​เริ่มต้นด้วยนิทาน... อาหารของเด็ก (๑)


วันนั้นพวกเขาสนุกกับการพูดคำว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” กันทั้งวัน และพากันเขียนข้อความนี้เอาไว้ตรงหน้าปกสมุด เพื่อเตือนใจตัวเอง

ทุก ๑๐ สัปดาห์ (๑ ภาคเรียน) นักเรียนโรงเรียนเพลินพัฒนา ตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ - ม.๖ จะต้องทำแบบสอบถามเจตคติต่อการเรียนรู้ ที่มีคำชี้แจงว่า ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามตรงตามความเป็นจริง เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้รับกลับไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

ก่อนหน้านี้ในหน่วยวิชาที่นักเรียนต้องเขียนบรรยาย เช่น หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย มักจะมีนักเรียนเขียนสะท้อนว่า "ไม่ชอบเรียน เพราะเขียนเยอะ"

แต่มาวันนี้... นักเรียนชั้น ป.๒ เขียนกลับมาในแบบสอบถามว่า "เทอมนี้เขียนเยอะ แต่ไม่เหนื่อยเลย สนุก ชอบเรียนนิทาน"


.....................................................................


เมื่อ ๓ เดือนที่แล้ว คุณครูใหม่ - วิมลศรี ศุษิลวรณ์ กับ คุณครูต้อง - นฤตยา ถาวรพรหม และ คุณครูแนน - อลิษา โกพัฒตา มาช่วยกันคิดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนชั้น ป. ๒ ได้เริ่มต้นเรียนวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยด้วย นิทานกระต่ายกับเต่า

วันนั้นพวกเขาสนุกกับการพูดคำว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” กันทั้งวัน

และพากันเขียนข้อความนี้เอาไว้ตรงหน้าปกสมุด เพื่อเตือนใจตัวเอง

พ ย า ย า ม เ ข้ า น ะ เ ด็ ก ๆ !




กติกาของการเรียนรู้ในภาคฉันทะ คือ เด็กๆ ต้องพยายามเขียนหนังสือให้สวย และพยายามใช้คำที่มีความไพเราะให้มากที่สุด ดังนั้น ก่อนที่จะลงมือเขียนเรื่องใดๆ จึงต้องเริ่มด้วยการคิดคลังคำ



นิทานกระต่ายกับเต่า เปิดตัวฉาก ให้นักเรียนที่เพิ่งเรียนจบชั้น ป.๑ มาหมาดๆ เกิดความมานะพยายามในการเรียนรู้ และได้ลิ้มรสความสำเร็จเล็กๆ ที่เป็นจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ได้ในทุกวัน



ภูมิปัญญาภาษาไทย เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการร่วมกับหน่วยวิชามานุษกับโลก (สังคมศึกษา + วิทยาศาสตร์) ที่กำลังสนใจเรียนเรื่องพืช

นิทานกระต่ายกับเต่า พานักเรียนไปพบประสบการณ์ในการเรียนรู้คุณธรรมเรื่องความพยายาม และทักษะการสังเกตรูปร่างลักษณะของผักบุ้ง ที่เป็นอาหารของทั้งเต่าและกระต่าย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ต่อไปอีกว่าผักบุ้งไทยมีลักษณะเช่นไร

กลายเป็นงานเขียนสั้นๆ ที่มีชีวิตชีวา น่าอ่าน




เรียนเขียนงานเรื่องผักบุ้งกันจบแล้วก็เปลี่ยนไปเขียนเรื่องดอกบัว และการเรียนรู้ เรื่องของการเปรียบบุคคล ๔ จำพวกกับดอกบัว ๔ เหล่า ในสัปดาห์วิสาขบูชา




หมายเลขบันทึก: 593419เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2015 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท