สรุปประเด็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด (Reflective Thinking)


สรุปประเด็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน สิงหาคม 2558

โดยผู้รับผิดชอบ กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

(อาจารย์ลำเจียก กำธร และคณะ)

ประเด็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันของอาจารย์จากการเข้ารับการอบรมการจัดการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด และนำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนในนักศึกษาแต่ละชั้นปีในรายวิชาต่างๆ และอาจารย์ได้สะท้อนคิดใน 3 ประเด็นที่สำคัญดังนี้

ประเด็นที่ 1. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเรียนการสอนแบบ reflective thinking

วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ (Reflective practice or reflection onpractice) จึงมีความสำคัญต่อการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น (Davies, 1995) การฝึกสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงการคิดไตร่ตรองหรือการคิดทบทวนอย่างมีเหตุผล สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี โดยนักปรัชญาเรียกว่า วิธีแห่งปัญญา การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการคิดที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการวางแผนหาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งมีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆได้ (อรพรรณ, 2553) นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้พยาบาลได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้น ส่งผลต่อการดูแลผู้รับบริการอย่างเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์และมีความเอื้ออาทรเกิดขึ้น (Lauterbach & Becker, 1998) การนำวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมบุคลากรทางการพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติเป็นฐาน (Practice - based Instruction) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการบริการกับการเรียนรู้ได้ (Service learning) เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อไป (Eyler, 2002)

ดังนั้นการสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะทางปัญญาที่มีความจำเป็นสำหรับบัณฑิตพยาบาลทุกคนเพราะเป็นทักษะที่ช่วยให้พยาบาลรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณรู้จักแก้ปัญหาและพัฒนางานด้วยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือทั้งนี้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ได้มีการกำหนดให้สถาบันการศึกษาพยาบาลจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาให้เกิดผลการเรียนรู้ด้านต่างๆ รวมถึงทักษะทางปัญญาด้วยเช่นกัน

ดังมีอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้

1.อาจารย์กาญจนา พรหมทอง

คิดว่าหากสามารถทำให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความเข้าใจตรงกัน ทั้งในประเด็นวัตถุประสงค์ของการเขียน วิธีการเขียน โครงสร้างของการเขียน เกณฑ์การประเมิน และมีการใช้อย่างต่อเนื่องและหมั่นวิเคราะห์หรือสะท้อนคิดผลของการใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking ทั้งในผู้เรียนและผู้สอนจะเป็นการดี และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

2.อาจารย์ฐาปนีย์ อัครสุวรรณกุล

หากนำวิธีนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ การฝึกสะท้อนคิดตลอดเวลา ฝึกทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยนำสถานการณ์นั้น ๆ มาคิด วิเคราะห์ มาสะท้อนโดยคำพูดหรือการเขียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น การสะท้อนคิด จึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งวิธีการคิด และทักษะทาง ปัญญา เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่จะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.อาจารย์ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์

ในการเรียนการสอน reflective thinking มีผลต่อกระบวนการคิดในการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นฝึกการคิดวิเคราะห์ ซึ่งถือเป็นทักษะหนึ่งในทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ แต่ทักษะในการเขียนสะท้อนคิด หากอาจารย์ทุกท่านทุกรายวิชาให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดหมดทุกครั้งทุกรายวิชา อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่นักศึกษา และเป็นการเพิ่มงานจากชิ้นงานเดิมในรายวิชา ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้ในการเขียนสะท้อนคิด จึงอาจต้องกำหนดหรือตกลงว่าวิชาใดจะมีวิธีการเรียนการสอนวิธีนี้เป็นช่วงใดในรายวิชาที่จะให้นักศึกษาสะท้อนคิด ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่า ในวิชาปฏิบัติทางการพยาบาล สามารถใช้การเขียนสะท้อนคิด เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนตัวเอง และอาจารย์ได้นำมาปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ อันจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

4.อาจารย์วราณี สัมฤทธิ์

การสะท้อนคิด เป็นเทคนิคที่น่าสนใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างมีขั้นตอน ได้มีการวิเคราะห์จุดออ่อน จุดแข็ง มีวิธีการพัฒนาตนเอง โดยใช้ข้อมูลมาอ้างอิง เพราะมุมองการสะท้อนของผู้เรียนและอาจารย์จะช่วยพัฒนาการคิด การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

5.อาจารย์ภารณี เทพส่องแสง

เป็นวิธีการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน ได้สะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตนเอง ทำให้มองเห็นจุดดี จุดที่ควรปรับปรุง สามารถแสวงหาแหล่งการศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และสรุปเป็นองค์ความรู้ได้บรรลุวัตถุประสงค์

6.อาจารย์เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก

การสะท้อนคิดเกิดจาการที่ตัวผู้เรียนเองที่เป็นคนรับรู้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจทำได้ทั้งในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภารปฏิบัติ แล้วจึงนำสถานการณ์นั้นมาคิด วิเคราะห์ตามความคิด ความเข้าใจของตนเอง ก่อนที่จะบอกผู้อื่นโดยผ่านทั้งทางการพูดและการเขียน วิธีการสะท้อนคิดนี้จะเน้นการให้ผู้เรียนพัฒนาวิธีการคิด และทักษะทางปัญญา และวิธีการสะท้อนคิดที่จะได้ผลดีต้องมีการรับรู้ ความเข้าใจตนเองเป็นสำคัญ มีการสะท้อนที่เป็นเหตุผล เพื่อเป็นการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

7.อาจารย์น้ำทิพย์ จิตรชูชื่น

เป็นกระบวนการที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง ผลข้อมูลที่ได้มาจากประสิทธิภาพของผู้เรียนทำให้สื่อออกมาสู่การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดด้วยตนเอง

8.อาจารย์วรรัตน์ สุขคุ้ม

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีการตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง กระตุ้นให้นักศึกษาได้กระตือรือร้น ขยันและมุ่งมั้นหาคำตอบในประเด็นที่ตนคิดและสนใจ

9.อาจารย์นฤมล เฉ่งไล่

กิจกรรมการสอนวิธีนี้ดีมาก นักศึกษาไม่หลับใน ตื่นเต้น ได้ใช้ความคิด แต่ต้องหมอบหมายล่วงหน้าให้เด็กไปคิดล่วงหน้า

10.ดร.สร้อยสุวรรณ พลสังข์

เป็นวิธีการสอนที่ดี มีโอกาสแล้วจะลองใช้ในรายวิชาที่สอน

11.อาจารย์นันทยา เสนีย์

จากการศึกษา ในประเด็นของ reflective กับการทำวิจัยในชั้นเรียนมีใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าเรานำสองรูปแบบนี้มาใช้ด้วยกันจะทำให้อาจารย์มีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือได้เป็นวิจัยในชั้นเรียนอีกฉบับที่ได้จากการศึกษานักศึกษาของเราเอง

12.อาจารย์สุวิมล มณีโชติ

การสอนแบบ Reflective thinking เป็นสิ่งทำให้เรารู้จักความคิดของผู้เรียนมากขึ้น รูช่วยเพิ่มทักษะการพูดการคิดและการกล้าแสดงออกของผู้เรียน สามารถรับรู้ได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหรือไม่ ถือเป็นการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของเราได้

โดยสรุป การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการคิดที่น่าจะช่วยให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนคิดเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการคิด วางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็น เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ โดยเฉพาะสำหรับวิชาชีพพยาบาล ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ มีความสำคัญต่อการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหา รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น ดังนั้นการฝึกสะท้อนคิดน่าจะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการวางแผนหาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งมีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆได้ นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้คนได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้น ส่งผลต่อการดูแลผู้รับบริการอย่างเข้าใจ

การนำวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมบุคลากรทางการพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการให้บริการกับการเรียนรู้ได้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติทั้งจากตนเอง เพื่อน และผู้สอนรวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อไปด้วย รวมทั้งการนำแนวทางการสะท้อนคิดมาใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการสอนทางการพยาบาลที่ต้องการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา ในการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง และของเพื่อนในกลุ่ม เพื่อก่อ่ให้เกิดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและสามารถประยุกต์ทฤษฎีที่ได้เรียนมาสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ การสะท้อนคิดเกิดจากตัวผู้เรียนเองที่รับรู้ข้อมูล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ แล้วจึงนำสถานการณ์นั้นมาคิด วิเคราะห์ใคร่ครวญตามความคิดความเข้าใจของตนเอง ก่อนที่จะบอกต่อผู้อื่นโดยผ่านทั้งทางการพูดและการเขียนวิธีการสะท้อนคิดนี้ จึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งวิธีการคิด และทักษะทางปัญญา เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ ที่จะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้วิธีการสะท้อนคิดจะได้ผลดีต้องเกิดจากการรับรู้ ความเข้าใจตนเองเป็นสำคัญ มีการสะท้อนที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ในการใช้วิธีการสอนโดยกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิดในผู้เรียนนั้น ผู้สอนบนคลินิกมีความสำคัญในการช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน ด้วยการเป็นแรงเสริม ช่วยเหลือ ประสานงานด้านต่างๆ ให้คำปรึกษาแนะนำโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด ใช้ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีความสุขในการเรียน นำไปสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถต่อไปในอนาคต

ประเด็นที่ 2 ท่านได้นำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้อย่างไร

ดังมีอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้

  • อาจารย์ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์
  • อาจารย์ ลำเจียก กำธร
  • อาจารย์ดวงแข รักไทย
  • อาจารย์วราณี สัมฤทธิ์
  • อาจารย์ภารณี เทพส่องแสง
  • อาจารย์เพ็ญจันทร์ มณีโชติ
  • อาจารย์น้ำทิพย์ จิตรชูชื่น
  • อาจารย์นฤมล เฉ่งไล่
  • อาจารย์วรรัตน์ สุขคุ้ม
  • อาจารย์นันทยา เสนีย์
  • อาจารย์สุวิมล มณีโชติ
  • อาจารย์อาภรณ์ ภู่พัทธยากร

ได้นำวิธีการเรียนการสอนสะท้อนคิดมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ในส่วนของแผนกห้องคลอด โดยให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดในวันแรกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติเนื่องจากเป็น ward ที่ไม่เหมือนกับที่นักศึกษาเคยฝึกมา มีความเฉพาะเจาะจงและอาจทำให้เกิดความเครียด ดังนั้นในการเขียนสะท้อนคิด จะทำให้อาจารย์เข้าใจนักศึกษา และนำส่วนที่นักศึกษาคิดมาปรับในการจัดการเรียนการสอน และช่วยเหลือนักศึกษาต่อไป อีกส่วนคือการให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดในส่วนของการทำคลอดครั้งแรก จะช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนการทำคลอด และสิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุงในการทำคลอดครั้งต่อไป ซึ่งถือว่าการสะท้อนคิดเป็นวิธีการที่ดีในการสอนภาคปฏิบัติ

นำไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 8 คน

สถานที่ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีดำเนินการ

1.ชี้แจงนักศึกษา อาจารย์นิเทศ เกี่ยวกับการใช้ทักษะการสะท้อนคิด

2.กำหนดประเด็นในการสะท้อนคิด สัปดาห์ละ 1 เรื่อง ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 เมื่อต้องสร้างสัมพันธภาพ กับคนผู้ป่วยครั้งแรก

สัปดาห์ที่ 2 การให้การพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวช

สัปดาห์ที่ 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในภาพรวม

สะท้อนคิดโดยการพูดและการเขียนตามโครงสร้าง 6 ขั้นตอน

3.ในระยะแรกเมื่อเจอปัญหาจากการสะท้อนคิด ผู้สอนกลับมาทบทวนเนื้อหาจากการประชุมใหม่

4.ใช้การสะท้อนคิดกับนักศึกษาในสัปดาห์ต่อไป พบว่าการศึกษาต่อเริ่มมีความสอดคล้องมากขึ้นมีการใช้ Reflective ในการ conferrence และเปลี่ยนบรรยากาศเป็นเพื่อนช่วยเพื่อน และผู้สอนมีการเสริมแรงทางบวกให้กับนักศึกษา ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้มากขึ้น

ทดลองใช้ไม่เต็มรูปแบบในการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมภาคปฏิบัติ

ดิฉัน มีความสนใจและเห็นถึงประโยชน์ของการสะท้อนคิด จึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งทางกลุ่มวิชาได้จัดประสบการณ์เสริมนอกเวล่าให้นักศึกษาได้เรียนโดยใช้วิธีสถานการณ์จำลอง (Simulation Base ) กับหุ่น Simmanและได้นำเทคนิค การสะท้อนคิด ไปใช้ในช่วงของ Debrief ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเรียนแบบSimultion

นำไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนสำเร็จการศึกษา จัดเป็นชั่วโมงเพิ่มเติม โดยใช้กับการจัดการเรียนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation base learning ) ในขั้น debrief

ได้ทดลองนำไปใช้ในขั้นตอน Debrief ของการสอนโดยใช้ simulation เช่นกัน ซึ่งคิดว่า การสะท้อนคิดมีประโยชน์ นอกจากส่งเสริมการคิดวิเคราะห์แล้ว ยังช่วย กระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอีกด้วย

ในการเรียนรู้แบบ simulation ในขั้นตอนสรุปของการเรียนรู้จากการใช้ sim การสะท้อนคิดจากการเรียนรู้เพื่อการวางแผนการนำไปใช้ในรายวิชาต่อไป

เอาไปใช้กับการ conference กรณีศึกษา ดีมากในประเด็นเล่าประสบการณ์ก็ให้เล่าข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วย และข้อมูลอื่นๆ ให้เพื่อนๆช่วยตั้งคำถามให้เจ้าของตอบ โดยมีครูช่วย ตามด้วยถามความรู้สึก เทียบกับตำรา ตรงนี้ก็เอาการเปรียบเทียบกับพยาธิสภาพ ถามความรู้ใหม่ทั้งกลุ่ม ถามเจ้าของประเด็นการพัฒนา แนวทางปฏิบัติใหม่หากได้ดูแลผู้ป่วยประเด็นนี้อีก ไม่มีนศ.หลับในเลย คิดว่านศเข้าใจและเข้าสมองมากว่าการนำเสนอแบบเดิมๆมากค่ะ

นำมาทดลองใช้กับการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ณ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง กับ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า ทำให้นักศึกษาได้สะท้อนคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเองและกลุ่ม สามารถคิดเชื่อมโยงได้มากขึ้น และสามารถนำผลการสะท้อนคิดมาปรับปรุงตนเองและการทำงานของกลุ่มได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นำไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้๑. ด้านผู้เรียน นักศึกษาบางคนเขียนสรุปเนื้อที่อ่านโดยการคัดลอกเนื้อหาแทนการสรุป หรือวิเคราะห์จากการอ่าน การเขียนไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควร ยังไม่เข้าใจวิธีการเขียนหรือโครงสร้างของการเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรมีการชี้แจงหรือบอกวิธีการเขียนบันทึกสะท้อนคิดซ้ำ หรือนำชิ้นงานที่ผ่านมา มาวิเคราะห์สิ่งที่ดีอยู่ แล้วสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม ๒.ด้านผู้สอน มีการกำหนดประเด็นที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้หลักของรายวิชา แต่ยังขาดความชำนาญในการตรวจ หรือการประเมิน/ให้คะแนน จากบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรทบทวนหรือมีเกณฑ์การประเมินประกอบอยู่เสมอเมื่อต้องตรวจบันทึกการสะท้อนคิด

การนำไปใช้ในการสอน

รายวิชา : มโนมติ ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล

กลุ่มเป้าหมาย : นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒

วิธีการ : ให้นักศึกษาชมวิดิทัศน์ หนังจากโฆษณา หลังจากนั้นให้นักศึกษาสะท้อนคิดร่วมกัน

ประเด็นในการสะท้อนคิด :

1. ความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพกับการเจ็บป่วย

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

3. ผลกระทบจากการเจ็บป่วย

ผลการสะท้อนคิด:นักศึกษาสามารถแสดงเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เห็นจากวิดีทัศน์กับความรู้ทางทฤษฎีได้

ได้นำวิธีการเรียนการสอนสะท้อนคิดมาใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ในส่วนของแผนกหลังคลอด โดยให้นักศึกษาพูดสะท้อนคิดในช่วงทำ Post conference แต่ละวันของการฝึก ว่านักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง นักศึกษารู้สึกอย่างไร จากการดูแลและการสังเกตพฤติกรรมของมารดาหลังคลอดตลอดวันที่ผ่านมา....และวางแผนจะปรับปรุงในครั้งต่อไปอย่างไร

โดยสรุป การสะท้อนคิดทำให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ซึ่งเป็นผลลัพธ์โดยตรงของกระบวนการสะท้อนคิด โดยการดึงประสบการณ์ในเชิงลึก นักศึกษาจะใช้เวลาในการคิดพิจารณา ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญ การฝึกสะท้อนคิดสามารถฝึกได้โดยวิธีการเขียน (writing) และใช้วิธีการพูด (verbally) และทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นรายกลุ่ม

การเขียนบันทึกสะท้อนคิด (Reflective Journal) เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ผู้สอนใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมถึงกระตุ้นทักษะการสะท้อนคิด บันทึกสะท้อนคิดเป็นเอกสารที่ผู้เรียนเขียนขึ้น เพื่อบรรยายประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในระหว่างการเรียนทฤษฏีฝึกปฏิบัติหรือแม้แต่เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันบันทึกการสะท้อนคิดถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถของกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ

การสะท้อนคิดด้วยการเขียน ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเข้าใจตนเอง และการสะท้อนคิด กล่าวว่าการเขียนเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการเรียนการสะท้อนคิดที่ช่วยให้นักศึกษาแก้ปัญหาและเรียนรู้เกี่ยวกับว่าเขาจะทำอะไร การเขียนหมายรวมถึงการเขียนสิ่งที่เรียนรู้ เป็นการบันทึกเกี่ยวกับความคิดของเขา เมื่อทำบ่อยๆ จะกลายเป็นสิ่งที่เรียนรู้อย่างถาวร เมื่อผู้เรียนเขียนความคิดลงไป ความคิดเหล่านั้นจะถูกจัดรูปแบบ ให้เป็นระบบดีขึ้น การเขียนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างลึกซึ้ง การเขียนสะท้อนคิด เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดจากความพยายามที่จะอธิบายและสื่อสารให้บุคคลอื่นทราบเกี่ยวกับความรู้ และความรู้สึกของตนเองที่มีอยู่ในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในรูปแบบของการบันทึกสิ่งที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความชัดเจนในความรู้

และการกระทำของตนเอง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะเปิดใจในการประเมินตนเอง ส่งเสริมทักษะการรู้จักตนเองมากขึ้น การเขียนอาจทำโดยใช้ Portfolio ในการบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดของผู้เรียนในการมองย้อนถึงการกระทำของตนเองในแต่ละครั้งได้การกำหนดให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดในหัวข้อและในระยะเวลาที่กำหนดจะช่วยให้เกิดความคิดที่ต่อเนื่องและคงทนเนื่องจากการการเขียนจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเองได้ชัดเจน มีการผสมผสานความคิดและสะท้อนความคิดของตนเอง สิ่งสำคัญที่พบอีกอย่างหนึ่งคือ การเขียนสะท้อนคิดทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากการคิดถึงสิ่งที่ผ่านมามาอย่างรอบคอบ การสะท้อนความคิดโดยการเขียนเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอธิบายแนวความคิดและความเข้าใจในสถานการณ์มีการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการรู้จักตนเองมากขึ้น การเขียนสะท้อนคิดนี้ยังเหมาะกับผู้เรียนที่ไม่ค่อยชอบพูดทำให้นักศึกษาสามารถมีโอกาสได้แสดงความรู้สึกความคับข้องใจต่างๆที่ได้จากการฝึกปฏิบัติและนำไปสู่การพัฒนาทักษะในการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้

ประเด็นที่ 3 ท่านพบปัญหาอุปสรรค หรือ มีข้อเสนอแนะ อะไรบ้างจากการเรียนการสอนแบบ reflective thinking

ดังมีอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้

1.อาจารย์ลำเจียก กำธร

ข้อเสนอแนะในการเรียนการสอนแบบ Reflextive Thinking..... การให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดออกมาภายหลังที่ผู้สอนจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีหรือภาคปฎิบัติ ซึ่งอาจจะทำในขั้นก่อนที่จะสรุปบทเรียน หรืออาจจะใช้ในขั้นสรุปบทเรียนโดยตรงก็ได้ เช่น ภายหลังให้ผู้เรียนนำเสนองานหรือกรณีศึกษา ก็อาจใช้คำถามกับผู้เรียนเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ถามภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย อบอุ่นและเป็นกันเอง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทีละคน โดยที่ผู้สอนอย่ารีบด่วนสรุป ควรรอ โดยครูเป็นผู้ฟังหรืออย่าชี้นำความคิด หรือแสดงความคิดเห็น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังผู้เรียนจนครบทุกคน อาจพูดคุยในรูปแบบการล้อมวง หรือเป็นกลุ่ม แล้วครูจึงช่วยให้ผู้เรียนช่วยกันสะท้อนคิดสิ่งที่ได้เรียนรู้ สรุปออกมาเป็นประเด็น จากนั้นผู้สอนค่อยเสริมให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนปล่อยผ่านหรือหลุดประเด็นสำคัญภายหลัง ตัวอย่างที่ผู้เขียนใช้การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดคือ ประเด็นการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดครั้งแรกในผู้ป่วยจิตเวช (Interaction ในระยะ Initial phase)..... การสะท้อนภายหลังการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช ..... การพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช โดยให้นักศึกษาเลือกกรณีศึกษาของเพื่อนในกลุ่มคนหนึ่งในการเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่นำมาสะท้อนคิด เช่น การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหลงผิด ประสาทหลอน ซึ่งนักศึกษาในกลุ่มทั้งหมดจะเคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว และรับรู้อาการของผู้ป่วยจากการรับเวร ส่งเวร และจากการสังเกตผู้ป่วยอื่นที่มีอาการมาก่อน โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร และมีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและแหล่งที่มาของความรู้ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ และสรุปเป็นประเด็นความรู้บันทึกในสมุดความรู้ ทั้งนี้

ในช่วงท้ายชั่วโมง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องจัดเวลาให้มีการสะท้อนคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนหรือผู้นิเทศอาจต้องยอมเสียเวลาบ้าง เพื่อตรวจสอบว่าภายหลังการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ด้านความรู้ ด้านอารมณ์ และเจตคติ เชื่อได้ว่าหากผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดสะท้อนความคิดของเขาออกมาบ้าง ในทุกๆ ครั้งหลังการเรียนการสอนหรือภายหลังการนิเทศจะทำให้การเรียนการสอนมีความหมายและเกิดประโยชน์สำหรับผู้เรียนอย่างแท้จริง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำการเขียนสะท้อนคิดของนักศึกษาที่ฝึกภาคปฎิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตมาเป็นตัวอย่างต่อไป

2.อาจารย์กาญจนา พรหมทอง

ได้ลองใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ในการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 สามารถทำได้ดีพอควร มีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน แต่คิดว่ายังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตามประเด็นต่างๆที่พบเห็นจากการทดลองใช้เทคนิคการสะท้อนคิด ดังนี้

1. ด้านผู้เรียน ยังมีนักศึกษาบางคนเขียนสรุปเนื้อที่อ่านโดยการคัดลอกเนื้อหาแทนการสรุป หรือวิเคราะห์จากการอ่าน การเขียนไม่เขียนยังไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควร ยังไม่เข้าใจวิธีการเขียนหรือโครงสร้างของการเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรมีการชี้แจงหรือบอกวิธีการเขียนบันทึกสะท้อนคิดซ้ำ หรือนำชิ้นงานที่ผ่านมา มาวิเคราะห์สิ่งที่ดีอยู่ แล้วสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

2. ด้านผู้สอน ได้มีการกำหนดประเด็นที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้หลักของรายวิชา แต่ยังขาดความชำนาญในการตรวจ หรือการประเมิน/ให้คะแนน จากบันทึกการสะท้อนคิด ดังนั้นควรทบทวนหรือมีเกณฑ์การประเมินประกอบอยู่เสมอเมื่อต้องตรวจบันทึกการสะท้อนคิด ถ้าให้ดียิ่งขึ้นควรฝึกเขียนด้วยตนเองบ่อยครั้งจะทำให้เพิ่มความชำนาญทั้งการเขียนและการตรวจ

3.อาจารย์ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์

ปัญหาที่พบนั้น จะเจอเกี่ยวกับการเขียนของนักศึกษา ที่อาจยังไม่เข้าใจการเขียนสะท้อนคิด นักศึกษาเขียนมาสั้น ๆ ในครั้งแรก ต้องอธิบายให้ให้เขียนใหม่อีกครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิด ให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนหรือประโยชน์ของมันเพื่อจะได้รับประโยชน์ของการสะท้อนคิดสูงสุด

4.อาจารย์ลำเจียก กำธร

นำไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 8 คน

สถานที่ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

วิธีดำเนินการ

1.ชี้แจงนักศึกษา อาจารย์นิเทศ เกี่ยวกับการใช้ทักษะการสะท้อนคิด

2.กำหนดประเด็นในการสะท้อนคิด สัปดาห์ละ 1 เรื่อง ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 เมื่อต้องสร้างสัมพันธภาพ กับคนผู้ป่วยครั้งแรก

สัปดาห์ที่ 2 การให้การพยาบาลกับผู้ป่วยจิตเวช

สัปดาห์ที่ 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด

สะท้อนคิดโดยการพูดและการเขียนตามโครงสร้าง 6 ขั้นตอน

3.ในระยะแรกเมื่อเจอปัญหาจากการสะท้อนคิด ผู้สอนกลับมาทบทวนเนื้อหาจากการประชุมใหม่

4.ใช้การสะท้อนคิดกับนักศึกษาในสัปดาห์ต่อไป พบว่าการศึกษาต่อเริ่มมีความสอดคล้องมากขึ้นมีการใช้ Reflective ในการ conferrence และเปลี่ยนบรรยากาศเป็นเพื่อนช่วยเพื่อน และผู้สอนมีการเสริมแรงทางบวกให้กับนักศึกษา ส่งเสริมใหเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้มากขึ้น

ปัญหา- อุปสรรค

1.การตรวจให้คะแนนของอาจารย์ยังไม่มีความชำนาญเท่าที่ควรแก้ปัญหาโดยการเปิดเกณฑ์การประเมินควบคู่ร่วมด้วย

2.การตั้งคำถามของนักศึกษาไม่ตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ และไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้มากนักดังนั้น การตั้งคำถามที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องที่ชัดเจน

3.นักศึกษาไม่สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองได้จริง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนใหญ่

ข้อเสนอแนะ

1.กำหนดไม่ให้เกิน 1 หน้า บอกนักศึกษาว่าเราจะต้องนำสิ่งที่ดี ที่สุดมาส่ง เพราะจะเป็นการฝึกทักษะการประเมินค่า

2.ให้เพื่อนๆในกลุ่มร่วมกัน feedback “เพื่อนช่วยเพื่อน” และผู้สอนทำหน้าที่เป็น Facilatator

3.ให้เติมคำในช่องว่าง เพื่อให้นักศึกษามีแนวทางในการเขียนบันทึกการสะท้อนคิดได้ตามเกณฑ์การบันทึกได้มากขึ้น

4.การตั้งคำถามที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนรู้ในเรื่องที่ชัดเจน

อาจารย์นิตยา ชีพประสพ

จากการให้นักศึกษาได้ลองฝึกทำการสะท้อนคิดในการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 พบว่า นักศึกษายังขาดทักษะการเขียนสะท้อนคิดเนื่องจาก ยังไม่ได้ เตรียมนักศึกษา ดังนั้นก่อนสอนต้องเตรียมนักศึกษา และต้องเตรียมครูไปพร้อมๆกันด้วยเพราะ ครูก็ต้องให้คำแนะนำนักศึกษาด้วยค่ะ

5.อาจารย์ดวงแข รักไทย

ผู้สอน และผู้เรียน จะต้องมีการเรียนรู้ จึงจะเกิดทักษะ

6.อาจารย์เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นความท้าทายด้านการศึกษาอย่างมากในการเตรียมนักเรียน

และครูให้พร้อมกับชีวิต ที่ มีการปรับเปลี่ยนทางสังคมซึ่งส่งผลต่อวิถีการดำรงชีวิตทางการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 33 บัญญัติให้มีการจัดทำแผนการศึกษา

แห่งชาติที่บูรณาการ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา กับการศึกษาทุกระดับ การศึกษาพยาบาล

เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

และการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ในเชิงสังคมวิทยา มนุษย์วิทยา บนพื้นฐานความเอื้ออาทร ภายใต้

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากสภาพจริงด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายมุ่งเน้น

ชุมชน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ดังนั้น การจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาพยาบาล ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้

1) เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ ครูหรืออาจารย์ เป็นผู้อำนวยความสะดวก ( Facilitator) หรือผู้แนะนำ

(Coaching)

2) เปลี่ยนสื่อการเรียนการสอน ที่ต้องใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

3) เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น (Teach Less, Learn More)

การจัดการเรียนรู้การศึกษาพยาบาลจึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นเข็มทิศนำไปสู่ความเป็นวิชาชีพพยาบาลที่ดีเลิศ มีความเอื้ออาทร และบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การเรียนการสอนแบบ reflective thinking จึงเป็นรูปแบบ การเรียนการสอนแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น active learner ซึ่งเหมาะกับการจัดการเรียนรู้การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21

7.อาจารย์วราณี สัมฤทธิ์

ปัญหาที่พบจากการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ คือ การใช้คำถามที่ผู้เรียนไม่เข้าใจ ทำให้ต้องปรับคำถามหลายๆครั้ง และ การถามที่เป็นลำดับขั้นตอน ทำให้ผู้สอนกังวลว่าคำถามจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน แต่บางครั้งคำตอบของผู้เรียนจะไปอยู่ในส่วนของข้อคำถามหลังจากข้อที่ถาม แต่ถ้าผู้สอนได้ฝึกเทคนิคนี้บ่อยๆ จะมีประสบการณ์และสามารถได้ประเด็นการสะท้อนคิด ที่มีการลื่นไหลทางความคิดได้อย่างเป็นอัติโนมัติทั้งนี้ดิฉันคิดว่า ผู้สอนต้องฝึกความไวในการจับประเด็น และอาจต้องใช้ทักษะการตั้งคำถาม เพื่อสะท้อนความรู้สึก ความคิดของนักศึกษา ในขณะนั้นทันที เพราะสิ่งที่นักศึกษา สะท้อนความคิดออกมาอาจจะผิด concept ทางวิชาการ หรือ การกระทำที่ขัดต่อจริธรรม หรือกฎหมาย ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนหรือพูดให้คิดทันที ในขณะนั้น ทั้งนี้ที่ดิฉันมีความคิดเห็น เช่นนี้เพราะดิฉันนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้ในการวิเคราะห์ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติด้านสุขภาพ ซึ่งต้องมีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ

8.อาจารย์ภารณี เทพส่อง

การตั้งคำถามให้นักศึกษาสะท้อนคิดยังไม่ตรงประเด็น ทำให้กระตุ้นการคิดของนักศึกษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงสะท้อนผลการเรียนรู้ออกมาไม่ชัดเจน

9.อาจารย์น้ำทิพย์ จิตรชูชื่น

mind map reflective.pdfการจัดการเรียนการสอนแบสะท้อนคิดที่มีการนำไปใช้ทำให้ทราบว่าโดยภาพรวมนักศึกษายังไม่สามารถเรียนรู้ได้ทุกกระบวนการขั้นตอนกล่าวคือ นักศึกษายังไม่สามารถเรียนรู้ครบตามกระบวนการสะท้อนคิอ คือ จากสถานการณ์ที่ใช้ในการเรียนรู้วิชารักษาโรคเบื้องต้นพบว่า

ในกระบวนการขั้นตอนที่ 1.เหตุการณ์ที่ฉันประทับใจ นักศึกษาสามารถบอกได้จากสถานการที่ตัวเองพบเจอ หรือกระทำด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่2ในตอนนั้นฉันรู้สึกว่า นักศึกษาสามารถบอกความรู้สึกของตนเองในสิ่งที่พบเจอรวมทั้งภาพรวมของกลุ่มที่เป็นความรู้สึกที่สะท้อนมา

ขั้นตอนที่ 3 เหตุการณ๋ดังกล่าวก่อให่เกิดผลกระทบอย่างไร นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าตนมีข้อบกพร้องหรือ ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ตนไม่สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ว่าจะส่งผลอย่างไรและสมาชิกในกลุ่มก็สามารถบอกถุงผลกระทบของการดำเนินการเป็นทีมที่ยังมีข้อบกพร่อง ไม่สามารถให้การพยาบาลตามบทบาทของทีมที่เหมาะสม

แต่ขั้นตอนที่ 4 นักศึกษาจะไม่สามารถตั้งคำถามได้ตรงและสอดคล้องกับสถานการณ์ในการตั้งคำถามส่วนมากจะออกมาจากความรู้สึกจึงทำให้คำถามที่สื่อออกมาเพื่อการนำไปวางแผนการเรียนรู้ต่อจึงไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเมื่อตั้งคำถามแล้วจะต้องให้มีการไปทบทวนเหตุการณ์แล้วกลับมาสะท้อนคิดอีกครั้งตามกระบวนสะท้อนคิดจึงจะสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคตทั้งการฝึกภาคปฏิบัติตลอดจนการสอบสภาหรือการปฏิบัติงานจริงบนหอผู้ป่วย ซึ่งจะเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดนอกจากการเตรียมตัวในบทบาทผู้สอนแล้วการเตรียมตัวในบทบาทผู้เรียนก็ต้องมีควบคู่ไปด้วยกันพร้อมรวมทั้งระยะเวลาเพื่อการบรรลุผลสำเร็จ

10.อาจารย์วรรัตน์ สุขคุ้ม

ปัญหาอุปสรรคในการใช้เทคนิคสะท้อนคิด โดยส่วนตัว คิดว่าน่าจะเป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิดให้ชัดเจน อาจารย์ต้องมีประสบการณ์ในเทคนิคการตั้งคำถามสะท้อนคิด และควรมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนรู้วิธีการเขียนแบบสะท้อนคิด เพราะสังเกตพบว่านักศึกษาเขียนแบบสั้นๆ ไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้ไม่ชัดเจน

11.อาจารย์เพ็ญจันทร์ มณีโชติ

ปัญหาอุปสรรคในการสะท้อนคิดในขณะนี้ คืออาจารย์ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอนแบบนี้ จึงมีความยากลำบากในการตั้งคำถามการสะท้อนคิดเพื่อกระตุ้นนักศึกษา อาจารย์อาจต้องใช้เวลาในการฝึกตั้งคำถาม ในขณะเดียวกันกับการฝึกนักศึกษาไปด้วย

12.อาจารย์นฤมล เฉ่งไล่

ครูต้องออกแบบการสอนและคำถามล่วงหน้าให้กระชับ ให้ใบงานนศ.ล่วงหน้าในช่วงแรกๆที่นศ.ยังไม่ชินกับการเรียนการสอนแบบนี้ นศ.ก็ต้องได้รับการฝึกเรื่องการตั้งคำถาม การระดมสมอง มากกว่านี้โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยพูด

13.อาจารย์นันทยา เสนีย์

ปัญหาที่พบนั้น คือ นักศึกษามีปัญหาในเรื่องการเขียนอธิบาย และอาจยังไม่เข้าใจการเขียนสะท้อนคิด นักศึกษาเขียนมาสั้น ๆ ในครั้งแรก ต้องอธิบายให้เขียนใหม่อีกครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิด ให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนหรือประโยชน์ของมันเพื่อจะได้รับประโยชน์ของการสะท้อนคิดสูงสุด

14.อาจารย์สุวิมล มณีโชติ

หลายท่านจะรู้สึกว่าผลงานวิจัยที่ทำถูกวางไว้โดยไม่มีผู้อื่นรับรู้ ไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ ทั้งที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่ดี มีกระบวนการวิจัยที่สมบูรณ์ทุกขั้นตอน เพียงเพราะว่าเหนื่อยล้าและถอดใจกับการแก้ไขบทความให้ถูกต้องตามที่แหล่งเผยแพร่ต้องการ หากท่านสามารถเปิดใจยอมรับว่านั่นคือ การพัฒนา เป็นการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่จะทำให้งานวิจัยชิ้นนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น เป็นที่ยอมรับทั้งแหล่งตีพิมพ์ ยอมรับในผลงานวิจัย และยอมรับตัวผู้วิจัยเอง จะทำให้ท่านแก้ไขงานวิจัยนั่นอย่างเป็นสุข และต้องมีความมุ่งมั่นว่างานวิจัยที่ท่านลงทุนสร้างนั้น มีคุณค่าจริงและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ จะทำให้มีกำลังใจในการแก้ไขชิ้นงานให้สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อได้รับการตีพิมพ์แล้วจะทำให้เป็นการปิดช่องว่างระหว่างผู้วิจัยกับผู้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง

กนกนุช ชื่นเลิศสกุล (2544).การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด:การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 35-48.

เชษฐา แก้วพรหม (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 12-20.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย (2553). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Freshwater, D, Taylor, B, & Sherwood, G. (Eds) (2008). International Textbook of reflective

Practice in Nursing. Oxford: Blackwell Publishing & Sigma Theta Tau Press.

Johns, Christopher (2000). Becoming a Reflective Practitioner. London:

Blackwell Science.

Sherwood, G. & Horton-Deutsch, S.(Eds.) (2012). Reflective Practice: Transformimg Eduation

and Improving Outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau Press.

หมายเลขบันทึก: 594187เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2015 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท