องค์ประกอบของ Peer Assist


           เมื่อวันพุธที่ 26 ต.ค. 48 ที่เพิ่งผ่านมาเร็วๆ นี้  ได้มีโอกาสร่วมอยู่ในวงคุยระหว่าง อ. หมอวิจารณ์   พานิช, อ. กรกฎ  เชาวะวณิช  และ คุณไพฑูรย์  ช่วงฉ่ำ (ผู้จัดการโครงการจัดการความรู้ รพ. ภาคเหนือตอนล่าง ของ สคส.) ที่คุยกันเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ของปริญญาเอกของ คุณไพฑูรย์ เอง     หัวข้อที่สนใจของคุณไพฑูรย์  ก็คือเรื่อง Peer Assist  นั่นเอง 

          วงคุยเริ่มด้วยการลองแบ่งกลุ่มที่มีส่วนร่วมในการทำ Peer Assist คือ ทีมขอเรียนรู้, ทีมผู้แบ่งปัน, คุณอำนวย และ ผู้บริหาร  ซึ่งทั้ง 4 ส่วนมีบทบาทที่แตกต่างกัน

          - ทีมขอเรียนรู้ : ต้องเตรียมตัวมาก่อนว่าต้องการเรียนรู้อะไรจากผู้แบ่งปัน เตรียมเรื่องที่อยากจะสะท้อนให้ทีมผู้แบ่งปันได้รู้ (เป็นการจัดการความรู้กันเองก่อน) และเมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วก็ควรเสนอแผนดำเนินงาน หรือแผนปรับปรุงงานส่งให้ทีมผู้แบ่งปันช่วย comment และนำไปปฏิบัติการ   พร้อมกันนี้ก็ต้องเตรียมที่จะติดตามประเมินผลที่ได้จากการลงไปทำเพื่อมา "ทบทวนบทเรียน (AAR)"  ต่อไปเรื่อยๆ ทำอย่างเป็นประจำ

         - ทีมผู้แบ่งปัน : มีการเตรียมตัวก่อนเหมือนกัน คือ เตรียมประเด็นหรือเรื่องเล่าของหน่วยงานที่ตรงกับประเด็นหรือเรื่องเล่าที่ทีมผู้ขอเรียนรู้ต้องการเรียนรู้ (จัดการความรู้ในวงทีมผู้แบ่งปันด้วย) และเตรียมข้อเสนอแนะในเบื้องต้นให้กับทีมขอเรียนรู้ด้วย

          - ฝ่ายบริหารของทีมขอเรียนรู้ : สำคัญมากค่ะ ในการเข้าร่วม Peer Assist เพราะจะเป็นผู้ที่จะสนับสนุนทรัพยากร หรือชี้ช่องทางให้กับลูกทีมขอเรียนรู้ได้ในแผนงานปรับปรุงหรือ แผนปฏิบัติการของทีมได้

          - คุณอำนวย : ศึกษาข้อมูลของทั้ง 2 ทีมมาก่อนล่วงหน้า  และทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีม  ถามและคอยช่วยดึงประเด็นความรู้ที่ตรงประเด็นกับที่ทีมทั้ง 2 ต้องการรู้  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ฝังลึกของทั้ง 2 ฝ่าย

          อันนี้เป็นเพียงแนวคิดแนวทางเบื้องต้น   ส่วนที่จะเห็นเป็นรูปแบบ หรือ โมเดล ที่ละเอียดกว่านี้  ทางพี่ไพฑูรย์ คนเก่งคงจะเอาไปคิดต่อและร่างออกมาให้เราเห็นในไม่ช้านี้แน่นอนค่ะ

 

           คุยกันไปสักพักโยงไปถึงเรื่อง Competency ขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรแบบราชการ ที่พี่ไพฑูรย์ เห็นว่า  Core competency ที่ อ. จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา กล่าวไว้  ไม่ว่าจะมาจาก competency ของ ก.พ.ร., competency ที่มาจากวิสัยทัศน์, พันธกิจ หลักขององค์กร (มาจากผู้บริหาร) และ competency ที่ได้มาจาก KM (ดึงจากการทำงานที่สำเร็จขององค์กร) น่าจะแบ่งออกได้เป็น KSA คือ competency ส่วนที่เป็น K = Knowledge, S = Skill, A = Attitude  ที่องค์กรน่าจะนำมาพิจารณาเพื่อวิเคราะห์หา Knowledge Gap ขององค์กร วาดเป็น "แผนที่ความรู้" องค์กร แล้วนำไปวางกลยุทธ์ และ แผนการจัดการความรู้ที่จะดำเนินการต่อไป  

         ดูแล้วทั้งหมดเป็นแนวทางที่น่าสนใจมากอีกอันหนึ่งที่องค์กรที่สนใจอาจนำไปคิดต่อ หรือเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มกับ พี่ไพฑูรย์ และ สคส. ก็ได้นะคะ  (ช่วยกันต่อช่วยกันเติมเดี๋ยวก็ดีเองค่ะ) 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #peer#assist#องค์กร
หมายเลขบันทึก: 5916เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2005 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจเครื่องมือตัวนี้ครับ ตั้งใจจะนำมาใช้เมื่อมีหน่วยงานมาขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ share practice

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท