บทความวิจัย เรื่อง ประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม (Loy Krathong Tradition with Inheriting the Local Wisdom and Culture Conservation)


ลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

..21research LoyKrathong.pdf

บทคัดย่อ

ด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนบางขันแตกอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิมไว้ให้ยั่งยืน โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในกิจกรรมทำกระทงด้วยวัสดุธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้และดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนบางขันแตกต่อไป ผลการวิจัย พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการสืบสานภูมิปัญญา ท้องถิ่นและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอีกด้วย นักศึกษาและชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมการทำกระทงด้วยวัสดุธรรมชาติครั้งนี้เนื่องจากเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะการจัดทำกระทงด้วยวัสดุธรรมชาติและความเชื่อดั้งเดิมในการขอขมาพระแม่คงคาไว้ให้ยั่งยืนต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ส่วนใหญ่เห็นความสำคัญในเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการลดภาวะโลกร้อนและปริมาณขยะที่ย่อยสลายยาก ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมของประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิม ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมย์ในการดำเนินโครงการครั้งนี้

Abstract

The objectives of this research was to study the thoughts of inheriting local wisdom and promoting the relationship of students, lecturers, and local people of Bangkantaek on activity of natural krathong making for traditional Loy Krathong culture conservation. The results of this activity will be support the continued project of academic service to Bangkantaek community. The findings were found that the different age, education level, and career provided the different views of local wisdom. For the different of education level showed the different views of local wisdom and also environmental perspective. Most samples of the students and people joined this activity of krathong making from natural resources because they realized the importance of arts and culture conservation with the natural material utilization and the belief of asking for forgiveness from the water goddess. Whereas most of lecturers focused on the importance of arts and culture conservation and environment as reduction of global warming and decrease amount of non­biodegradable waste. The findings showed the most samples compromised in this activity for inheriting local wisdom and traditional Loy Krathong culture conservation consistent with the aim of this project.

Keywords: Loy Krathong Tradition, Local Wisdom, Culture Conservation

หมายเลขบันทึก: 594206เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท