​ริดสีดวง


ริดสีดวงทวาร

(Hemorrhoid)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การจำแนกและทรัพยากรภายนอก
ริดสีดวงทวาร (อังกฤษ: hemorrhoid) เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อย ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีอาการของโรคนี้ ผู้ป่วยมักจะเก็บอาการของโรคไว้เป็นความลับส่วนตัวเป็นเวลานานกว่าจะไปพบแพทย์ ในปัจจุบันมีวิธีรักษาที่ถูกต้องมากมายหลายวิธีที่สามารถขจัดปัญหาโรคริดสีดวงทวารหนักได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นโรคที่มีการบันทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่ง โรคนี้คล้ายเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้แก่สัตว์ที่สามารถยืนตัวตรงได้ เพราะจะไม่พบโรคนี้ในสัตว์สี่เท้าเลย บันทึกครั้งแรกของโรคนี้พบในสมัยกรีกและอียิปต์โบราณประมาณ 1700 ปีก่อนเริ่มคริสต์ศักราช หรือ 1200 ปีก่อนพุทธศักราช และมีข้อมูลการรักษาโรคนี้บันทึกติดต่อกันมาเรื่อย ๆ เช่น การจี้ด้วยเหล็กเผาไฟ การจี้ด้วยสารเคมี การผูกรัด เป็นต้น การรักษาสมัยใหม่กำเนิดมาไม่ถึงร้อยปีพร้อมกับการกำเนิดของศัลยแพทย์สาขาโรคลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ในปัจจุบันได้กลายเป็นวิธีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งได้ผลดีมาก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อน
เนื่องจากเป็นโรคที่พบบ่อยมากและผู้ป่วยมักอายที่จะมาพบแพทย์ จึงมักได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมาก ที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการรูทวารหนักตีบตัน ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ มักเกิดจากรักษาโดยการจี้ก้อนริดสีดวงด้วยธูป, ความร้อน, จี้ด้วยกรดหรือสารเคมีที่กัดผิวหนัง ฉีดสารเคมีที่ไม่ถูกต้องลงไป รวมทั้งการผ่าตัดที่มากเกินไป ผู้ป่วยรูทวารหนักตีบตันมักมีอาการอย่างมาก จนไม่สามารถสอดนิ้วก้อยหรือปลายเครื่องมือเล็ก ๆ เข้าไปได้ ผู้ป่วยจะถูกตัดเอาผิวหนังและเยื่อบุรอบรูทวารหนักที่ตีบตันออก แล้วจึงนำผิวหนังบริเวณกันมาทดแทน ใช้เวลารักษาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ทวารหนักใหม่ใช้การได้ดี จึงสามารถผ่าตัดปิดทวารเทียม (ลำไส้ใหญ่ที่เปิดให้ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง) ที่เปิดที่หน้าท้องได้[1]
ริดสีดวงทวารเป็นส่วนหนึ่งของรูทวารหนักของมนุษย์ อาจมีการบวมหรืออักเสบเกิดเป็นพยาธิสภาพได้ ในสภาพปกติริดสีดวงทวารซึ่งประกอบด้วยทางเชื่อมต่อระหว่างระบบเลือดแดงกับระบบเลือดดำและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะทำให้บริเวณรูทวารหนักมีความอ่อนนุ่มทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย ริดสีดวงทวารที่มีพยาธิสภาพอาจทำให้มีอาการได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับชนิด ริดสีดวงทวารชนิดภายในอาจทำให้มีเลือดออกทางทวารหนักได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ในขณะที่ริดสีดวงทวารชนิดภายนอกจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดบริเวณทวารหนัก
การรักษาริดสีดวงทวารมักทำโดยให้กินอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ แก้ปวดด้วยยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แช่น้ำอุ่น (sitz bath) และการพักฟื้น การผ่าตัดจะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการดังกล่าวนี้แล้วไม่ดีขึ้นเท่านั้น
ริดสีดวงจมูก
คือการที่เยื่อบุจมูกหรือไซนัสมีการอักเสบและบวม จนยื่นออกมาเป็นก้อน ทำให้โพรงจมูกและ/ หรือไซนัสแคบ ริดสีดวงจมูกนี้ เป็นก้อนเนื้องอกในโพรงจมูกชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นโรคทางจมูกและไซนัสที่สร้างปัญหาให้กับทั้งตัวผู้ป่วยเองและแก่แพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งได้แก่ปัญหาเรื่องการเกิดเป็นซ้ำและการเกิดไซนัสอักเสบร่วมด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจทั้งในหมู่ประชนทั่วไปและในหมู่แพทย์เองว่ารักษาไม่หาย ผู้ป่วยบางรายได้รับการผ่าตัดหลายครั้งก็ยังเกิดเป็นซ้ำได้อีก
สาเหตุ
จนถึงปัจจุบันสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดริดสีดวงจมูกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่อาจมีส่วนในการเกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่
1. การอักเสบเรื้อรังและการติดเชื้อซึ่งกลับเป็นซ้ำบ่อยๆ ของเยื่อบุจมูกและเยื่อบุไซนัส ซึ่งมีผลทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุ
2. ความผิดปกติของการตอบสนองของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดและภาวะความไวเกินของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูกและเยื่อบุไซนัสทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุ
3. ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปบริเวณซึ่งเป็นต้นตอของริดสีดวงจมูก ได้แก่ บริเวณโพรงจมูกส่วนกลาง และบริเวณรูเปิดของไซนัส
ริดสีดวงจมูกที่เกิดขึ้นโดยมีความสัมพันธ์หรือเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ
ริดสีดวงจมูกอาจเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ หรืออาจเป็นผลที่เกิดจากการอักเสบซึ่งสัมพันธ์กับโรคเหล่านั้น หรือเป็นผลที่เกิดท้ายสุดของโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าริดสีดวงจมูกอาจเกิดจากสาเหตุหลายๆ ประการ โรคที่พบว่ามีริดสีดวงจมูกเกิดร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืดในผู้ใหญ่ชนิดที่เกิดและไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้, ภาวะการแพ้ยาแอสไพริน, ไซนัสอักเสบเรื้อรัง, เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และชนิดไม่แพ้
ริดสีดวงตา



ริดสีดวงตา
เกิดขึ้นจากเชื้อที่อยู่กึ่งๆ ระหว่างไวรัส (ไวรัสคือเชื้อโรค ขนาดที่เล็กมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาไม่เห็น เช่นพวกไข้ หวัด โปลิโอ หัดต่างๆ) กับเชื้อแบคทีเรีย พบได้ทั่วโลก และยังถือกันว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนในโลกนี้ตาบอด พบมากในอาฟริกาเหนือ ประเทศรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศต่างๆ ในเอเซีย ประเทศไทยเราพบมากในภาคอีสาน ในกรุงเทพฯ พบน้อยลง แต่ก็ยังพบอยู่ได้เสมอๆ
การติดต่อนั้นต้องได้รับเชื้อโดยตรง คือจากคนหนึ่งไปสู่อีก คนหนึ่ง อาจผ่านเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้รวม กัน การติดต่อนี้ส่วนใหญ่จะต้องอยู่ร่วมกันนานพอสมควรจึงจะติดมาได้ เช่น ถ้าเราไม่เป็นริดสีดวงตาแล้วไปเที่ยวภาคอีสานสอง สามวัน โอกาสที่จะติดริดสีดวงจากผู้ที่เป็นอยู่แถวนั้นจะมีน้อย มาก จึงพบว่าริดสีดวงมักจะเป็นกันในครอบครัว คือลองตรวจพบ เข้า 1 คนถ้าเรียกเอาญาติพี่น้องที่อยู่ร่วมกันมาตรวจเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์จะเป็นกันหมด
อาการของริดสีดวงตาแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง นํ้าตาไหล และมีขี้ตา เหมือนโรคตาแดงที่เกิดจากเชื้ออื่นๆ ทั่วๆ ไป การวินิจฉัยค่อนข้างลำบาก นอกเสียจากเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในถิ่นที่มีริดสีดวงชุกชุม
2. ระยะที่เป็นริดสีดวงแน่นอนแล้ว ระยะนี้การอักเสบยังมีอยู่แต่ค่อนข้างจะน้อยกว่าระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการน้อยลง ถ้าพลิกตาดู จะพบเยื่อบุตาหนาตัวขึ้น แล้วนูนเป็นตุ่มๆ
3. ระยะเริ่มมีแผลเป็น การอักเสบต่างๆ ลดลง ตาจะ เคืองน้อยลง ถ้าตรวจดูเชื้อจะพบว่าสิ่งที่แสดงว่ามีเชื้ออยู่จะลดลง ไปจนเกือบจะไม่เห็นพิษที่ตัวริดสีดวงปล่อยออกมาทำลายเนื้อเยื่อ ต่างๆ จะออกฤทธิ์เต็มที่ พร้อมกับจะมีพังผืดเข้ามาแทรกทำให้เกิด มีแผลเป็น
4. ระยะของการหาย เชื้อริดสีดวงจะหมดไปเอง จะ รักษาหรือไม่ก็ตาม แผลเป็นต่างๆ จะหดตัวมากขึ้น ระยะนี้เองที่ เป็นระยะที่ทำให้คนไข้ตาบอด เพราะจากการหดรั้งจะทำให้เกิด ขนตาเกทิ่มตาดำเกิดเป็นแผล และขุ่นมัวในที่สุด นอกจากนี้ แผล เป็นจะอุดท่อนํ้าตา ทำให้นํ้าตาไหลหรืออุดต่อมนํ้าตาทำให้ตาแห้ง และอีกหลายๆ อย่าง
แต่บางคนเป็นแล้วหายเองแล้วก็ไม่มีผลเสียหายมากเลยก็เป็นได้ เพราะการที่จะเกิดผลร้ายตามหลังนั้น มักจะต้องมีการเป็นขึ้นมาอีก เพราะริดสีดวงไม่มีภูมิคุ้มกันนานไปตลอดชีวิต เช่น หัด เมื่อหายแล้วจึงเป็นใหม่อีกได้
การป้องกัน เป็นเรื่องของสุขศึกษา และเป็นโครงการใหญ่ เพราะต้องป้องกันในคนหมู่มาก ปัจจุบันได้มีคนพยายามทำ วัคซีนแต่ก็ยังมิได้นำออกมาใช้ให้แพร่หลาย เพราะผลอาจจะยัง ไม่ดีพอ
การแก้ไขรักษา เนื่องจากริดสีดวงตา เกิดจากเชื้อกึ่ง
ไวรัส จึงถูกควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะไม่เหมือนกับพวกไวรัส ริดสีดวงตาจึงเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ระยะที่เราต้องการให้หาย คือ ระยะหนึ่งหรือระยะสอง เพราะถ้าหายในระยะนี้ ผลตามมา จะไม่มีเลย ตรงกันข้ามถ้าเลยเข้ามาในระยะ 3-4 แล้ว ไม่ค่อยมีประโยชน์นักที่เราจะฆ่าตัวริดสีดวง เพราะตัวมันเองตามระยะ ของโรคก็ได้ตายและได้ปล่อยพิษออกมาแล้ว จะฆ่ามันหรือไม่ผล ที่จะตามมาก็ต้องเกิดตามมา
การรักษาระยะแรก ยาที่ได้ผลดีคือยาปฏิชีวนะพวก ซัลฟา การรักษาต้องใช้เวลานานอย่างน้อยประมาณ 2 เดือนขึ้น ไป และต้องมาตรวจอยู่เสมอๆ ว่าหายหรือเป็นขึ้นมาอีก
ส่วนการรักษาในระยะหลังด้วยยาไม่มีประโยชน์อะไร การ รักษาส่วนใหญ่ต้องเป็นการผ่าตัด ซึ่งถ้าไม่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ก็จะให้ผลดี



คำสำคัญ (Tags): #diary
หมายเลขบันทึก: 591559เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2015 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท