แผ่นดินไหวจากฝีมือมนุษย์?



บทความใน นสพ. Financial Times วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เรื่อง The energy revolution that shook the earth บอกว่า การค้นพบ shale gas ช่วยให้เศรษฐกิจของรัฐโอคลาโฮมาดีขึ้นมากมาย แต่นักวิทยาศาสตร์ พบว่า กิจกรรมสะกัดแก๊สจากชั้นหิน (fracking) อาจก่อให้เกิดการสั่นไหวของแผ่นดินเพิ่มขึ้นมากมายเช่นกัน

บทความใน FT ไม่อนุญาตให้อ่านฟรี ผมจึงค้นด้วยคำค้นว่า shale gas and earthquake ได้ บทความนี้ ซึ่งมีสาระคล้ายกัน คือเอาข้อมูลแหล่งสะกัด shale gas กับข้อมูลการวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ๓ ริกเตอร์ขึ้นไป (มนุษย์รู้สึก) กับที่ต่ำกว่า ๓ ริกเตอร์ลงมา พบว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปีหลังๆ ส่อเค้าว่า น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำ shale gas มาใช้ประโยชน์

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สะท้อนภาพให้เราเห็นว่า ไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เราไปรบกวนธรรมชาติ แล้วจะไม่เกิดผลลบ ดังนั้น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อกิจกรรมของมนุษย์ จึงเป็นเครื่องช่วยให้เรารอบคอบ ไม่มองแต่ผลได้ถ่ายเดียวโดยไม่ระมัดระวัง

บทความทั้งสอง ไม่ฟันธงเสียทีเดียวว่า แผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยขึ้นหลายเท่า เกิดจาก fracking ต้องมีการวิจัยต่อไปอีก

วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ค.๕๘

Canada Air Lounge, Heathrow Airport


หมายเลขบันทึก: 590821เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2015 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2015 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"ไม่มีกิจกรรมใดที่เราไปรบกวนธรรมชาติ แล้วจะไม่เกิดผลลบ"

มนุษย์ทุกคนควรตระหนักนะคะ แม้เราไม่ได้รบกวนแต่ก็ต้องรับผลไปด้วย เลี่ยงไม่ได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท