บทความวิชาการ เรื่อง มุมมองการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน (Cultural Tourism Perspective and Participation of Community)


..88 วิชาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.pdfบทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่สร้างงานและรายได้ให้กับประเทศและชุมชน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเน้นความสำคัญที่อาคารสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ ศาสนา และงานประเพณีระดับชาติ เช่น วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง อุทยานประวัติศาสตร์ และงานประเพณีสำคัญ ปัจจุบันการตลาดการท่องเที่ยวอาศัยส่วนประสมทางการตลาด (Service Marketing Mix หรือ 7Ps) มีความสำคัญต่อ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับการท่องเที่ยวประเภทอื่น ปัจจัยที่สำคัญมาก นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product) การกำหนดราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) แล้ว การมีส่วนร่วมของชุมชนในฐานะ People หมายถึงประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและนำเสนอข้อมูลที่แท้จริงและความเป็นมาของสถานที่และชุมชนนั้น ๆ โดยคำนึงถึงการประสานความร่วมมือในการพัฒนากันให้คงอยู่ด้วยความเก่าแก่และเป็นระเบียบเรียบร้อย คือความงดงามทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ดังนั้น ชุมชนควรมีแผนการสื่อสารการตลาด ในลักษณะของกระบวนการ (Process) ซึ่งนักเดินทางหรือนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริการทุกด้านอย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสื่ออินเทอร์เน็ตหรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือ สามารถนำเสนอข้อความและภาพที่น่าสนใจของสถานที่ รวมถึงจุดเด่นที่ดึงดูดความต้องการร่วมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ก่อนที่จะไปสัมผัสสิ่งที่เห็นทางกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence and Presentation) ณ สถานที่จริง

หมายเลขบันทึก: 594205เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท