ปัญหาการศึกษา อยู่ที่ไม่หาสาเหตุที่แท้จริง


ผลการวิจัย หรือการทดสอบทางการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สทศ., Onet และPisa สรุปผลการทดสอบไปในทิศทางเดียวกันคือการศึกษาไทยไม่มีคุณภาพ ซึ่งหลายฝ่ายต่างผลักภาระหรือความรับผิดชอบกัน ซึ่งบุคคลที่เป็นจำเลยของสังคมและหนีความรับผิดชอบไม่พ้นคือ"ครู" ที่จะต้องเป็นคนรับผิดชอบด้านวิชาความรู้และด้านจริยธรรม(ความประพฤติ)ของนักเรียนที่ถ้าหากเป็นโรงเรียนใหญ่ๆก็จะมีปริมาณนักเรียน 40 - 50 คน อีกทั้งยังมีภาระงานนอกเหนือจากการสอน เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นต้นตลอดจนการเตรียมเอกสารเพื่อการประเมินต่างๆ และก่อนอื่นมาดูสาเหตุทีคิดว่าน่าจะเป็นปัญหาที่แท้จริงของการศึกษาไทย

1.เงินเดือนครูน้อยเกินไป

2.งบประมาณการศึกษาไม่เพียงพอ

3.หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน

4.เวลาเรียนน้อยเกินไปเพราะนักเรียนต้องไปเรียนพิเศษเพื่อเพิ่มเติมความรู้หลักเลิกเรียน

แต่ในความเป็นจริง เงินเดือนของครูไม่ได้น้อยไปกว่าอาชีพอื่นๆ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาทในปี 2544 เป็นประมาณ 2.4-2.5 หมื่นบาทในปี 2553ในปัจจุบัน และงบประมาณทางการศึกษาไม่ได้ น้อยอย่างที่คิดเพราะมีตัวเลขที่ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า หลักสูตรที่ออกมาตั้งแต่ปี 2551 ก็ไม่ได้นำมาใช้กันอย่างจริงจังเพราะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐมนตรีและผู้บริหารการศึกษา สุดท้ายเวลาเรียนเด็กไทยจะ เรียน 1,000 ชั่วโมง/ปี ในขณะที่เด็กชาติอื่นๆ ในโลกมีเวลาอยู่ในห้องเรียนไม่ถึง 800 ชั่วโมง/ปี (สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ,2558) แนวทางการปฏิรูประบบการศึกษา ที่เสนอโดยสถาบันพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ(TDRI)(สถาบันพัฒนาประเทศไทย,2555) มีด้วยกัน 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

(1) การสร้างระบบความรับผิดชอบ (accountability) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ปกครองและนักเรียนมากขึ้น โรงเรียนควรมีอิสระในการบริหารจัดการ และพ่อแม่สามารถเป็นผู้เลือกโรงเรียนให้ลูกตามข้อมูลคุณภาพของโรงเรียนที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ

(2) การปรับหลักสูตร สื่อการสอนและการพัฒนาครู เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับบริบทของศตวรรษที่ 21

(3) การลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษา โดยปรับการจัดสรรงบประมาณให้พื้นที่ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น และสร้างระบบให้ความช่วยเหลือโรงเรียน ครูและนักเรียนที่มีปัญหา

การวิจัยที่กล่าวมายังเป็นมหัพภาคที่จะมองดูจากภาพรวมทั้งประเทศ แต่ถ้าจะเจาะปัญหาจากหน่วยย่อยที่สุดของระบบการศึกษาคือ โรงเรียน ที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร(ส่งเสริมคุณภาพครูและนักเรียน) ครู และนักเรียน แต่เพื่อให้ครบทั้งองคาพยพต้องดูไปถึงสถาบันครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeh older) ที่จะเป็นอีกตัวแปรที่จะช่วยสนับสนุนให้ระบบการศึกษาเมืองไทยให้เป็นระบบการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อส่งผลให้ผู้เรียนจะได้เป็น"พลเมืองไทย และพลเมืองโลก" ต่อไป

หากจะให้ระบบการศึกษาได้มาตรฐานและพัฒนาอย่างยั่งยืนขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับกระทรวง หน่วยงานประเมินมาตรฐาน ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียนคงต้องยอมรับในประเด็นที่ไม่ได้มาตรฐานในองค์กรและพร้อมที่จะปรับปรุงอย่างแท้จริงไม่ใช่ เสแสร้งกันชื่นชม(ผลัดกันเกาหลัง) เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย หรือเพื่อให้ตัวเลขการประเมินออกมาดูดีเพียงเพื่อเอาใจใครคนใดคนหนึ่ง...

เอกสารอ้างอิง

http://tdri.or.th/priority-research/educationreform/ (เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2558)

http://tdri.or.th/tdri-insight/20150326-3/ (เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2558)

หมายเลขบันทึก: 590628เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2015 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2015 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท