ปั้นดินให้เป็นดาว...โดนอีกแล้ว


วันนี้..ทราบผลเป็นที่เรียบร้อย..ปั้นดินให้เป็นดาว..โดนใจกรรมการอีกแล้ว คณะกรรมการจากส่วนกลาง จะออกมาประเมินภาคสนาม ดูผลงานเชิงประจักษ์ ..วันนี้..นักเรียนก็เลยช่วยกันปรับพื้นที่หน้างาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์และทบทวนขั้นตอน... เพื่อนำเสนออีกครั้ง.

ความจริงอย่างหนึ่งก็คือ..งานเขียนใดก็ตาม ถ้าขึ้นต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่อง..ไม่เว้นแม้กระทั่งบทเพลง..หากชื่อเพลงโดนใจ ใครๆก็อยากฟัง เอกสารวิชาการ งานวิจัยก็เหมือนกัน รวมทั้งโครงงาน โครงการต่างๆ และบทความ เรื่องสั้น ตลอดจนนวนิยาย ชื่อเรื่่องล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

ยกตัวอย่างที่โรงเรียน..ผมกับนักเรียน..จะแกล้งดิน ที่มันเป็นดินดาน ปลูกอะไรไม่งอกงาม วิธีจะบำรุงรักษาดิน ก็ต้องปรับปรุงดินและผลิตดินไว้ใช้เอง ผมคิดวิธีการ..โดยให้นักเรียนทุกชั้นมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน และทำทุกวัน ต่อเนื่องกันมา มากกว่า ๕ ปีแล้ว

กระบวนการหรือขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงแค่..นักเรียนกวาดและทิ้งใบไม้ ถูกที่ถูกทาง ไม่นำไปเผาทิ้ง จากนั้นก็ถมทับด้วยขี้วัว ราดรดด้วยน้ำหมักชีวภาพ เดือนละ ๒ ครั้ง..ผ่านไป ๕ - ๖ เดือน..ใบไม้ก็จะย่อยสลายกลายเป็นดิน..ผมใช้ชื่องานนี้ว่า..การทำปุ๋ยหมักใบไม้..

ปีการศึกษา ๒๕๕๗..ที่ผ่านมา นักเรียนชั้น ป.๖ช่วยกันทำโครงงาน..บอกเล่าขั้นตอน และการนำไปใช้ ตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับ..ทำเหมือนเดิม แต่ให้นักเรียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น..โครงงานปั้นดินให้เป็นดาว..นำเสนอไปที่บริษัทคูโบต้า..ที่เป็นผู้ริเริ่มโครงงานอนุรักษ์ดินระดับประเทศ คัดเลือกกว่า ๑๐๐ โครงงาน..ให้เหลือเพียง ๕ โครงงาน..โรงเรียนบ้านหนองผือ ติด ๑ ใน ๕ คณะกรรมการบอกว่าชื่อโครงงานน่าสนใจ เนื้อหาข้างในก็ดูดีประโยชน์..จึงให้ไปนำเสนอผลงานที่สวนนงนุช พัทยา..

ด้วยประสบการณ์..การนำเสนอของนักเรียน ยังน้อยกว่าโรงเรียนอื่น ..จึงได้เพียงรางวัลชมเชย..พร้อมทุนการศึกษา ที่มากกว่านั้น..คือ นักเรียนที่ไปร่วมกิจกรรมประทับใจ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะชีวิต

ปีการศึกษา ๒๕๕๘ นักเรียนชั้น ป.๖ สานต่อโครงงานจากรุ่นพี่...ก็พอดี..ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง ร่วมกับมูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่ดำเนินงานสนับสนุนส่งเสริมภารกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการและ สพฐ...แจ้งเรื่องผ่านเขตพื้นที่การศึกษาฯ

โดยให้โรงเรียนจัดทำโครงงาน..ในลักษณะ Best Practice ที่สอดคล้องกับวิถีพอเพียง และต้องเขียนรายงานไม่เกิน ๕ หน้า เริ่มจากข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ความเป็นมาเป็นไป แนวคิดของครูแกนนำ (ครูนิรุต) การมีส่วนร่วมของนักเรียนแกนนำ และการบริหารจัดการของผู้บริหาร..พร้อมด้วยซีดี ๑ แผ่น ถ่ายทำโครงงานภาคสนามไม่เกิน ๓ นาที

งานนี้..ผมใช้ชื่อโครงงานเดิม...คือ..ปั้นดินให้เป็นดาว ครูและนักเรียนช่วยกันเขียนรายงาน ส่่วนผมก็เป็นพรีเซ็นเตอร์..ในการถ่ายทำวีดีโอ..ส่งไปให้คณะกรรมการมูลนิธยุวสถิรคุณคัดกรอง..

วันนี้..ทราบผลเป็นที่เรียบร้อย..ปั้นดินให้เป็นดาว..โดนใจกรรมการอีกแล้ว คณะกรรมการจากส่วนกลาง จะออกมาประเมินภาคสนาม ดูผลงานเชิงประจักษ์ ..วันนี้..นักเรียนก็เลยช่วยกันปรับพื้นที่หน้างาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์และทบทวนขั้นตอน... เพื่อนำเสนออีกครั้ง.

ครั้งนี้..ถ้าผ่าน..นักเรียนจะได้ไปจัดนิทรรศการผลงานและรับรางวัลที่กรุงเทพฯต่อไป..อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสู่ดวงดาว ไม่ใช่รางวัลเกียรติบัตร แต่เป็น..ดินที่ดีงาม สำหรับเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ และปลูกจิตสำนึกที่ดี ให้แก่นักเรียน..เพื่อ...การเจริญงอกงามและเติบโต..อย่างมีคุณภาพ..

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘





หมายเลขบันทึก: 592901เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2015 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2015 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบใจมากๆ .... เด็กๆ ตั้งใจจริงๆ นะคะ


ยินดียิ่งกับงานปั้นดินให้เป็นดาว ชื่อนี้ มันมิใช่เป็นเพียงแค่ " ปั้นดิน" เท่านีั้น

แต่...หมายถึงปั้นเด็ก ๆ แห่งหนองผือให้เป็น " ดาว" ที่รุ่งโรจน์จรัสปสง

ในวันหน้าด้วยจ้ะ

ขอชื่นชมด้วยใจจริงจ้ะ

เด็กๆก็เหมือนแมลง ที่บินตอมดอกไม้ นะ เจ้าคะ...

มีดอกไม้ กับแมลงวัน มาฝากเด็กๆ..เจ้าค่า ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท