กลไกการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งเเวดล้อม (บริบทโรงเรียน)


...............ไม่นานมานี้ กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนได้เเก่ เเสน เเซม แอน เเละครูเพ็ญศรี ได้เข้าร่วมกิจกรรมการประเมินผลเสริมพลัง ที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจนได้จัดขึ้น ณ โรงเเรมมิราเคิลเเกรด์ ช่วงต้นเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งในเวลานี้นับเป็นการประเมินงานที่ได้ดำเนินงานมา 3 ปีจากทางโครงการปลูกใจรักษ์โลกของมูลนิธิกองทุยไทย เเละเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มสงขลาฟอรั่ม ซึ่งผมเองในครั้งนี้ มีบทบาทเป็นนักเรียนรู้

...............กิจกรรมที่จัดขึ้นเน้นการประเมินผลเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการปัญญาสนทนา ซึ่งได้คุยกันในประเด็นของการขับเคลื่อน เเละกลไกที่ทำให้กลุ่มเยาวชนในระดับของชั้นมัธยมในโรงเรียนสามารถลุกขึ้นมาทำงานอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อมในชุมชนได้ (จากเสียงสะท้อนของครูหลายท่าน) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจนับได้ว่าเป็น คำตอบที่เกิดขึ้นว่า "เเต่ละกลุ่ม เดินทางได้อย่างไร" สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาทำงานนั้น คือ อะไร เป็นอย่างไร เพราะอะไร

...............กลไกในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งเเวดล้อมในระบบโรงเรียน มีรายละเอียด ดังนี้

1.ด้านผู้บริหาร(ผอ.) ที่เข้าใจ เเละพยายามสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ตลอดจนสนับสนุนครุอีกเเรงหนึ่ง หรือ ต้องระเบิดมาจากด้านในขององค์กรโรงเรียน

  • การอำนวยความสะดวกเเละส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เด้กขาดเหลือะไรคอยเสริม
  • ให้พื้นที่การเรียนรู้ ไม่ตีกรอบความคิดของครู เเละความคิดของเด็กว่าต้องเป็นคำตอบนี้เท่านั้น ต้องไปประกวดเท่านั้น เเต่ให้เปิดพื้นที่ทางความคิดให้ทั้งครูเเละเด็กได้ลงมือทำอย่างไม่กดดัน
  • การสร้างคุณค่าของงานที่เด็กๆทำให้เกิดผลเชิงประจักษ์ต่อครู เเละนักเรียนคนอื่นๆว่า เด็กกลุ่มนี้ทำดีเเล้ว สมควรทำต่อไป

2.ด้านครูที่ปรึกษา ที่เข้าใจภาวะการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ตีกรอบความคิดของเด็กมากเกินไป เเละพยายามสร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ให้กับเขาทั้งในห้องเรียนเเละนอกห้องเรียน "เน้นพัฒนาคน"

  • ครูที่เป็นที่ปรึกษาโครงการเด็กๆ สำคัญ คือ ควรมีทักษะการ Coach กระบวนการคิดให้เด็ก คอยตั้งคำถามกระตุ้นการคิด มีความอดทนไม่อัดเเน่นเนื้อหาจนลืมภาวะทางการรับรู้ เเละการเป็นที่ปรึกษาทางใจด้วย ทางการคิดด้วย "เหมือนเป็นพ่อเเม่"
  • มีเครื่องมือในการพัฒนาคน ซึ่งครูเเต่ละท่านควรมีเครื่องมือที่ใช้ในการสอน เช่น การเรียนรู้เเบบ PBL การทำโครงงาน เครื่องมือการวิเคราะห์งาน การทำหนังสั้น การทำละคร การทำนวัตกรรม การสื่อสาร การรำ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดกระบวนการคิดเเละทักษะต่างๆเพิ่มขึ้น
  • มีความเป็นน้ำครึ่งเเก้ว ไม่เต็มเเก้ว พยายามให้เด็กๆลองทำก่อน เเม่ว่าเราที่เคยทำมาเเล้วด้วยประสบการณ์เพียงครั้งหนึ่งอาจทำไม่สำเร็จ เเต่จงเชื่อว่าเด็กๆอาจทำให้เร็จก็เป็นได้ "ไม่ตัดสินกับความคิดที่สร้างสรรค์ของเขา"
  • อุเบกขา ให้เป็น ซึ่งการวางแบบอุเบกขานี้ หมายถึง การอยู่ห่างๆเเล้วพยายามให้ความช่วยเหลือในยามที่เขาต้องการที่พึ่ง เเต่ระลึกไว้เสมอว่า "เด็กต้องเกิดการเรียนรู้ขึ้นด้วยตนเอง"
  • การเเทรกเนื้อหาในเนื้องาน เป็นการบูรณาการงานที่เด็กๆทำเข้ากับเนื้อหาในชั้นเรียน เช่น เขาทำเรื่องการวัดค่า DO ในน้ำ ก็เอาเนื้อนั้นๆ ที่สามารถช่วยเด้กได้มาสอนเขาอีกทีหนึ่ง เป็นประโยชน์ คือ ทำให้ลดช่องว่างในรูปเเบบการเรียนรู้ในห้องเรียนเเละนอกห้องเรียนได้ ทำให้เด็กสนุกเเละได้ความรู้ไปด้วย
  • คอยเสริมทักษะต่างๆที่จำเป็น เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้ชีวิต ฯ ซึ่งใช้เครื่องมือในการสอน หรือ อาจมีรูปเเบบทางการสอนอื่นๆ

3.ด้านตัวเด็ก ที่สำคัญ คือ การมีใจอยากเรียนรู้ เเละมีเพื่อนๆหรือทีมทำงานที่สามารถเดินไปด้วยกันได้ เป้นเพื่อนกัน

  • การมีใจอยากเรียนรู้ เเละการข้อเป็นเป็นข้อสำคัญ เพราะโดยมากเเล้วเด็กจะเข้ามาสนใจในเรื่องนี้นั้นน้อยมาก หรือครูอาจใช้วิธีการสร้างเเรงจูงใจเพื่อให้เด็กอยากเรียนรุ้ "ขอเเค่มีใจ งานก็เดิน"
  • การมีกลุ่มทีม เป็นข้อสำคัญที่จะทำให้เขานั้น มีทักษะต่างๆตามมา เเละงานสามารถเคลื่อนไปได้เพราะทีม หากไม่มีทีม เด็กบางคนล้มเลิกความคิดทางด้านนี้ไปเลย เพราะไม่มีเพื่อนที่มีเเนวคิดเดียวกัน

...............นอกจากนี้เเล้ว ยังีมเครือข่ายภายนอกที่เข้ามาหนุนเสริมกลุ่มเด้กที่ทำงานสิ่งเเวดล้อมนี้อีกเเรงที่อยู่ภายนอก ได้เเก่ มูลนิธิสยามกัมมาจล กองทุนไทย NGO องค์กรภาครัฐเเละเอกชน องค์กรชุมชน เเละเครือข่ายต่างๆทั้งเชิงปฏิบัติการเเละให้คำปรึกษา

...............นอกจากนี้เเล้วจากเสียงสะท้อนของครูแอ๋ ครูโอน ครูเพ็ญศรี ฯ ยังสะท้อนไว้ด้วย ในเรื่องของบทบาททางการเรียนรุ้ของเด็กๆที่สรุปเเล้ว คือ เด็กๆเราเหมือนว่าจะมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คอยหาความรู้ทางด้านการทดลองการพิสูจน์ต่างๆในการเรียนรู้ของเขา เป็นนักสังคมศาสตร์ที่เข้าใจชุมชน เป็นนักพัฒนาชุมชน เเละเป็นนักอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อมร่วมด้วย ซึ่งทั้ง 4 บทบาทนี้เขาเรียนรู้อยุ่ในชุมชนด้วย

...............ต้นกล้า ที่เติบโตเหล่านี้ คือ Active citizen ...




หมายเลขบันทึก: 590447เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท