702. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" (ตอนที่ 32)


ผมมองสามก๊กลึกลงเรื่อย เห็นชะตากรรมของราชวงค์ฮั่นที่เรียกว่าหมดวาสนาจริงๆ ราชวงค์ฮั่นโดยหลิวปัง สุดยอดวีรบุรุษผู้โค่นจิ๋นซี ตั้งราชวงค์ฮั่น ทั้งที่เรียงไกร รับมรดกอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ เทคโนโลยีที่สุดยอดที่สุดในโลกโบราณมา แต่คนรุ่นหลังมิอาจรักษาราชวงค์ไว้ได้ ราชวงค์สิ้นสุดที่เหี้ยนเต้ แต่ก็ยังมีเล่าปี่ต่ออายุราชวงค์ฮั่นไปอีก แต่กลับหมดวาสนาลงในยุคของเล่าเสี้ยน คำถามก็คือก็ดูเล่าเสี้ยนไม่ต้องทำอะไรแล้วนิ ชีวิตสบาย รวยล้นฟ้า คนเก่งรอบตัว มีขงเบ้งและขุนศึกเก่งๆ ช่วย สวรรค์ชัดๆ ทำไมไปไม่รอด

ลองมาเปรียบเทียบกับลูกหลานของสุมาอี้ที่ต่อมาจะมาพิชิตสามก๊กทั้งหมด ตอนแรกๆ ชีวิตไม่สบายนักๆ จริงๆไม่สบายมาตลอด ไม่ได้รวยตลอด เคยตกอับเพราะสุมาอี้ก็เคยถูกลดทอนอำนาจ สิ้นวาสนาไปช่วงหนึ่ง ดูชีวิตแย่นะ ต้องต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรคตลอด ไม่พร้อมอย่างเล่าเสี้ยน ตระกูลสุมากลับกลายเป็นผู้นำเหนือผู้นำ อะไรเกิดขึ้นครับ จริงๆ ต้องเล่าเสี้ยนสิ

ไม่รู้จะใช้เกณฑ์อะไรมามองดูความพิกลึกพิลั่นอย่างนี้ เลยต้องหันมาหาทฤษฎีจิตวิทยาบวก ทฤษฎีหนึ่งที่น่าจะอธิบายได้ นั่นคือ Flow หรือภาวะลื่นไหล ทฤษฎีนี้เกิดจากการวิจัยของนักจิตวิทยาคนสำคัญของโลกคือชิกเซ๊นมีฮาย ที่ศึกษาคนเป็นหมื่นคน แล้วพบว่าคนจะมีภาวะอารมณ์หลักๆ อยู่สี่อย่าง นั่นคือภาวะชิลล์ๆ พายเรือในอ่าง หรือหลงทาง (Apathy) เบื่อ (Boredom) วิตกกังวล (Anxeity) และสุขแบบลื่นไหล เพลินลืมวันลืมคืน (Flow) สามอารมณ์แรกไม่ดี แต่ตัวหลัง Flow นี่ถือว่าดีมากๆ งานได้ผลคนเป็นสุข สำเร็จด้วย

ผู้คนพบทฤษฎีความสุขนี้เรียกทฤษฎีตนเองว่า “Flow” คนไทยเรียกว่า “ภาวะลื่นไหล” ซึ่งถือว่าเป็นภาวะความสุขที่พึงปราถนาที่มนุษย์ควรมี

เราจะ Flow หรือไม่ก็ต้องขึ้นกับเงื่อนไขสองอย่างคือ เราทำกิจกรรมที่มีความท้าทายสูง ในขณะเดียวกันเราก็ทักษะสูงด้วย ถ้าสองตัวนี้ไม่สมดุลจิตใจเราก็จะตกอยู่ในอีกสามสถานะ ซึ่งไม่ดีเลยนั่นคือ Apathy Anxiety หรือ Boredom

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปตามกราฟข้างล่างนี้ครับ

มาดูกันในรายละเอียดที่ลึกกว่าเดิม คราวนี้ผมได้ยกตัวอย่างการตีเทนนิส ควบคู่กับการวิเคราะห์สภาวะของเล่าเสี้ยน ลูกของเล่าปี่ ที่พ่ออุตส่าห์ตั้งอาณาจักรให้ แต่ก็รักษาไว้ไม่ได้ เทียบกับลูกหลานของสุมาอี้ที่พ่อต้องพาออกรบ ไม่ได้ใช้ชีวิตสบายแต่กลับได้เป็นผู้ครอบครองแผ่นดินจีนทั้งหมด

มาดูกันครับ

A1: Apathy ประมาณว่าพายเรือในอ่าง ลั๊นลากับชีวิต ตรงนี้ประมาณว่างานที่ทำอยู่ไม่ต้องใช้ทักษะมาก ความท้าทายก็ไม่มาก นี่ผมว่าเล่าเสี้ยนอยู่ตรงนี้ จริงๆ ฮ่องเต้ต้องทำมากกว่านี้ แต่เนื่องจากอายุไม่มาก เลยไม่ต้องทำอะไร จะเรียกว่าเล่าเสี้ยน Flow ก็ได้ แต่เหมือนคุณหัดเล่นเทนนิสและคุณเอาแต่เดาะบอร์ด ตอนแรกมันก็ดูสมดุลย์มีความสุขดี แต่ทำไปมากๆ ถ้าคุณไม่ลงสนามแข่งซักทีคุณก็จะเหมือนพายเรือในอ่าง ดูจับจดทำอะไรง่ายๆ อยู่แต่ใน Confort Zone (พื้นที่สบาย) บางที่จากจุดนี้ก็สามารถขยับไป A 2 คือเบื่อชีวิต ได้ไม่ยาก ดูลั๊ลลาแต่ไม่ก้าวหน้าในชีวิตแน่นอน

A2: Boredom เบื่อหน่าย ประมาณว่าได้ทำอะไรที่ไม่มีความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันผู้นั้นกลับมีทักษะสูง ถ้าอยู่ตรงนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะเบื่อหน่ายหมดไฟ ประมาณว่าสมมติคุณเล่นเทนนิสเก่งแล้ว แต่วันๆ ได้เล่นกับคู่ที่ไม่ค่อยเก่ง ไม่ท้าทาย สักพักคุณก็ไม่อยากเล่นสนามนั้นอีกต่อไป

A3: Anxiety หรือขั้นวิตกกังวล ตรงนี้เหมือนเล่นเทนนิสใหม่ๆ แต่คุณต้องไปเล่นกับประเภททีมชาติ (ผมก็เคยเผลอไปเล่น) หมดกันครับ ไม่เล่นแล้ว ไม่ไหวประสาทกิน ลูกของสุมาอี้อยู่ตรงนี้ในระยะต้น เพราะยังไม่เก่งเท่าพ่อเจอศัตรูจัดโหด ถ้าเป็นเทนนิส ก็ประมาณว่าเข้าแข่งทัวนาเม๊นต์วิมเบิลดั้นตลอด แต่เนื่องจากได้ไกล้คนเก่งอย่างสุมาอี้ ทำให้ทักษะเริ่มสูงขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะที่ 4 นั่นคือ Flow

A4: Flow (สุขแบบลืมวันลืมคืน) ภาวะนี้นี่เองที่มนุษย์มีความสุข แบบเพลินลืมวันลืมคืน ตรงนี้ทักษะกับความท้าทายสูงทัดเทียมกัน ตรงนี้ถ้าเป็นเทนนิสก็เหมือนคุณพัฒนาฝีมือขึ้น แล้วได้แข่งกับคนที่เก่งพอกัน แต่ก็ไม่ใช่จะล้มเขาง่ายๆ คุณต้องวางแผนต้องฝึกตัว ประมาทไม่ได้ ตรงนี้เลยคุณจะเข้าสู่ Flow ทักษะและความท้าทายมันสูงพอกัน ผมบอกได้เลยว่าการที่สุมาอี้เอาลูกไปรบด้วยทำให้ลูกๆได้ ฝึกทักษะการรบ การวางแผนกลุยทธ์จากแม่ทัพที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ผมว่าที่สุดลูกสุมาอี้นอกจากจะเก่ง จะ Flow ขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะสงครามขยายตัวไปพร้อมๆกับขอบเขตความรับผิดชอบของสุมาอี้

เท่าที่ดูชีวิตส่วนใหญ่ของเล่าเสี้ยนจะอยู่ที่ A1 ส่วนลูกหลานของสุมาอี้น่าจะอยู่ A4

เล่าเสี้ยนใช้ชีวิตด้วยความลั๊นลา A1 มาเรื่อยๆ พอเจอความท้าทาย มาเยอะๆ เกิดกังวัลแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ คือขึ้นไป A3 เช่นในตอนท้ายของสามก๊ก แต่เนื่องจากไม่ได้สั่งสมทักษะการเป็นผู้นำอะไรไว้ เพราะอยู่ในพื้นที่สบายมาตลอด ที่สุดก็ไปไหนไม่รอด ยกธงขาวแพ้อย่างเดียว

ส่วนชีวิตของลูกสุมาอี้อยู่ที่ A4 ที่สุดก็เติบโตไปเรื่อยๆ แกร่งขึ้นเรื่อยๆ และที่สุดรุ่นหลานก็เก่งพอที่จะครอบครองสามก๊กได้ทั้งหมด

พอจะสรุปได้ว่าอยากก้าวหน้าก็ต้องพาตัวเองให้อยู่ใน A4 คือ Flow นั่นคือต้องมีเป้าหมายสูง ออกไปหาความท้าทายใหม่ๆ และต้องพัฒนาทักษะของตนเองให้สูงตามไปเรื่อยๆ และคอยตรวจสอบความรู้สึกตนเอง

ถ้ากังวลก็แสดงว่าเป้าหมายใหญ่ไป อาจทอนลงมาเป็นส่วนๆ แล้วค่อยพัฒนาทักษะตาม

หากเบื่อ ก็แสดงว่าทักษะสูงความท้าทายต่ำก็ต้องตั้งเป้าให้สูงขึ้น

ถ้าลั๊ลลา อะไรก็ดูสบายๆ ไม่ต้องใช้ทักษะมาก ความท้าทายก็ไม่มาก นี่เรียกว่าอยู่พื้นที่สบายแล้ว ออกมาเลยครับ มาฝึกทักษะใหม่ๆ ไปเจอความท้าทายใหม่ๆ

ถ้ามีลูกก็อย่าให้สบายเกินไปครับ ต้องหาทางให้ได้ออกสนามจริง เจอความท้าทายจริง และต้องพัฒนาทักษะอยู่เสมอ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ รักสบาย ไม่เจริญแน่ครับ

จะว่าไปตอนหลิวปังตะลุยก่อตั้งราชวงค์ฮั่น ก่อนหน้าที่จะหลายเป็นขุนพลผู้กล้า ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านมาก่อน ใช้ชีวิตช่วงแรกๆ ก็ Flow มาตลอด คือได้ฝึกทักษะการเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก พอโตความท้าทายก็มาก แต่ทักษะท่านก็มากตาม ผมว่าสุมาอี้เจออะไรคล้ายๆหลิวปัง คือการใช้ชีวิตแบบ Flow

เอาเป็นว่าฮั่นต้องพินาศเพราะฮ่องเต้ไม่อยู่ในสภาวะ Flow ครับ ส่วนตระกูลสุมาขึ้นมาเป็นฮ่องเต้เพราะอยู่ Flow มาตลอด

เอาเป็นว่า Flow คือทุกอย่าง ไม่ Flow ก็ไม่เจริญ ดังนั้นการทำให้ชีวิตเราอยู่ใน Flow จึงสำคัญต่อปัจจุบันและอนาคตมากๆ

ส่วนวิธีการที่จะทำให้ชีวิตคุณ ครอบครัว และองค์กรมี Flow นอกเหนือจากการลุยในสนามจริงแบบหลิวปัง และตระกูลสุมาแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆอีกมากมาย ผมจะมาเล่าเพิ่มเติมให้อีกหลายๆตอนนะครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

ด้วยรักและปราถนาดี

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

Reference ภาพ:

http://www.betterchinese.com/High-School/Storybook...


Reference: เรื่อง Flow http://www.pursuit-of-happiness.org/history-of-hap...

หมายเลขบันทึก: 594193เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2015 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท