700. เรียนรู้ศาสตร์ OD จาก "สามก๊ก" (ตอนที่ 30)


ในบรรดาตัวละครของสามก๊ก ถ้าถามผมว่าใครเป็น Idol ของผม นาทีนี้ตอบได้อย่างไม่ต้องคิดเลย นั่นคือ “จูล่ง สุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน" ผมได้เรียนเรื่องของจูล่งมาตั้งแต่สมัยเด็ก นั่นคือตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ผมวว่า จูล่งคืออัศวินที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ ดังพอๆกับอัศวินที่อยู่รอบกายของกษัตริย์อาเธอร์ ประมาณว่าดังพอๆกับท่านเซอร์กาลาฮัด ผู้จริยาวัตรที่งดงาม กล้าหาญ ชาญฉลาด เป็นต้นแบบอัศวินของโลกตะวันตก ผมว่าจูล่งกับท่านเซอร์กาลาฮัด มีอะไรที่คล้ายคลึงกันมากๆ

ผมว่าท่านจูล่งคือสุดยอดนักรบ และเป็นต้นแบบให้คนในยุคหลังได้หลายเรื่องๆ และที่ผมชอบจูล่งมากๆ ไม่ใช่เรื่องความกล้าหาญอย่างเดียว มีเรื่องอื่นอีก ชัดมากๆ คือตอนที่ซุนฮูหยิน น้องสาวซุนกวน ถูกหลอกให้ลอบหนีออกจากเมือง เพื่อกลับไปเยี่ยมท่านแม่ โดยพาอาเต๊าไปด้วย ฮูหยินกะพาหลานไปหาแม่ แล้วค่อยกลับมา

แต่จูล่งรู้ข่าว ก็รีบตามไป แม้เรือของซุนฮูหยินจะไปไกลแล้ว จูล่งก็ตามจนทัน และแม้ฝั่งทหารง่อก๊กจะระดมยิงธนูอย่างไร จูล่งก็สามารถตะลุยผ่านขึ้นเรือซุนฮูหยินจนได้ และเมื่อเผชิญหน้ากัน จูล่งถามว่าทำไมจากมาจึงไม่บอกขงเบ้ง ท่านฮูหยินก็แสดงอาการโกรธ อธิบายไปคาดโทษจูล่งไปว่า “ท่านแม่ป่วยต้องรีบกลับไปดูใจ” จูล่งถามว่า “แล้วทำไมต้องเอาอาเต๊สไปด้วย” ฮูหยินตอบว่า “จะเอาหลานไปให้แม่ดู แล้วมันผิดอะไรหรือ”

จูล่งบอกว่าไม่ได้ เพราะอาเต๊าเป็นรัชทายาท ท่านจะไปก็ได้ แต่ท่านเอาอาเต๊าไปไม่ได้ เกิดง่อก๊กกักตัวรัชทายาทไว้ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่

ฮูหยินพยายามดึงดันจะไม่ปล่อยอาเต๊าไป จูล่งจึงตัดสินใจเข้าไปแย่งอาเต๊ามาจากอก ที่สุดก็ได้อาเต๊าคืนมา

ทั้งสองก็แยกจากกัน และเมื่อซุนฮูหยินกลับไปถึงง่อก๊ก ก็รู้ว่าถูกหลอก ท่านแม่ไม่ได้ป่วย นี่เป็นกลลวงของซุนกวน ซุนฮูหยินถูกกักตัว ไม่ได้เจอสามีอีก และที่สุดก็ตรอมใจตาย

ลองจินตนาการดูนะครับ ถ้าเป็นคนอื่นไป ผลอาจไม่เป็นอย่างนี้ อาเต๊าจะไม่มีโอกาสเติบโตมาเป็นกษัตริย์ ประวัติศาสตร์อาจเปลี่ยนไปเลย ด้วยจูล่งนี่เอง ที่ทำให้อาเต๊าได้เป็นฮ่องเต้ ต่อลมหายใจราชวงค์ฮั่นไปอีกนิด

คุณจะเห็นว่า จูล่ง เป็นคนที่สุดยอดมากๆ ถ้าอธิบายปรากฏการณ์ชิงอาเต๊าครั้งนี้ สามารถอธิบายได้เลยว่า

ทำไมจูล่งจึงกลายเป็นอัศวินที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์

จูล่งเป็นคนที่รักษาหน้าที่เยี่ยงชีวิต (Responsibilty) ประมาณว่าได้รับหน้าที่ทำอะไรก็ทำจะสุดๆ เอากายเข้าแลก ทุ่มเทสุดตัว

จูล่งเข้าใจบทบาท (Role) ของตนเอง ไม่สับสน ตอนเผชิญหน้ากับฮูหยิน ซึ่งการคือราชินินั่นเอง จูล่งเข้าใจอย่างชัดเจนว่าจนมีหน้าที่ปกป้องรัชทายาท รัชทายาทจะไปไหนไม่ได้ และถึงซุนฮูหยินจะเป็นนาย จูล่งก็ไม่สับสน แยกแยะออกว่าบทบาทตอนนี้คือปกป้องรัชทายาท ไม่ใช่รับใช้ราชินี นี่ขัดมากๆ ถ้าคนอื่นอาจสับสน เพื่อนี่คือคนที่สั่งตัดคอได้เลย แต่จูล่งไม่สนใจ

จูล่งมีความรับผิดชอบ () จะเห็นว่าเมื่อได้ภารกิจมาแล้ว เอาคอเป็นประกันเลย ไม่ได้สับสนมองหาคนรับผิดชอบ หรือโยนความผิดให้ใคร ตรงนี้เองที่ทำให้จูล่งมีการตัดสินใจที่ฉับไวเด็ดขาด บางคนอาจบอกว่า อย่างนี้ต้องขงเบ้งคิดแทนแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ตายแน่ครับ

สามคำนี่เอง Responsibility, Role, Accountability เป็นสิ่งที่นิยามวีรบุรุษท่านนี้ครับ

ส่วนซุนฮูหยินเองต้องถูกพรากจากสามี ถูกขัง และตรอมใจตายก็เพราะสับสนเรื่อง Role Responsibilty และ Accountability ของความเป็นราชินีของตนนั่นเอง

สามคำนี่เองที่ผมว่าถ้าองค์กรสามารถทำให้คนคิดได้ เข้าใจเรื่องนี้ได้ คุณก็จะมีคนเก่ง มีอัศวินที่คอยสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้อย่างฉับไว มั่นใจ

เอาเป็นว่าคนจะเก่ง จะดีไม่พอครับ ต้องเข้าใจคำว่า Role Responsibilty และ Accountability อย่างถ่องแท้ และปฏิบัติอย่างไม่ให้สับสนด้วย โดยเฉพาะยามเจอวิกฤติ

และวันนี้ขอขอบคุณคุณสุทธิ ศิษย์เก่า MBA ที่เล่าแนวคิดสามคำนี้ให้ผมฟัง ทำให้ผมไปต่อยอดอะไรได้หลายเรื่องเลยครับ

ส่วนผมเองก็ต้องมาทบทวนตัวเองว่าผมมีสามตัวนี้ครับไหม ที่สำคัญผมต้องหมั่นทบทวนมันเรื่อยๆไปตลอดชวิตครับ

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

หมายเลขบันทึก: 593864เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2015 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2015 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท