เสน่ห์ของ แมรี่ แมกดาลีน และตำนานศาสนาใน "The Davince Code"


เสน่ห์ของแมรี่ แมกดาลีน และตำนานศาสนาใน The Davince Code

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ 6/6/2558


วันนี้ขอกล่าวถึงตำนานนอกแผ่นดินไทยบ้าง และไม่ใช่ตำนานจากคัมภีร์พุทธ หากแต่เป็นตำนานในคัมภีร์คริสต์ ซึ่งนักเขียนโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของยุคนี้จับมายำจนเละ

เดน บราวน์ กล่าวถึง แมรี่ แม๊กดาลีน "The Davince Code" ว่าไม่ใช่เป็นคนบ้า หญิงที่ถูกผีสิง หญิงชั่ว หรือโสเภณีที่พระเยซูช่วยเหลือ แต่เป็นถึงเชื้อพระวงศ์มาโลเวนเจียน และเป็นพระชายาของพระองค์ อีกทั้งมีธิดาด้วยกัน มีสายโลหิตต่อหลายรุ่น ซึ่งภายหลังอยู่ภายใต้การดูแลของ "อัศวินแทมปรา" และกลุ่ม "ไพร์เออรีออฟไซออน" กลายเป็นคติการยกย่องสตรีไป ต่อมาคริสตจักรสั่นคลอนจึงทำการโคนล้มพวกเทมปราและออกหนังสือล่าแม่มด เป็นเหตุให้มีการผู้หญิงหลายหมื่นคนที่มีความรู้ความสามารถผิดหญิงในยุคกลาง นั้นก็คือฉากบังหน้าในการล่าทายาทแมรี่ แมกดาลีน ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่ง "โฮลี่เกรล" ซึ่งแต่เดิมคือจอกศักดิสิทธิ์ที่พระเยซูดื่มไวน์ หรือจอกที่รองรับโลหิตของพระองค์หลังจากที่ถูกแทงด้วยหอกที่ชายโครงบนไม้กางเขน เดนบราวน์กล่าวว่าจอกรับโลหิตนั้นคือ สัญลักษณ์ของการมีบุตรของพระองค์ ดังนั้นแมรี่ แมกดาลีนและทายาทจึงกลายเป็นโฮลี่เกรลไป ซึ่งเป็นสิ่งที่คนค้นหามากที่สุดในโลก

แมรี่ แมกดาลีนคือ หญิงเกิดร่วมสมัยกับพระเยซู บ้านเดิมอยู่เมือง "แมกดาลา" (กลายเป็นชื่อเรียกสกุลไป) แคว้นกาลิลีของประเทศอิสราเอล ในลูกาบทที่ 8 ข้อ 2 กล่าวว่า

"...ผู้หญิงบางคนที่มีผีร้ายออกจากนางและที่หายโรคต่าง ๆ คือมารีย์ที่เรียกว่าชาวแมกดารา ที่พระองค์ได้ทรงขับผีออกจากนางเจ็ดผี..."

นางเป็นสาวกรับใข้พระเยซูจนสิ้นพระชนม์ และไปยังที่ฝังศพแล้วพบว่าพระองค์ฟื้นคืนชีพ นางเดินทางออกนอกเมืองพร้อมกับสาวก แล้วก็เกิดเรื่องเล่าว่านางไปอาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศสจนสิ้นชีวิต

ความสำคัญของแมรี่ แมกดาลีนก่อให้เกิดงานศิลปกรรมมากมายเช่น

ภาพ "noli me tangere (touch me not)" ของ Correggio เมื่อ ค.ศ.1518 กล่าวถึงแมรี่ไปที่อุโมงค์ฝังศพพระเยูซูแล้วพบพระองค์ที่นั่น

ภาพ "The Penitent Magdalen" ของ Georges de La Tour ราว ศตวรรษที่ 17 เป็นหญิงสาวนั่งเท้าคางเศร้ามองแสงเทียนในมืถือกะโหลก อาจหมายถึงความไม่จีรังหรือการสำนึกผิด

ในวิหาร "La Madeleine" วิหารแบบกรีก ที่ภายหลังกลายเป็นวิหารในคริสตจักร มีประติมากรรมแมรี่ แมกดาลีน ฝีมือของ Marochetti

แม้แต่ในภาพยนตร์ The Passion of the Christ" โดยเมล กิปสัน ก็ได้กล่าวถึงแมรี่ แมดดาลีนซคชึ่งกำลังถูกขว้างปาหินอันเผ็นการลงโทษหญิงชั่วของยุคโบราณ ซึ่งพระเยซูทรงช่วยเหลือไว้

ที่จะอดกล่าวไม่ได้คือภาพ "The Last Supper" ปี ค.ศ. 1495 โดย ศิลปินที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก เลโอนาโด ดาวินซี เป็นภาพการกินอาหารเมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับเหล่าสาวกทั้ง 12 คนก่อนที่พระองค์จะถูกทหารโรมันจับไป ในภาพพระเยซูจะนั่งกลางโต๊ะ และมีสตรีนั่งด้านขวาของพระองค์ ซึ่งในหนังสือ The Davince Code บอกว่าเป็นแมรี่ แมกดาลีน ภาพนี้วาดลงบนผนังโรงอาหารโบสถ์ซานตามาเรีย เดอกราซิโอ จากการจ้างวานของลูโดวีโก

แต่ก็มีภาพ The Last Supper (ทุกภาพชื่อเดียวกัน) อีกหลายภาพที่วาดสตรีที่อาจเป็นแมรี่ แมกดาลีนด้วย ซึ่งนางนอนซบกับโต๊ะโดยพระเยซูลูบศรีษะ เช่นภาพของ Domenico Ghirlandio (1482) ภาพของ Pietro Perugino (1480) ภาพของ Andrea del Castagno (1477)

นับตั่งแต่หนังสือเล่มนี้ถูกเผยแพร่ มีหลายกระแสต่อต้าน โดยเฉพาะจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมคริสตศาสนา เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นทิพย์ของพระเยซู และเกิดการจับผิดหนังสือนิยายเล่มนี้มากมาย แต่ก็เกิดการเปิดเผยข้อมูลและความรู้มากมายจากนักวิชาการที่ฝรั่งเรียกว่า "นักทฤษฎีสมคบคิด" ในเรื่อง การที่พระเยซูไม่ได้เสียชีวิตบนไม้กางเขน กลุ่มไพรเออรีออฟไซออนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 11 ในเยรูซาเลม เหล่าอัศวินเทมปรา นักรบแห่งครูเสส คริสตจักรกับด้านมืด และความลับที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับมารี่ แมกดาลีน เช่นหลุ่มฝังศพของครอบครัวพระเยซูในฝรั่งเศส รวมถึงการออกมาของผู้ที่อ้างว่าเป็นประมุขของสมาคมไพออนารี่ออฟไซออนว่ามีความลับที่ยิ่งใหญ่ใน "เลนเลอร์ชาโต" ฝรั่งเศส ศิลปินในหลายยุคหลายคนแอบสร้างเบาะแสหรือรหัสในศิลปกรรมหลายชิ้นในยุโรป

ถึงอย่างไรก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัด และถึงอย่างไรก็เกิดกระแสการท่องเที่ยวตามโบราณสถานและที่ต่าง ๆ และแรงบันดาลใจก่อให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์ตามเนื้อรื่อง ในหนังสือนิยายเล่มนี้มากมายอีกด้วย

ตำนานและทฤษฎีของนักวิชาการทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นและตั้งคำถามเกี่ยวกับมารี่ แมคดาลีนมากมาย เราไม่รู้หรอกว่าสายพระโลหิตจะมีมั้ย หากมีคนกล่าวอ้างว่าเป็นสายพระโลหิตเราจะพิสูจน์อย่างไร

นี่คือตำนานที่สำคัญชุดหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

และนี่คือเสน่ห์ของตำนาน

หนังสือประกอบการเขียน

แดน บราวน์. (2548). รหัสลับดาวินซี. กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์.

A. Piraka Onorints. (2006). สืบรหัสลับดาวินชี. กรุวเทพฯ :โซเฟีย บุคส์.

ภาพประกอบ Noli me tangere ของ Correggio จาก http://en.m.wikipedia.org/wiki/Noli_me_tangere ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2558.

คำสำคัญ (Tags): #the davince code
หมายเลขบันทึก: 590849เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2015 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2015 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รู้เรื่องที่ไม่รู้มากมายและน่าติดตามมากครับ ขอบคุณครับ

ตำนานมีเสน่ห์เหลือเกินครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท