิดว่าทำไม

2. พอปล่อยอิสระก็ไม่เขียน

แต่ทำงานก็ใช้กระบวนการ KM ไปแลกเปลี่ยนกันทั้งในหน่วยงาน ทั้งข้ามหน่วยงาน ทั้งเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนหนึ่งก็พอเข้าใจกระบวนการ KM แต่อีกกลุ่มใหญ่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก

ส่วนสำคัญที่อยากให้เกิดในระดับประเทศ คือ คลังความรู้ของคนไทยที่ทุกคนสามารถเข้ามาแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนได้ เหมือนที่ G2K ทำอยู่ แต่ถามว่ามันก็ยังไม่หลากหลาย ไม่เหมือนของพันธ์ทิพย์ที่มีข้อมูลหลากหลายมาก และก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนชอบเข้าไปใช้กันจริงๆ เลย เหมือนบรรยากาศไม่เป็นทางการดีมั้งค่ะ

เรียน ท่าน อาจารย์ ดร.จัน คู่ ชัย เย็นนี้ จะมีการเตรียมการ Mini_UKM 12 ที่ มอบ ขออนุญาต นำข้อมูลงานวิจัยชิ้นนี้ ของ Gotoknow เพื่อประกอบการ วางแผน ครับ.....

ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท