โครงการสืบสานวัฒนธรรมฯ ประจำปีงบประมาณ 2558


มมร วิทยาเขตร้อยเอ็ด : ระหว่างวันที่ 27- 28 มิถุนายน 2558 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้จัดกิจกรรมโครงการสืบสานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวอีสานเหนือ อีสานกลาง และอีสานใต้ ประจำปี 2558

โดยมี พระปริยัติธีรวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตร้อยเอ็ด รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตร้อยเอ็ด เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และ นายอุทัยเทพ พรรคพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงลาน ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ซึ่ง งานอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ฝ่ายบริหารทั่วไปและบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการร้อยเอ็ด มอบถวายพระครูคุณสารพินิจ ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ร้อยเอ็ด เป็นผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมโครงการฯ ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด เป็นสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีงาม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นไทยให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน

2. เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีท้องถิ่น ให้เยาวชนประชาชนได้เรียนรู้และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

3. เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน

4. เพื่อให้คณาจารย์เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาได้ร่วมกับชุมชนจัดนิทรรศการสืบสานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวอีสานเหนือ อีสานกลาง และอีสานใต้

ในการจัดโครงการนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป กิจกรรมโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการย้ำเน้นว่าประเทศไทยถือเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงโดยเฉพาะการมีชนเผ่าพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่กระจายตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีภาษา อัตลักษณ์วัฒนธรรมและบริบทของสังคมที่แตกต่างกันออกไปจากสังคมใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวกูย ผู้ไท ญัฮฺกุร โส้ และอื่น ๆ กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็กมีจำนวนไม่มากนักมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น เน้นระบบการผลิตการตั้งถิ่นฐานและการใช้ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเป็นหลักมีระบบขัดเกลาทางสังคมและได้บ่มเพาะจนกลับกลายเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มในระยะต่อมาซึ่งมีกระบวนการถ่ายทอดและสืบต่อกันมาจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 591831เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท