การทำนาแบบพึ่งตนเอง: ทฤษฏี สู่ การปฎิบัติ


ทฤษฏี ความรู้ ทักษะ และการเรียนรู้ในการทำนาแบบพึ่งตนเอง

******************************************************************

เมื่อเช้าวันนี้ มีญาติธรรมจากชุมชน ราชธานีอโศก อุบลฯ โทรมาถามเรื่องการทำนา

แบบ ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน

ว่า............

ผมพัฒนามาอย่างไร และมีแนวทางในการทำงานอย่างไร

ผมก็ตอบตรงๆว่า ผมมีความรู้น้อยมากในแทบทุกเรื่อง เพราะไม่เคยทำนามาก่อนเลย

แต่ผมมีหลักทฤษฏีรองรับมากมาย

เพราะผมทั้งเรียนมา สอนในมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้ ก็หลายปี ก่อนที่จะมาทำนาด้วยตนเอง เมื่อสิบปีที่แล้ว แบบพยายามที่จะพึ่งตนเองให้มากที่สุดในทุกเรื่อง ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่ใส่ปุ๋ย ไม่พ่นยา แม้กระทั่งการ “ไม่เกี่ยว” ก็ยังอยู่ในแผน ที่ยังทำไม่ได้เลย

โดยผมมีทฤษฏีมากมายพอสมควร ถึงการ........

1. ไม่รบกวนดิน หรือถ้าจะรบกวน ก็....น้อยที่สุด จึงไม่ควรไถพรวน รบกวน หรือทำลายดินด้วยวิธีอื่นใด แม้กระทั่งการใส่ปุ๋ยทั้งเคมี และอินทรีย์ ก็ควรลด ละ เลิก เพื่อการพึ่งตนเองให้มากยิ่งขึ้นๆๆๆ

2. ข้าวเป็นพืชในระบบนิเวศธรรมชาติ มาเป็นล้านปี ก่อนที่คนจะนำมาปลูกในไร่ ในนา ที่สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ในทุกสภาพแวดล้อม ตั้งแต่ที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง สภาพที่ดอน จนถึงพื้นที่เชิงเขา ยอดเขา

3. ข้าวมีความสามารถพิเศษในการปรับตัว ทนน้ำแช่ขังได้ จึงอยู่ในพื้นที่น้ำแช่ขังได้ดี ถ้าไม่ทนน่าจะสูญพันธุ์ไปบางส่วนแล้ว และเหลือพัฒนาอยู่เฉพาะในที่ที่เหมาะสมเท่านั้น และ

4. ในพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตข้าวจะสูงสุดในสภาพดินชื้นแบบธรรมดา ไม่มีน้ำแช่ขัง และผลผลิตจะลดลงตามลำดับ เมื่อมีน้ำแช่ขัง ทั้งนี้ ด้วยการเสียพลังงานส่งออกซิเจนไปที่ราก และศัตรูของข้าวที่มากับน้ำ

นี่คือทฤษฏีเริ่มต้นในการวางแผนการทำนาของผม

ที่จะต้องนำมาพัฒนาเป็นความรู้ การปฏิบัติ และทักษะ ที่สอดคล้องกับขีดความสามารถที่ผมมี ด้วยเจตนา ที่จะพึ่งตนเองให้ได้

ด้วย

1. ไม่ไถ ด้วยการหาทางกำจัดหญ้าให้ลดลง หรือ หมดไปจากแปลงนา หรือ เหลืออยู่บ้างก็ไม่เป็นปัญหามากนัก

2. ไม่ต้องดำ ไม่ต้องหว่าน ปล่อยให้ข้าวคัดเลือกตัวเอง กลับไปใช้ความสามารถเดิมที่เคยมี ในสมัยล้านกว่าปีมาแล้ว ด้วยการเริ่มต้นจากข้าวที่เราชอบมากที่สุด ก็จะได้ข้าวที่เราชอบและขึ้นเองได้

3. ไม่ให้ความสำคัญกับการขังน้ำในนา จะได้ไม่เดือดร้อนวุ่นวายไปกับการขังน้ำไว้ในนา จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แม้แต่แล้งๆ ดินแตกระแหงก็ปลูกข้าวได้

4. จัดระบบนิเวศให้มีระบบการสำรอง และหมุนเวียนธาตุอาหารในนา มีสิ่งมีชีวิต ช่วยเหลือ ดูแลกันเอง และเป็นธรรมชาติ จนเราไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการ ทำให้ระบบพึ่งพาตัวเองได้ เราก็จะพึ่งพาตัวเองได้ ในที่สุด

5. จัดระบบสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพึ่งตนเองให้มากที่สุด ในทุกๆด้าน

นี่คือที่มาของการเรียนรู้ในการทำนา "ไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ไม่รอน้ำ" ของผมครับ

สำเร็จหรือยัง???????????

ก็มาไกลพอสมควร จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

แต่ก็ยังมีเรื่องต้องทำอีกมาก ทั้งเรื่อง

(ก) การปรุงดิน ให้ดียิ่งๆขึ้นไป

(ข) การดูแลควบคุมหญ้าที่แอบมางอกปนๆบ้าง ให้เหลือน้อยที่สุด ลงไปเรื่อยๆ

(ค) การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ให้งอกเองได้ ได้ผลผลิตดี และคุณภาพเพื่อการบริโภคที่ดี

(ง) จะทำนาแบบไม่ต้องเกี่ยว ได้อย่างไรบ้าง ตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นสูงสุด ที่ยังเป็นเพียงความคิด เท่านั้น

เพื่อ "การพึ่งตนเอง" ให้ได้มากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 594197เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ท่านอ.ครับ วันจันทร์ที่ 5 ต.ค.2558 ที่ผ่านมาผมกับลูกๆได้แอบจิหล่อยไปเยี่ยมชมแปลงนา ของท่านอ. มาแล้ว งามมากๆเลยครับ เลย อยากจะนำแนวทางและวิธีการทำนาแบบท่านอ.ไปประยุกต์ใช้ในที่นาของตัวผมเองมั่งครับ นาของท่านอ. ปีนี้จะเก็บเกี่ยวตอนไหนรบกวนท่านแจ้งล่วงหน้าหน่อยได้มั้ยครับ ผมและเพื่อนๆที่เป็นแฟนคลับ (ลูกศิษย์ลูกหา ปลายแถว อยากไปช่วยท่านเก็บเกี่ยวด้วยครับ ) เผื่อจะได้ เศษเสี้ยวความรู้ จากท่านอ.มาประดับความรู้และได้เจอตัวจริงเสียงจริง มีข้อสงสัยและอยากรบกวนสอบถามอีกเยอะแยะเลยครับ

ปล. ขออภัยที่ไปเยี่ยมชมโดยไม่ได้แจ้งท่านล่วงหน้าน่ะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท