บันทึกชีวิต : จุดเปลี่ยนของความสมดุล


...............เส้นทางฝัน เส้นนั้นสู่เป้าหมาย ของเเต่ละคน เชื่อว่าคงมีเเตกต่างกันออกไปตามทรรศนะ เเละหลักคิดในการดำเนินชีวิตของเเต่ละท่าน ผมเองก็มีเป้าหมายในชีวิตเเบบนั้นเช่นเดียวกัน เป้ามายนี้เเม้ว่าระยะเวลาจะผ่านมานับ หลายๆปี เเต่หากเรามั่นคงในฝัน เเละมีฐานคิดของตนเอง ก็ยากนักที่จะผันเเปรไปตามกระเเสที่เข้มากระทบใจ

...............ชีวิตวัยเรียนในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง ม.ปลาย กับ ระดับอุดศึกษา โดยเฉพาะช่วงของการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาใหม่ๆ ก็มีเรื่องราวเป็นร้อย ให้เราคล้อยเป็นพัน ช่วงเปลี่ยนผ่านเหล่านี้เป็นช่วงของกระบวนการที่เรียกว่า "การปรับตัว" เพื่อให้ตนเองสามารถเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ คำถามที่เข้ามาระหว่างทางช่วงเหล่านี้ คือ เเล้วสังคมที่เปลี่ยนแปลงมันคืออะไร เป็นอย่างไรล่ะ คำตอบอาจมองว่า สังคมที่เปลี่ยน คือ เรายืนอยู่ที่เดิมเเต่กระเเสนิยมเข้ามาเปลี่ยน สังคมจึงเปลี่ยน(เปลี่ยนอยู่เสมอ) เเละ เราไปเข้าในสังคมใหม่ สังคมเราเดิมทีนั้นจึงเปลี่ยนแปลงไป(เปลี่ยนเมื่อเราเดินทาง) ในเเต่ละสังคมที่เราอยู่หากมองให้ลึกซึ้งลงไปอีกนั้นเราอาจเห็น "ความสมดุล" บางอย่างในสังคมเดิมหรือสังคมใหม่ หรือช่วงวัยใหม่ ในสังคมของวัยเรียนเดิม ข้าพเจ้ามีความสมดุล ได้เเก่ การมีครอบครัวที่พร้อมหน้าพร้อมตา การต้องไปโรงเรียนเป็นนักเรียน เเละการทำกิจกรรมในโครงการที่ตนเเละเพื่อนได้ทำร่วมกันทั้งในและนอกโรงเรียน ซึ่งต้องพยายามทำให้เกิดความสมดุล เพื่อให้พร้อมรับกับกระเเสหรือเหตุการณ์ในสังคมเดิมที่มีอยู่เเล้วด้วยปัญญา เมื่อวัยมัธยมมีการเปลี่ยนผ่านเข้ามาสู่ในระดับมหาวิทยาลัย เราก็ต้องหาความสมดุลของเราอีกเช่นเดียวกัน หรือภาษาผู้ใหญ่เรียกว่า "การปรับตัวนั่นเอง" คำถามที่ตามมาอีก คือ เเล้วเราจะปรับตัวอย่างไรให้เกิดความสมดุลของชีวิตในระดับมหาวิทยาลัย คำตอบ คือ "ยังไม่มีคำตอบตายตัว" เพราะความสมดุลนั้น คือ การพยายามทำบทบาทของตนเองให้ดำรงอยู่ร่วมกับสิ่งอื่นอย่างไม่เดือดร้อนเเละพึ่งตนเอง มีเพียง "สติ" ที่เป็นเครื่องใช้ในการเดินทาง เเต่เรื่องที่สำคัญในช่วงวัยนี้ คือ การเรียน การทำกิจกรรม การอยู่หอพัก เเละการกลับบ้านพบหน้าพ่อกับเเม่ ที่ต้องพยายามรักษาสมดุลนี้ไว้ด้วยสติ

...............ความสมดุลนั้นไม่เเน่นอนตายตัว หากรักษาหรือควบคุมไว้ได้ดีๆ ก็จะสามารถรับมือกับกระเเสในสังคมเดิม เเละการเปลี่ยนผ่านสังคมใหม่ได้ อย่างรู้เท่าทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง สมดุลของเเต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เเละวิธีการในการรักษาสมดุลของเเต่ละคนก็ต่างกันออกไป วัยเรียนเป็นเเบบนี้ วัยผู้ใหญ่เป็นอีกเเบบหนึ่ง เเละวัยชราก็เป็นอีกแบบ การรักษาความสมดุลในช่วงระหว่างการดำเนินชีวิตจึงสำคัญ ที่จะทำให้มีสติ รู้เท่าทัน ตนเอง เเละสังคม

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
( ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ )


หมายเลขบันทึก: 591212เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2015 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2015 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีดอกไม้มาฝากเจ้าค่ะ..

ขอบพระคุณทุกๆท่าน ที่เข้ามาอ่าน เข้ามามอบดอกไม้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท