Capture the fracture 8 : งานที่ โรงพยาบาลตำรวจ โดย พ.ต.ต. นพ.ธนวัฒน์ อำพันทรัพย์



  1. ทำไมถึงสนใจทำ Capture the fracture

ตอบ. หลังจากได้เก็บข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับกระดูกสะโพกหักในโรคกระดูกพรุนของ รพ.ตำรวจเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งข้อสรุปพบว่า อัตราการตายที่ 1 ปีมีถึง 9%, 70% มีการเกิดหกล้มซ้ำ, 30% เกิดกระดูกหักซ้ำและต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาใน รพ., 10% เท่านั้นที่ได้รับการตรวจมวลกระดูก และมีเพียง 5% ที่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน ทำให้รู้สึกว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการดูแลรักษาเรื่องกระดูกพรุนรวมถึงการป้องกันการหกล้มเท่าที่ควร เลยทำให้ผมและทีมงานจึงสนใจโครงการ Liaison: Capture the fracture และตัดสินใจเริ่มทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้แบบองค์รวม


2. มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและแก้ไขอย่างไร

ตอบ. เนื่องจากเป็น รพ.รัฐบาลทำให้มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างด้วยกัน ได้แก่

1. งบประมาณที่สนับสนุนน้อย

2. ไม่มีแพทย์หรือบุคลากรที่ดูแล เก็บข้อมูล ทำหน้าที่ประเมินและสอนผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน เพราะส่วนใหญ่จะมีภาระงานประจำที่ต้องทำหน้าที่อยู่แล้ว

3. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการส่งตรวจมวลกระดูกรวมทั้งการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้ยาต่อเนื่องนาน ผู้ป่วยบางสิทธิการรักษาต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

4. บางครั้งผู้ป่วยและญาติไม่เห็นความสำคัญของการรักษาโรคกระดูกพรุนและป้องกันการหักซ้ำในอนาคต

แนวทางการแก้ไข:

1.ให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของโครงการและให้การสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและงบประมาณ

2.ให้แพทย์ผ่าตัด เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในการรักษาโรคกระดูกพรุน นอกเหนือจากการผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน

3. ให้ความรู้และจัดกิจกรรมให้กับผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เห็นความสำคัญและผลเสียที่ตามมาจากการเกิดกระดูกหักซ้ำ

4. พยายามกระตุ้นทีมงานให้มีความสุข ทำงานด้วยจิตอาสา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการรักษาต่อไป


3. ขณะนี้ได้ผลตอบรับเป็นอย่างไรและมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ริเริ่มจะทำอย่างไรบ้าง

ตอบ. ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควรในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้ากลุ่มงาน (อ.พีระชัย) และทีมงาน PGH’s Liaison โดยผู้ป่วยในโครงการได้รับการตรวจมวลกระดูก, ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุนมากขึ้น รวมทั้งเห็นความสำคัญของการป้องกันการหกล้มด้วย สำหรับ รพ.ที่อยากจะเริ่มโครงการนี้ อย่างแรกคงต้องมีผู้นำทีมคือแพทย์ที่สนใจเรื่องกระดูกพรุน ทีมงานโดยเฉพาะพยาบาลที่ช่วยประสานงาน, ควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และสุดท้ายคือจิตอาสาครับ เพื่อให้ทีมงานมีความสุขกับการทำงานครับ


หมายเลขบันทึก: 593424เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท