จากแผนที่ความคิดข้างบนชวนทุกท่านให้ทบทวนประเมินบทบาทตัวเองในที่ทำงานว่า “กำลังแสดงบทบาทอะไรแล้วมีความสุขที่แท้จริงในการพัฒนาตนเองกับกัลยาณมิตรผู้ร่วมงาน” นำไปสู่สุขภาวะแห่งการเรียนรู้ระหว่างองค์การ (Learning Organization, LO)
เราสามารถแบ่งบทบาทที่ทำงานตามองค์กรที่กำลังเกิดการเรียนรู้ได้เป็น
ระดับ 1 ครู/อาจารย์ (Teacher) มีบทบาทพูด อธิบายสิ่งที่ยากให้ง่าย มีความกระตื้อรือล้น ชอบวิจารณ์ สร้างเสริมพลัง ใส่ใจ และแสดงความเป็นมิตร ใช้เวลาพัฒนาถึง 5 ปี ก็จะสามารถแสดงบทบาทในระดับ 2
ระดับ 2 ครู/อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor) มีความกระตื้อรือล้น ชอบตรวจสอบ ให้คุณค่า ชอบแนะนำ ช่างสังเกต และแสดงความเป็นมิตร ใช้เวลาพัฒนาถึง 10 ปี ก็จะสามารถแสดงบทบาทในระดับ 3
ระดับ 3 ครู/อาจารย์ผู้ฝึกสอน (Coach) ชอบวิจารณ์ ช่างสังเกต มีความกระตื้อรือล้น ใส่ใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ ใช้เวลาพัฒนาถึง 15 ปี ก็จะสามารถแสดงบทบาทในระดับ 4
ระดับ 4 ครู/อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor) ช่างสังเกต แสดงความเป็นมิตร สร้างแรงจูงใจ สร้างเสริมพลัง และชอบเล่าเรื่องเร้าพลัง ใช้เวลาพัฒนาถึง 20 ปี ก็จะสามารถแสดงบทบาทในระดับ 5
ระดับ 5 ครู/อาจารย์ผู้สร้างแรงบันดาลใจ (Inspirator) ริเริ่มคิด ช่างสังเกต ให้เกียรติ ไว้ใจ กระตื้อรือล้น แสดงความเป็นมิตร มีจินตนาการ สงบสุข แนะนำ และชอบเล่าเรื่องเร้าพลัง
อย่างไรก็ตาม แต่ละระดับของบทบาทข้างต้นบ่งชี้ถึง “ภาวะผู้นำในตนเอง” ยิ่งมีคุณลักษณะอันพึงประโยชน์มากข้อ ยิ่งมีภาวะผู้นำในตนเองสูงและรู้จัก “เอาใจเขามาใส่ใจเราสู่การพัฒนาทักษะเมตตาคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น”
ปัจจุบันนี้ด้วยการแข่งขันกันทางวัตถุนิยม ทำให้การเติบโตภาวะผู้นำและการแสดงบทบาทครู/อาจารย์ตั้งแต่ระดับ 1-5 ไม่เป็นไปตามระยะเวลาของการสะสมประสบการณ์การทำงานในที่ใดๆ ส่งผลให้เกิด “อัตตามากกว่าเมตตา” ทำให้การบ่มเพาะความงอกงามทางจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ควรหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรมความดีงามลดลงไปด้วย
กลุ่มการเจริญสติสัมปชัญญะด้วยการภาวนาศีล การฝึกสมาธิ และการสร้างปัญญา ได้สนใจ “กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง” ทำให้เกิดการแสดงบทบาทผู้นำแนวใหม่คือ “กระบวนกร (Facilitator)” ผู้สามารถฝึกฝนตลอดชีวิตและมีการบูรณาการบทบาทครู/อาจารย์ทุกระดับข้างต้น จึงมีคุณลักษณ์ที่กัลยาณมิตรทุกท่านพึงทบทวนและฝึกฝนให้กลายเป็นทักษะชีวิต ได้แก่ ริเริ่มคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกระตื้อรือล้น มีความคิดยืดหยุ่น แสดงความเป็นมิตร ช่างสังเกต มีทักษะทำงานเป็นทีม มีทัศนคติก้าวหน้า ไว้ใจ มีจินตนาการ และเป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอ
กระบวนกร ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง 11 ส.ค. 58
ชอบระดับที่ 5 การสร้างแรงจูงใจครับ
ขอบคุณมากๆครับ
https://www.gotoknow.org/posts/537324
ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตผู้สร้างแรงจูงใจให้ผมเช่นกันครับ
ขอบพระคุณมากครับอ.อ้อม และคุณ Pratamwinai
ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.จันทวรรณ คุณ Anuroj48 และคุณวินัย
ขอบคุณมากครับน้อง mormirth
จะหมั่นทบทวนอัตตาและเมตตาอยู่เนือง ๆ และถี่ ๆ ขอบคุณค่ะอาจารย์
ขอบคุณค่ะ ให้ความรู้และข้อคิดไว้ดี ๆค่ะ
ในหลักสูตร Teacher Education มักจะกล่าวถึงบทบาทของครูทั้ง 5 แบบนี้ แต่การที่จะเป็นได้คงต้องใช้เวลาสร้างสมประสบการณ์นานทีเดียว และถ้าสามารถเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจได้ก็เป็นสุดยอดครูนะคะ แต่เคยพบอาจารย์บางคนอาจจะสอนไม่ดีเท่าผู้อื่น แต่เมื่อได้พูดคุย ได้ติดตามผลงานแล้วท่านสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราและหลาย ๆคนที่เดียวค่ะ
ขอบพระคุณมากครับคุณกุหลาบและคุณ GD