อำนาจละมุน (Soft Power)


ถ้าเรานิยามคำว่าอำนาจคือความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ทัศนะ พฤติกรรม และการกระทำของฝ่ายตรงข้ามได้ เราจะมีสองวิธีที่ทำได้คือการบังคับ (coerce) และการชักจูง (convince) หรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามยินยอม (consent) การใช้กำลังบังคับ ก็ทำได้โดยมีศักยภาพเหนือกว่าในการใช้ความรุนแรงหรือศักยภาพในทางเศรษฐกิจเพื่อปะทะและบีบบังคับ แต่สิ่งที่คนไ่ม่ค่อยคิดถึงกันคือการใช้อำนาจอีกแบบที่โจเซฟ ไน เรียกว่าอำนาจละมุน ในการค่อย ๆ ชักจูงให้ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เมื่อวานนี้ (14 กรกฎาคม 2558) Portland Communications ร่วมกับ Facebook ได้จัดทำผลสำรวจ “อำนาจละมุน” (Soft Power) 30 อันดับแรก โดยจัดให้อังกฤษมีอำนาจละมุนเป็นอันดับ 1 ในขณะที่จีนมาท้ายตารางอยู่อันดับที่ 30 ซึ่งแม้จะ “รวยกว่า” อังกฤษ 4 เท่า และมีประชากรมากกว่าอังกฤษถึง 40 เท่าก็ตามที (ดูได้จากที่นี่ http://www.portland-communications.com/the-soft-po... ) เทียบกับรายงานของ Monocle เมื่อปีก่อนซึ่งจัดให้สหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 (ดูได้จากที่นี่ http://monocle.com/film/affairs/soft-power-survey-... )


หนังสือพิมพ์ The Economist เขียนถึงการจัดอันดับของ Portland Communications (ดูได้จากที่นี่ http://www.economist.com/news/britain/21657655-oxb... ) โดยพูดถึงประเด็นของอังกฤษโดยเฉพาะ


อำนาจละมุนของอังกฤษ

อำนาจละมุนของอังกฤษดูได้จากอำนาจเชิงวัฒนธรรม อาทิเช่น Ranking ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ Oxford - Cambridge วงดนตรี One Direction หรือแม้แต่กีฬาฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอันลือชื่อของอังกฤษ แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะบริหารประเทศไม่ค่อยดีนักในสายตาของ The Economist รวมถึงการที่มีความเป็นไปได้ที่จะถอนตัวจากยูโร (Brexit), บทบาทที่ด้อยลงมากของ BBC ตลอดจนถึงมาตรการที่จำกัดผู้อพยพจากต่างแดนมากขึ้น (ซึ่งมีผลต่อความนิยมการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของอังกฤษเอง) แต่อังกฤษก็ยังดำรงความเข้มแข็งในฐานะ “อำนาจละมุน” เอาไว้ได้แม้จะละทิ้งความเข้มแข็ง “ของอำนาจด้านแข็ง” ไปนานแล้วก็ตามที



เมื่อปี 2012 นิตยสาร Monocle ได้ทำการจัดอันดับ "อำนาจละมุน" ของประเทศต่าง ๆ 20 อันดับแรก โดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ ถึง 50 ชนิด เข้ามาคำนวณ เขาพบว่าอังกฤษมาเป็นลำดับที่ 1 ตามด้วย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สวีเดน และ ญี่ปุ่น (ดูผลการจัดอันดับได้ที่นี่http://monocle.com/film/affairs/soft-power-survey-2012/ )

เวลาเรานึกถึงอังกฤษ เราอาจจะนึกถึงฟุตบอลพรีเมียร์ลีก นึกถึงลอนดอน นึกถึงภาษาที่เราใช้สื่อสารฯลฯ หรือบางทีอาจจะนึกถึงภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ ถึงแม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพูดถึงสายลับอังกฤษในหน่วยสืบราชการลับ MI6 แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เป็นภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด

การที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เมื่อปีกลายอังกฤษได้รับคะแนนสูง ในกีฬาโอลิมปิคนี้อังกฤษตั้งใจใช้เจมส์ บอนด์ ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายและภาพยนตร์มาทำพิธีเปิดคู่กับควีนส์อาลิซาเบธที่สอง (ดูวิเคราะห์เรื่องนี้ได้ที่ http://www.siamintelligence.com/olympic-2012-uk-identity/ )


อำนาจละมุนของเกาหลี

และแล้วโดยไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว เราก็มีนักร้องซูเปอร์สตาร์สร้างกระแสโด่งดังท่วมทบ Youtube ที่จู่ ๆ ก็ไม่รู้ว่ามาจากไหนอย่าง Psy ในขณะเดียวกันเราก็มีเลขาธิการองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นอย่าง บันคีมูน และ จิมยองคิม ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีโอบามาให้เป็นประธานธนาคารโลกไปเมื่อปี 2012


ภาพจากซ้าย : ไซ, บันคีมูน และ จิมยองคิม


สำหรับเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม การพาเหรดขึ้นไปของบุคคลสำคัญจนได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติไม่ใช่เรื่องแปลก

ทั้งสามเป็นคนเกาหลีใต้ แม้อาจจะมองว่าจิมยองคิม เกิดที่กรุงโซลเมื่อปี 1959 ก่อนจะย้ายตามครอบครัวไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เป็นคนสหรัฐอเมริกาก็ตาม โดยปกติจะมีการแบ่งกันระหว่างธนาคารโลกซึ่งเป็นโควต้าของสหรัฐฯ ที่จะมีสิทธิเสนอประธานธนาคารโลก ส่วนไอเอ็มเอฟจะเป็นโควต้าของยุโรป ที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะเสนอตัวประธานธนาคารโลกที่เป็นคนผิวขาว ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกที่จิมยองคิมได้ตำแหน่งมาอย่างไม่ธรรมดา

บทความของ มาร์ค รัสเซล ในนิตยสารฟอเรนจ์โพลิซี ระบุว่า กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยวของเกาหลีมีนโยบายการใช้วัฒนธรรมของตนเพื่อสร้างโอกาสในการค้าระหว่างประเทศ มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีขึ้น 28 แห่งทั่วโลกเพื่อสนับสนุนเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลี นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้ร่วมมือกับสหพันธ์อุตสาหกรรมเกาหลี เพื่อจัดตั้งสำนักงานทูตวัฒนธรรมเพื่อใช้ "อำนาจละมุน" เพื่อช่วยการส่งออกของเกาหลี http://www.foreignpolicy.com/articles/2012/09/27/the_gangnam_phenom?page=0%2C3


ดร. โซโนดะ ชิเกโตะ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว มองว่า "คลื่นเกาหลี" เป็นความพยายามของเอเชียเพื่อดูดกลืนเอเชียออกจากวัฒนธรรมอเมริกัน โดยใช้ละครและเพลงของเกาหลีเป็นแนวหน้า ในขณะที่มุมมองบางด้านมองว่า "คลื่นเกาหลี" ในศตวรรษที่ 21 อาจเปรียบเทียบได้กับ "คลื่นอาณานิคมจากยุโรป" จากศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ "คลื่นอาณานิคม" ใช้เรือปืนเป็นอาวุธในการครอบงำดินแดน เกาหลีใช้ "คลื่นเกาหลี" ใช้วัฒนธรรมเป็นอาวุธในการครอบงำความคิด

ในขณะที่คลื่นอาณานิคมมีเป้าหมายการครอบครองดินแดนในทวีปอเมริกา อาฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย คลื่นเกาหลีมีเป้าหมายการส่งออกวัฒนธรรมไปที่ ละตินอเมริกา อาฟริกาเหนือ เอเชีย และผู้อพยพเอเชียในตะวันตก

คลื่นตะวันตกใช้ "อำนาจแข็ง" เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์แบบนายกับทาส ส่วนคลื่นเกาหลีใช้ "อำนาจละมุน" เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์แบบ ไอดอล และ แฟนคลับ (หรือที่วัยรุ่นไทยเรียกว่า "ติ่งเกาหลี")

การกำหนดเป้าหมายในการยกระดับประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วในโลกที่หนึ่ง ไม่เพียงต้องมียุทธศาสตร์ที่ถูกต้องในทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงการดิ้นรนพ้นกับดักรายได้ระดับกลาง (middle income trap) ไม่เพียงแต่ต้องมียุทธศาสตร์แบรนดิ้งของประเทศที่เหมาะสม หากแต่ต้องมองลึกไปถึงยุทธศาสตร์การสร้าง "อำนาจละมุน" อีกด้วย!


อำนาจละมุนคืออะไร

โจเซฟ ไน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน และอดีตคณบดี John F. Kennedy School of Government จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เสนอแนวคิดที่กลายเป็นที่ถกเถียงไปทั่วโลกเรื่อง "อำนาจละมุน" / หรืออำนาจด้านอ่อน

ถ้าเรานิยามคำว่าอำนาจคือความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ทัศนะ พฤติกรรม และการกระทำของฝ่ายตรงข้ามได้ เราจะมีสองวิธีที่ทำได้คือการบังคับ (coerce) และการชักจูง (convince) หรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามยินยอม (consent) การใช้กำลังบังคับ ก็ทำได้โดยมีศักยภาพเหนือกว่าในการใช้ความรุนแรงหรือศักยภาพในทางเศรษฐกิจเพื่อปะทะและบีบบังคับ แต่สิ่งที่คนไ่ม่ค่อยคิดถึงกันคือการใช้อำนาจอีกแบบที่โจเซฟ ไน เรียกว่าอำนาจละมุน ในการค่อย ๆ ชักจูงให้ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

อำนาจละมุนสามารถผลิตขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญ ๆ ก็คือ ค่านิยม, วัฒนธรรม, นโยบาย และ องค์กรเชิงสถาบัน

นับวันอำนาจละมุนจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ในโลกที่ปฏิเสธการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง

การปาฐกถาของโอบามาที่ยูเอ็น หรือการเขียนบทความของปูตินในนิวยอร์คไทมส์ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจละมุน เบื้องหลังของการทำงานของผู้นำเหล่านี้ จำเป็นจะต้องใช้ "Think-tank" หรือสถาบันวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อคอยผลิต speech ที่สามารถโน้มน้าว หักล้างเชิงตรรกะ ประกาศคุณค่าและหลักนิยม และวาดอุดมการณ์อันเป็นเป้าหมายร่วมกันของมนุษยชาติอันสูงส่งได้

ในบางครั้งอำนาจละมุนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องใช้อำนาจแข็ง (hard power) เช่นกำลังทางการทหารหรือทางเศรษฐกิจผสมผสานควบคู่ตามไปด้วย โจเซฟ ไน พัฒนาแนวคิดการผสมผสานอำนาจทั้งสองชนิดนี้ต่อในชื่อที่ว่า "อำนาจอันชาญฉลาด" หรือ "smart power"

อ่านบทสัมภาษณ์ของโจเซฟ ไน จาก Theory talk ซึ่งรวมบทสัมภาษณ์นักทฤษฎีรัฐศาสตร์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ที่ http://www.theory-talks.org/2008/05/theory-talk-7.html และบล็อกของเขาที่ Project Syndicate http://www.project-syndicate.org/columnist/joseph-...


Smart Power


“Today’s challenges require new types of institutions to extend American influence. We need a multilateral pluralism for the twenty-first century.”

JOSEPH S. NYE, JR.


First, American leaders should stay on the offensive in countering terrorist aims abroad, but must also refuse to over-respond to their provocations.

Second, American leaders ought to eliminate the symbols that have come to represent the image of an intolerant, abusive, unjust America.

Third, we should use our diplomatic power for positive ends.

Fourth, American leaders must provide the world with a positive vision greater than the war on terror. Americans need a shared aim to strive for, not simply a tactic to fight against.

In short, success in battling terrorism and re- storing America’s greatness depends on finding a new central premise for U.S. foreign policy to replace the war on terror. Taking its place should be an American commitment to providing for the global good. Such an approach derives from our principles, supports our interests, and strength- ens our security.

excerpt from http://csis.org/files/media/csis/pubs/071106_csiss...

Mrs. Clinton, who is seen as an overwhelming favorite to win the Democratic nomination for president in 2016 if she runs, pointed to the Philippines, which had been locked in a decades-long conflict between the Moro Islamic Liberation Front and the government before a breakthrough earlier this year.
“Hope for peace was all but gone when two strong women, Teresita Quintos Deles and Miriam Coronel-Ferrer, took over the negotiations,” she said. “They made inclusivity their mantra and thanks greatly to their efforts, finally a peace was brokered in a historic deal.”
“This is what we call smart power — using every possible tool and partner to advance peace and security, leaving no one on the sidelines, showing respect, even for one’s enemies, trying to understand and insofar as psychologically possible, empathize with their perspective and point of view, helping to define the problems, determine the solutions,” she continued. “That is what we believe in the 21st century will change — change the prospects for peace.”



Read more: http://www.washingtontimes.com/news/2014/dec/3/hillary-clinton-smart-show-respect-even-enemies/#ixzz3fwZWE3wZ



(From Wikipedia)

In international relations, the term smart power refers to the combination of hard power and soft power strategies. It is defined by the Center for Strategic and International Studies as "an approach that underscores the necessity of a strong military, but also invests heavily in alliances, partnerships, and institutions of all levels to expand American influence and establish legitimacy of American action."
Joseph Nye, former Assistant Secretary of Defense under the Clinton Administration and author of several books on smart power strategy, suggests that the most effective strategies in foreign policy today require a mix of hard and soft power resources. Employing only hard power or only soft power in a given situation will usually prove inadequate. Nye utilizes the example of terrorism, arguing that combatting terrorism demands smart power strategy. He advises that simply utilizing soft power resources to change the hearts and minds of the Taliban government would be ineffective and requires a hard power component. In developing relationships with the mainstream Muslim world, however, soft power resources are necessary and the use of hard power would have damaging effects.
According to Chester A. Crocker, smart power "involves the strategic use of diplomacy, persuasion, capacity building, and the projection of power and influence in ways that are cost-effective and have political and social legitimacy" – essentially the engagement of both military force and all forms of diplomacy.


Thai Diplomacy

- การที่ไทยเดินเกมทางเศรษฐกิจเข้าหาจีนกับญี่ปุ่น โดยมีนายกรัฐมนตรีนำหน้า ถือเป็นคานอำนาจและตอบโต้สหรัฐไปในตัวหรือไม่

ก็ไม่เชิง เป็นความสัมพันธ์ที่ผมเรียกว่า Complex Engagement แปลภาษาไทยคือการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ไม่ใช่ปฏิสัมพันธ์แบบ Zero Sum แพ้หรือชนะ ไม่ได้เลือกเข้าข้างแบบเดิมสองขั้ว ถ้าไม่เลือกสหรัฐต้องเลือกจีน แต่เราเลือกมีปฏิสัมพันธ์กับทุกประเทศแบบซับซ้อน ไม่เท่ากัน แต่ดูความเหมาะสมว่าอะไรเป็นประโยชน์กับเรา อะไรเป็นประโยชน์กับเขามากที่สุด

ในความสัมพันธ์กับจีน การค้าเป็นประโยชน์ที่สุดเพราะขนาดใหญ่ที่สุด แต่ความสัมพันธ์ทางการค้าของจีนก็ไม่สามารถทดแทนด้วยความสัมพันธ์ทางการค้า ของญี่ปุ่น ของญี่ปุ่นเป็นเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใหญ่มาก ฐานการผลิตรถยนต์จีนยังไม่อยู่ในไทยเหมือนญี่ปุ่น ดังนั้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแน่นอนจีนเป็นเบอร์หนึ่งในด้านการค้าการลงทุน รองลงมาเป็นญี่ปุ่นแต่คนละอุตสาหกรรมกัน และของสหรัฐเป็นลำดับที่ 3

ในด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับสหรัฐ ประวัติความเป็นมามั่นคงมาก ลึกซึ้งมาก ตั้งแต่สมัยเสรีไทยร่วมมือกับสหรัฐ ต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้ไทยสามารถใช้เงื่อนไขนั้นดึงสถานภาพออกจากผู้แพ้สงคราม ตรงนี้ไม่มีใครแทนได้เลย และยังดีอยู่ นำมาสู่ข้อตกลงในการใช้สนามบิน แลกเปลี่ยนทางการทหารหลายรูปแบบ ทำให้สถานทูตสหรัฐในประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีเจ้าหน้าที่อเมริกันเป็นพัน ๆ คน ทำงานข่าวกรอง ต่อต้านยาเสพติด ดังนั้น ในแง่ความมั่นคงสหรัฐเป็นเบอร์หนึ่ง

แต่เรากำลังปรับให้ความมั่นคงเบอร์สอง เบอร์สาม จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย ขึ้นมา ตอนนี้เราเร่งปรับระดับความสัมพันธ์ทางการทหารกับรัสเซีย จะมีการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยียน ซื้ออาวุธ แลกยาง แลกข้าว แลกน้ำมัน แลกเครื่องบิน เราไม่จำเป็นต้องเลือกคบสหรัฐอย่างเดียว

เรากำลังจะปรับญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ตอนนี้พอญี่ปุ่นปรับกฎหมาย (ให้มีกองกำลังปกป้องตนเอง) เราจะยกระดับทันที นายกฯก็เตรียมที่จะปรับความสัมพันธ์ทางการทหารขึ้นมา

หรือบางกรณีในด้านเศรษฐกิจญี่ปุ่นกับจีนอาจคู่ขนานกันได้ เช่นรถไฟ จีนเหนือใต้ ญี่ปุ่นตะวันออกตะวันตก ตอนนี้มีข้อเสนอใหม่ว่าญี่ปุ่นอยากจะทำทางรถไฟจากเหนือไปใต้ด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องดีทำคู่กันไปเลยทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟความเร็วปานกลาง นี่เป็นข้อดีของ Complex Engagement ที่เราไม่ต้องเลือก

ในบรรยากาศทางการเมืองที่กระทรวงการต่างประเทศไทย กับสหรัฐกำลังปรับความสัมพันธ์กันอยู่ รัฐบาลต้องระวังอย่าให้ไปกระทบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนที่ดีอยู่แล้วในด้าน อื่น ๆ ต้องระวังไม่ให้อารมณ์คนถูกกระตุ้น ไม่ให้กลุ่มการเมืองไปกระตุ้นจนทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีกระทบเป็นลูกโซ่

Reference: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1...

คำสำคัญ (Tags): #Joseph Nye#Smart power#soft power
หมายเลขบันทึก: 592419เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2015 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2015 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ บันทึกดีดีนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท